ความแตกต่างจากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ของ ความคิดเชิงไสยศาสตร์

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิทยาศาสตร์กับไสยศาสตร์ก็คือ วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาปฏิบัติแบบเปิด และไสยศาสตร์เป็นการศึกษาปฏิบัติแบบปิดนักวิชาการท่านหนึ่งเสนอว่า ทัศนคติเกี่ยวกับโลกทางวิทยาศาสตร์ต่างจากทัศนคติทางไสยศาสตร์ โดยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และโดยความเป็นวิมตินิยม (skepticism)คือคำอธิบายธรรมชาติจะเรียกว่าเป็นสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ คือวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นเปิดต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เขาให้ข้อสังเกตว่า ในชุมชนที่เชื่อมั่นทางไสยศาสตร์ "ไม่มีการรับรู้ผ่านการพัฒนาถึง(ทฤษฎี)ทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือไปจากทฤษฎีจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่แล้ว"[27] เพราะว่า ไม่มีทางเลือกอย่างอื่นในสังคมที่ตั้งมั่นอยู่ในความคิดทางไสยศาสตร์ ดังนั้น ทฤษฎีทางไสยศาสตร์จึงไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบได้อย่างเป็นกลาง ๆ ว่าเป็นจริงหรือไม่ เปรียบเทียบกับคำอธิบายธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งในเรื่องบางเรื่อง อาจจะมีคำอธิบายหลายอย่างที่เสนอใช้ไปพร้อม ๆ กัน จึงต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า คำอธิบายไหนถูกต้องกว่า

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคิดเชิงไสยศาสตร์ http://psychologytoday.com/articles/pto-20080225-0... http://skepdic.com/magicalthinking.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1473331 http://www.csicop.org/SI/show/magical_thinking_in_... //doi.org/10.1016%2F0010-0285(92)90015-T //doi.org/10.1016%2Fj.pedn.2011.11.006 //doi.org/10.1016%2Fs0891-5245(06)80008-8 //doi.org/10.1037%2F0022-3514.67.1.48 //doi.org/10.1080%2F15289168.2011.600137 //doi.org/10.1086%2F201974