ความน่าจะเป็น ของ ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ที่ได้พยากรณ์ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เสี่ยงต่อการอยู่รอดมีความเสี่ยงบางอย่าง เช่นการวิ่งกระทบโลกของดาวเคราะห์น้อย ที่มีโอกาสหนึ่งในล้าน ที่จะทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ในช่วงศตวรรษต่อไป[12] แม้เป็นเหตุการณ์ที่มีการทำนายความน่าจะเป็นอย่างละเอียด แต่ถึงอย่างนั้น นักวิชาการบางพวกก็อ้างว่า อัตราการวิ่งชนของวัตถุขนาดใหญ่ จริง ๆ อาจจะมากกว่าที่พยากรณ์ไว้ดั้งเดิม[13]และโดยนัยเดียวกัน ความถี่ของการระเบิดภูเขาไฟที่รุนแรง พอจะเป็นเหตุความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างหายนะ เช่นที่เกิดขึ้นที่ทะเลสาบโตบาเมื่อระหว่าง 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ให้มนุษย์เกือบสูญพันธุ์[14] มีการประมาณว่าเกิดขึ้นทุก 50,000 ปี[15]ส่วนภัยอื่น ๆ คำนวณได้ยากกว่า

ในปี ค.ศ. 2008 กลุ่ม "ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเสี่ยงมหันตภัยระดับโลกประเภทต่าง ๆ" ในงานประชุม "Global Catastrophic Risk" (ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เสนอว่า มีโอกาส 19% ที่มนุษย์จะสูญพันธุ์ภายในศตวรรษต่อไปแต่ว่า รายงานประชุมเตือนว่า วิธีการเฉลี่ยค่าคำตอบจากงานสำรวจไม่เป็นทางการ เป็นเรื่องน่าสงสัย เนื่องจากวิธีปฏิบัติต่อการไม่ส่งคำตอบ[ต้องการอ้างอิง] ค่าความน่าจะเป็นโดยประมาณสำหรับเหตุต่าง ๆ มีการสรุปดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงโอกาสที่มนุษย์จะสูญพันธุ์ก่อนปี ค.ศ. 2100
อาวุธที่ใช้นาโนเทคโนโลยี5%
ปัญญาประดิษฐ์ซูเปอร์ฉลาด5%
สงคราม4%
โรคระบาดทั่วที่สร้างขึ้น2%
สงครามนิวเคลียร์1%
อุบัติเหตุทางนาโนเทคโนโลยี0.5%
โรคระบาดทั่วตามธรรมชาติ0.05%
การก่อการร้ายโดยนิวเคลียร์0.03%
แหล่งข้อมูล: Future of Humanity Institute, 2008.[16]

แต่ว่า วิธีการในการประเมินค่าเหล่านี้ให้แม่นยำเป็นปัญหาคือ โดยมาก ความสนใจจะเป็นไปในความเสี่ยงต่ออารยธรรมมนุษย์ในช่วง 100 ปีต่อไปแต่การพยากรณ์ในช่วงเวลายาวเช่นนี้ เป็นเรื่องยากภัยธรรมชาตินั้น ค่อนข้างที่จะเสถียร แม้ก็ยังสามารถค้นพบความเสี่ยงใหม่ ๆ ได้แต่ว่าภัยที่เกิดจากมนุษย์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีใหม่ ๆยกตัวอย่างเช่น จริง ๆ แล้ว ภูเขาไฟเป็นความเสี่ยง ตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์แล้ว แต่อาวุธนิวเคลียร์พึ่งจะเป็นปัญหา เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยประวัติแล้ว สมรรถภาพของผู้เชี่ยวชาญในการทำนายอนาคตในช่วงเวลายาวเช่นนี้ มีความจำกัดอย่างยิ่งภัยจากมนุษย์ เช่น สงครามนิวเคลียร์และนาโนเทคโนโลยี พยากรณ์ได้ยากกว่าภัยธรรมชาติโดยทั่วไปก็คือ ยากที่จะประมาณความเสี่ยงนี้เพราะว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเทคโนโลยี สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

ความเสี่ยงการรอดชีวิตเป็นเรื่องท้าทายการพยากรณ์ มากกว่าแม้แต่เหตุการณ์ในระยะยาวอื่น ๆ เพราะต้องมีผู้สังเกตการณ์หลังเหตุการณ์คือ โดยไม่เหมือนกับเหตุการณ์อื่น ๆ โดยมาก การไม่มีการสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิงในอดีต ไม่ใช่หลักฐานว่าจะไม่มีในอนาคตเพราะว่า ในโลกที่มีเหตุการณ์สูญพันธุ์เช่นนั้น ก็จะไม่มีผู้สังเกตการณ์เหลือ ดังนั้น ไม่ว่าเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดบ่อยครั้งเท่าไร ก็ยังไม่เคยมีอารยธรรมไหน ๆ ที่มีประวัติเหตุการณ์เช่นนั้น[17]ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผู้สังเกตการณ์เช่นนี้ สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยสังเกตหาหลักฐานที่ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน เช่น สังเกตดูการวิ่งกระทบดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อย หรือในการประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยตรง[9]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก http://www.bmartin.cc/pubs/82jpr.html http://cds.cern.ch/record/613175/files/CERN-2003-0... http://public.web.cern.ch/Public/en/LHC/Safety-en.... http://www.2012finalfantasy.com/2008/toba-supervol... http://www.csmonitor.com/layout/set/print/content/... http://www.dailytech.com/New%20Navyfunded%20Report... http://discovermagazine.com/2000/oct/featworld http://www.drgeorgepc.com/TsunamiMegaEvaluation.ht... http://e-drexler.com/ http://e-drexler.com/d/06/00/EOC/EOC_Chapter_11.ht...