ในเด็ก ของ ความคิดเชิงไสยศาสตร์

ความคิดเชิงไสยศาสตร์จะปรากฏโดยมากในเด็ก ๆ อายุระหว่าง 2-7 ขวบในช่วงวัยนี้ เด็กจะมีความเชื่อที่มีกำลังว่า ความคิดของตนมีผลโดยตรงต่อโลกดังนั้น ถ้าเด็กประสบกับเรื่องเศร้าที่ตนไม่เข้าใจ เช่น ความตาย เด็กก็จะสร้างเหตุผลว่าตนมีส่วนรับผิดชอบฌ็อง ปียาแฌ นักจิตวิทยาเชิงพัฒนาการ เป็นผู้ตั้งทฤษฎีว่าเด็กมีการพัฒนาการสี่ช่วง เด็กช่วง 2-7 ปีเป็นช่วง Preoperational Stage ในช่วงนี้เชื่อว่า เด็กจะไม่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ ความคิดและคำอธิบายของเด็กมักจะจำกัดอยู่ที่ลักษณะทางกายภาพ นั่นหมายความว่า ถ้าบอกเด็กว่า สุนัขที่บ้านได้ตายแล้ว เด็กอาจจะไม่เข้าใจว่า ไม่มีสุนัขตัวนั้นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น ความคิดเชิงไสยศาสตร์จะปรากฏชัดเจนในช่วงนี้ คือเด็กอาจจะเชื่อว่า สุนัขไปอยู่ที่อื่นเพียงชั่วคราวเท่านั้น คือไม่สามารถเข้าใจได้ว่า สุนัขที่ตายแล้วไม่สามารถกลับคืนมาได้อีก และดังนั้น ความคิดเชิงไสยศาสตร์จะช่วยให้เด็กเข้าใจยอมรับได้

เด็กที่กำลังไว้ทุกข์

เด็กที่ปรากฏว่ามีความคิดเชิงไสยศาสตร์มักจะรู้สึกว่าตนมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น หรือว่าตนสามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์นั้นโดยคิดถึงมันแล้วตั้งใจอธิษฐานให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งได้[28] จะสังเกตได้ว่า การคิดเรื่องสมมุติ เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของเด็กวัยนี้ และบางครั้งจะใช้เป็นวิธีอธิบายสิ่งที่อธิบายไม่ได้[29][30]

ตามคำของปียาแฌ เด็กวัยนี้มักจะมีความคิดที่มีตนเป็นศูนย์ (egocentric) คือเชื่อว่า สิ่งที่ตนประสบและรู้สึก จะเป็นสิ่งที่คนอื่นประสบและรู้สึกเช่นเดียวกัน[31] นอกจากนั้นแล้ว เด็กยังขาดความเข้าใจว่า อาจจะมีคำอธิบายอื่น ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกจากที่ตนคิดได้ดังนั้น ถ้าจะอธิบายเรื่องที่เด็กไม่เข้าใจ จะต้องใช้เรื่องที่เด็กเข้าใจแล้วในการอธิบาย และเด็กจะยังไม่สามารถเข้าใจแนวคิดทางนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างได้อย่างเต็มที่[31]

ความคิดเชิงไสยศาสตร์จะพบได้โดยเฉพาะในคำอธิบายของเด็กเกี่ยวกับความตาย ไม่ว่าจะเป็นความตายของสมาชิกครอบครัวหรือสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ความเจ็บป่วยหรือความใกล้จะถึงความตายของตนประสบการณ์เหล่านี้มักจะเป็นเรื่องใหม่ต่อเด็กเล็ก ๆ ดังนั้น เด็กจึงยังไม่มีประสบการณ์ว่าจะมีผลเช่นไรที่จะเกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์นั้น[32] เด็กอาจจะรู้สึกว่าตนมีส่วนรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้น เช่นตนอาจจะมีความไม่พอใจในผู้ตาย หรือว่าได้เล่นกับสัตว์เลี้ยงหนักมือเกินไปและอาจจะมีไอเดียอีกด้วยว่า ถ้าตนตั้งความหวังหรือทำการอธิษฐานเพียงพอ หรือทำอะไรที่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคลหรือสัตว์นั้น อาจจะเลือกที่จะกลับมามีชีวิตอีก[33] เมื่อคิดถึงความเจ็บป่วยหรือความใกล้จะตายของตนเอง เด็กบางคนอาจจะรู้สึกว่ากำลังถูกลงโทษเพราะได้ทำอะไรผิดหรือไม่ได้ทำอะไรที่ควรทำแล้ว และดังนั้นจึงเกิดความเจ็บป่วย[34] ถ้าแนวคิดของเด็กเกี่ยวกับเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ไม่ตรงกับความจริงเพราะเป็นความคิดเชิงไสยศาสตร์ อาจะเป็นไปได้ว่า เด็กอาจจะเกิดความเชื่อในระยะยาว และมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้เด็กเมื่อโตขึ้น[35]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคิดเชิงไสยศาสตร์ http://psychologytoday.com/articles/pto-20080225-0... http://skepdic.com/magicalthinking.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1473331 http://www.csicop.org/SI/show/magical_thinking_in_... //doi.org/10.1016%2F0010-0285(92)90015-T //doi.org/10.1016%2Fj.pedn.2011.11.006 //doi.org/10.1016%2Fs0891-5245(06)80008-8 //doi.org/10.1037%2F0022-3514.67.1.48 //doi.org/10.1080%2F15289168.2011.600137 //doi.org/10.1086%2F201974