ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหา ของ ความผิดปรกติในความคิด

เมื่อกันประสาทหลอนออกซึ่งสามารถจัดว่าเป็นความผิดปกติในการรับรู้ (perceptual disorder) ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหา (content thought disorder) เป็นปัญหาทางความคิดที่บุคคลมีอาการหลงผิดในหลายรูปแบบ ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน และแปลก ๆ ปกติมักพบในโรคจิตเภทและความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งโรคย้ำคิดย้ำทำและอาการฟุ้งพล่าน[50][51]แต่ความผิดปกติทางความคิดโดยเนื้อหาไม่ได้จำกัดอยู่แค่กับอาการหลงผิด ความผิดปกติอย่างอื่น ๆ รวมทั้ง

  • ความหมกมุ่น (preoccupation) คือหมกมุ่นอยู่กับความคิดอย่างหนึ่ง ๆ อย่างมีอารมณ์
  • การย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ไอเดีย หรือมโนภาพที่แทรกซอน (intrusive) หรือไม่สมควรที่สร้างความทุกข์ความเดือนร้อนใจ
  • การย้ำทำ (compulsion) คือจำต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่อย ๆ และซ้ำ ๆ โดยอาจจะไม่ได้ความสุข แต่เพื่อลดความทุกข์
  • ความคิดเชิงไสยศาสตร์ (magical thinking) คือเชื่อว่าความคิดของตนอย่างเดียวก็สามารถก่อผลในโลก หรือว่า การคิดถึงสิ่งนั้น ๆ ก็เหมือนกับลงมือกระทำจริง ๆ
  • ความคิดที่ให้น้ำหนักเกิน (overvalued ideas) คือเชื่อผิดหรือเกินจริงโดยยึดไว้อย่างปักใจแต่ยังไม่ถึงอาการหลงผิด
  • ความคิดมุ่งตนเอง (ideas of reference) คือเชื่อว่า เหตุการณ์ธรรมดาหรือบังเอิญที่ประสบมีความหมายต่อตนอย่างสำคัญ
  • ความคิดว่าถูกอิทธิพลภายนอก (ideas of influence) คือเชื่อว่าคนอื่น ๆ หรือสิ่งอื่นภายนอกมีอำนาจบังคับตน
  • ความคิดว่ามีคนตามรังควาน (persecutory idea)[76][77]
  • โรคกลัว คือกลัววัตถุสิ่งต่าง ๆ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไม่สมเหตุผล[78][38]
  • ความคิดฆ่าตัวตาย
  • ความคิดทำความรุนแรง
  • ความคิดฆ่าคน[79]

แก่นปัญหาของสิ่งที่คิดก็คือความเชื่อความปักใจที่ผิดปกติ แม้หลังจากกันวัฒนธรรมและพื้นเพของบุคคลนั้น ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ความคิดที่ให้น้ำหนักเกิน (overvalued idea) จนไปถึงอาการหลงผิดโดยปกติแล้วความเชื่อผิดปกติและอาการหลงผิดไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง[80]แม้อาการหลงผิดโดยเฉพาะบางอย่าง ๆ อาจเกิดในโรคหนึ่ง ๆ มากกว่าโรคอื่น ๆ[81]อนึ่ง ความคิดปกติซึ่งรวมการสำนึกรู้ ความเป็นห่วง ความเชื่อ ความหมกมุ่น ความหวัง ความเพ้อฝัน จินตนาการ และแนวคิดในเรื่องต่าง ๆ อาจไม่สมเหตุผล อาจประกอบด้วยความเชื่อ ความเดียดฉันท์ และความเอนเอียง/อคติ ที่เห็นได้โต้ง ๆ ว่าขัดแย้งกัน[82][83]บุคคลต่าง ๆ ก็ยังต่างกัน แม้แต่คนเดียวกันก็ยังคิดไม่เหมือนกันอย่างพอสมควรเป็นครั้งเป็นคราว[84]

ในคนไข้จิตเวช อาการหลงผิดเป็นความผิดปกติในเรื่องที่คิดซึ่งสามัญสุด[10]เป็นความเชื่อที่ตายตัวและยืนหยัดได้โดยไม่มีมูลฐาน ไม่สามารถเปลี่ยนได้ด้วยเหตุผลหรือหลักฐานที่ขัดแย้ง ไม่เข้ากับพื้นเพทางภูมิภาค วัฒนธรรม และการศึกษาของบุคคลนั้น ๆตัวอย่างสามัญที่พบเมื่อตรวจสภาวะจิตใจรวมทั้ง

  • หลงผิดว่ามีคนหลงรักตน (erotomanic)
  • หลงผิดคิดตนเขื่อง (grandiose) ว่า ตนเก่งสุด แข็งแรงสุด เร็วสุด รวยสุด หรือฉลาดสุด
  • หลงผิดว่ามีคนตามรังควาน (persecutory) ไม่ว่าจะต่อตนเองหรือต่อคนใกล้ชิด
  • หลงผิดว่า ข้อคิดเห็น เหตุการณ์ หรือวัตถุสิ่งของธรรมดา ๆ รอบ ๆ ตัวมีความหมายพิเศษต่อตน (reference)
  • หลงผิดว่าความคิดถูกป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ (thought broadcasting)
  • หลงผิดว่าคนอื่นเอาความคิดมาใส่ในตน ไม่ใช่ความคิดของตน (thought insertion)[85]
  • หลงผิดว่า มีคนดึงความคิดออกจากใจของตนเองโดยตนไม่สามารถทำอะไรได้ (thought withdrawal)
  • หลงผิดว่า สิ่งภายนอกกำลังควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตน (outside control)[86]
  • หลงผิดว่า คู่ครองของตนมีชู้ (infidelity)
  • หลงผิดว่า ตนมีโรคหรือป่วย (somatic)
  • หลงผิดว่า ร่างกายจิตใจของตน หรือว่าโลกภายนอก หรือส่วนบางส่วนเช่นนั้น ไม่มีอยู่อีกต่อไป (nihilistic)[78]

อาการหลงผิดสามัญในคนที่มีอาการฟุ้งพล่าน, โรคซึมเศร้า, schizoaffective disorder, อาการเพ้อ, ภาวะสมองเสื่อม, โรคใช้สารเสพติด (SUD), โรคจิตเภท และโรคหลงผิด (delusional disorder)[80]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปรกติในความคิด http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5519298 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18297385 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19521143 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/496551 http://www.who.int/entity/classifications/icd/en/b... //doi.org/10.1001%2Farchpsyc.1979.01780120045006 //doi.org/10.1007%2F978-1-4939-2528-5 //doi.org/10.1007%2Fs10803-007-0526-6 //doi.org/10.1037%2F14646-000