การเพิ่มขึ้นของความขัดแย้ง ของ ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2512 มีการจัดพิธีปิดไร่โกเรียว และมีการประท้วงของผู้คัดค้าน และกลุ่มผู้ที่ประท้วงที่เป็นเยาวชนได้บุกทำลายห้องประชุม ทำให้แกนนำประท้วงกลายเป็นผู้ต้องหาไปทั่วประเทศ โดยสามารถจับกุมอิซซากุ โทมุระ และแกนนำคนอื่นๆ อีก 13 คนได้สำเร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ภายใต้ข้อหาการบุกยึดถนนและการกีดขวางรถเกลี่ยดินที่เข้ามาทำงานก่อสร้าง[10][9]

บริษัทที่ดูแลท่าอากาศยานได้อาศัยอำนาจรัฐในการเวนคืนพื้นที่ของผู้อยู่อาศัยที่เหลือเพื่อใช้ในการก่อสร้างโดยตลอด[2] เมื่อปี พ.ศ. 2513 ทางบริษัทได้มีการสำรวจที่ดินบริเวณที่ยังไม่ได้ถูกซื้อ[13] โดยระหว่างการสำรวจ มีกลุ่มผู้คัดค้านนำสิ่งปฏิกูลเน่า สารคลอโรพิกริน และก้อนหินขว้างปาเข้าไปในสถานที่ที่มีการสำรวจ และต่อสู้กับกลุ่มคนในบริษัทโดยใช้ค้อนเคียวและไม้ไผ่ และกลุ่มผู้คัดค้านยังสร้างป้อมปราการในบริเวณดังกล่าว รวมถึงบริเวณใต้ดินด้วย แต่ได้ถูกนำออกไปในภายหลัง[14]

หอคอยที่สร้างในสถานที่ก่อสร้างโดยสมาชิกกลุ่มผู้คัดค้าน

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 ฟูมิโอะ ซันโนมิยะ สมาชิกกลุ่มผู้คัดค้านคนหนึ่งที่เป็นเยาวชนได้ฆ่าตัวตาย โดยทิ้งจดหมายซึ่งกล่าวว่าเขาเกลียดผู้ที่นำท่าอากาศยานมาสู่ที่แห่งนี้มาก และเขาหมดแรงที่จะต่อสู้แล้ว โดยในปีนั้น ความขัดแย้งเริ่มรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้มีตำรวจต่อต้านการจลาจลเสียชีวิต 3 คนโดยได้รับบาดเจ็บสาหัส[14]

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 ทางท่าอากาศยานมีการทดสอบการบิน กลุ่มผู้คัดค้านจึงได้สร้างหอคอยสูง 60.6 เมตร (200 ฟุต) ภายในบริเวณเขตประชิดของรันเวย์ A เพื่อขัดขวางการทดสอบการบิน และยังคัดค้านการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันแบบไอพ่นจากท่าเรือชิบะ ส่งผลให้การเปิดใช้งานต้องชะลอไป

ใกล้เคียง

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งภายในพม่า ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ ความขัดแย้งในรัฐกะชีน ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354 ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)