การจัดประเภทความเสี่ยง ของ ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ตารางขอบเขต/ความรุนแรงของภัยต่าง ๆ ดัดแปลงจากบทความ "Existential Risk Prevention as Global Priority (การป้องกันความเสี่ยงต่อการอยู่รอด โดยเป็นเรื่องสำคัญของโลก)" ของ ดร. บอสตรอม[9]

นักปรัชญาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ดร. นิก บอสตรอม จัดประเภทความเสี่ยงตามขอบเขตและความรุนแรง[7] เขาพิจารณาความเสี่ยงที่มีขอบเขตอย่างน้อย "ทั่วโลก" (global) และมีความรุนแรงอย่างน้อย "ยังทนได้" (endurable) ว่าเป็นความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกส่วนความเสี่ยงที่มีขอบเขตอย่างน้อย "หลายชั่วคน" (trans-generational) และมีความรุนแรงอย่างน้อย "เป็นจุดจบ" (terminal) ว่าเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดคือ แม้ว่าความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก อาจจะฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่มนุษย์ก็ยังอาจจะฟื้นคืนได้แต่ว่า ความเสี่ยงต่อการอยู่รอด จะทำลายมนุษย์ทั้งหมด หรือจะขัดขวางไม่ให้เกิดอารยธรรมได้อีกในอนาคตดร. บอสตรอม พิจารณาความเสี่ยงต่อการอยู่รอด ว่าเป็นเรื่องสำคัญกว่ามาก[10]

ดร. บอสตรอมแสดงความเสี่ยงต่อการอยู่รอด 4 ประเภท คือ "Bang" (โดยเป็นเสียงระเบิด) เป็นมหันตภัยกระทันหัน ซึ่งอาจจะเป็นอุบัติเหตุ หรืออาจะเป็นเรื่องจงใจเขาคิดว่า ต้นเหตุของ Bang จะเป็นการใช้นาโนเทคโนโลยีอย่างมุ่งร้าย สงครามนิวเคลียร์ และความเป็นไปได้ว่า จักรวาลเป็นเพียงแค่การจำลอง ซึ่งวันหนึ่งจะหยุดลงส่วน "Crunch" (โดยเป็นเสียงถูกบด) เป็นสถานการณ์ที่มนุษย์จะอยู่รอด แต่อารยธรรมจะถูกทำลายโดยไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้อีกดร. บอสตรอมเชื่อว่า เหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดในเรื่องนี้ ก็คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนหมดสิ้น หรือรัฐบาลโลกที่เสถียร ที่ป้องกันไม่ให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือความกดดันบางอย่างทางกรรมพันธุ์ที่ทำให้ความฉลาดโดยเฉลี่ยลดลงส่วน "Shriek" (โดยเป็นเสียงกรีดร้อง) เป็นอนาคตที่ไม่พึงปรารถนายกตัวอย่างเช่น ถ้ามีเครื่อง/สัตว์/บุคคล ที่เพิ่มกำลังความสามารถทางจิตใจและความคิดของตน โดยอาศัยคอมพิวเตอร์ มันจะสามารถครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมีผลเสียหายดร. บอสตรอมเชื่อว่า สถานการณ์เช่นนี้เป็นไปได้มากที่สุด ตามมาด้วยสัตว์/เครื่องซูเปอร์ฉลาดที่บกพร่อง แล้วตามมาด้วยการปกครองระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จที่รุนแรงส่วน "Whimper" (โดยเป็นเสียงร้องครวญคราง) เป็นการค่อย ๆ เสื่อมลงของอารยธรรมมนุษย์ หรือค่านิยมในปัจจุบันดร. บอสตรอมเชื่อว่า เหตุที่เป็นไปได้ที่สุดในรื่องนี้ก็คือ ความชอบใจทางศีลธรรม/ทางความคิด ที่เปลี่ยนวิวัฒนาการมนุษย์ แล้วตามมาด้วยการบุกรุกของมนุษย์ต่างดาว[4]

โดยนัยเดียวกัน ในหนังสือ Catastrophe: Risk and Response (มหันตภัย ความเสี่ยงและการตอบสนอง) ผู้พิพากษาทรงอิทธิพลของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ของสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด พอสเนอร์ ได้ชี้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะทำความเสียหายทั่วโลก ไม่ใช่เพียงแค่ในพื้นที่พอสเนอร์แสดงว่า เหตุการณ์เหล่านี้ควรที่จะสนใจเป็นพิเศษ โดยเหตุผลทางต้นทุนกับผลตอบแทนเพราะว่าเหตุการณ์เหล่านี้ สามารถทำอันตรายต่อการอยู่รอดของมนุษย์ทั้งหมดได้ โดยตรงหรือโดยอ้อม[11] เหตุการณ์ที่พอสเนอร์คิดถึงรวมทั้ง ดาวตกวิ่งชนโลก ปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ นาโนเทคโนโลยีที่ใช้ทรัพยากรโลกจนหมดเพื่อสร้างตัวเอง และอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก http://www.bmartin.cc/pubs/82jpr.html http://cds.cern.ch/record/613175/files/CERN-2003-0... http://public.web.cern.ch/Public/en/LHC/Safety-en.... http://www.2012finalfantasy.com/2008/toba-supervol... http://www.csmonitor.com/layout/set/print/content/... http://www.dailytech.com/New%20Navyfunded%20Report... http://discovermagazine.com/2000/oct/featworld http://www.drgeorgepc.com/TsunamiMegaEvaluation.ht... http://e-drexler.com/ http://e-drexler.com/d/06/00/EOC/EOC_Chapter_11.ht...