แหล่งกำเนิดความเสี่ยง ของ ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ความเสี่ยงต่อการอยู่รอด และความเสี่ยงต่ออารยธรรม อาจจะมาจากเหตุจากธรรมชาติหรือจากมนุษย์มีการอ้างว่า ยังมีความเสี่ยงต่อการอยู่รอดอีกมากที่เรายังไม่รู้[23]

ภัยจากมนุษย์

ความเสี่ยงต่อการอยู่รอดที่เป็นไปได้บางอย่าง มีเหตุจากเทคโนโลยีของมนุษย์ในปี ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ตั้งโปรเจ็กต์ The Cambridge Project for Existential Risk (โปรเจ็กต์เคมบริดจ์สำหรับความเสี่ยงต่อการอยู่รอด) ที่ตรวจสอบภัยต่อมนุษยชาติ ที่เกิดจากเทคโนโลยี[24] จุดมุ่งหมายของโปรเจ็กต์ ก็เพื่อจะตั้งศูนย์วิจัยสหศาสตร์ คือ Centre for the Study of Existential Risk (ศูนย์เพื่อการศึกษาความเสี่ยงต่อการอยู่รอด) อุทิศให้กับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และการบรรเทา ความเสี่ยงต่อการอยู่รอด ที่มาจากเทคโนโลยีมนุษย์[24]

โปรเจ็กต์เคมบริดจ์กล่าวว่า "ภัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ต่อมนุษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง คือปัญญาประดิษฐ์ ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีชีวภาพที่ควบคุมไม่ได้[25]

ปัญญาประดิษฐ์

มีการเสนอว่า คอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ ที่กลายเป็นสิ่งชาญฉลาดเหนือมนุษย์ (ซูเปอร์ฉลาด) อาจจะมีพฤติกรรมที่ไม่คาดฝัน หรือว่า มนุษย์อาจจะเก่งสู้หุ่นยนต์ไม่ได้ (ที่เรียกว่า technological singularity หรือภาวะเอกฐานทางเทคโนโลยี)[26][27]เพราะเหตุที่มันมีสมรรถภาพในการจัดลำดับและการจัดแจงอย่างยอดเยี่ยม และอาจสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้มากมายเป็นไปได้ว่า เครื่องคอมพ์ซูเปอร์ฉลาดเครื่องแรกของโลกที่ปรากฏ อาจจะกลายเป็นสิ่งฉลาดที่หาคู่แข่งไม่ได้และสามารถคิดได้ว่า มันอาจจะสามารถทำเหตุเพื่อสร้างผลอะไรก็ได้และสามารถที่จะป้องกันความพยายามของสิ่งอื่น ที่จะขัดขวางการถึงเป้าหมายของมัน[27]คือสามารถที่จะกำจัดคู่แข่งที่ชาญฉลาดถ้าเลือกที่จะทำหรืออาจจะจัดการหรือชักชวน ให้คู่แข่งเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อประโยชน์ของตนหรืออาจจะเพียงขัดขวางความพยายามของผู้อื่น ที่จะมาแทรงแซงการกระทำของตน[27] ในหนังสือ Superintelligence: Paths, Dangers, Strategies (สิ่งซูเปอร์ฉลาด แนวทาง ภัย และกลยุทธ์) ดร. บอสตรอม กำหนดปัญหาแบบนี้ว่า เป็นปัญหาในการควบคุม (control problem)[28]

ศ. คณิตศาสตร์และนักเขียนรางวัลฮิวโก ดร. เวอร์นอน วินจ์ เสนอว่า จะมีวันหนึ่งที่คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ จะฉลาดกว่ามนุษย์ เขาเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "the Singularity (ภาวะเอกฐาน)"[29] และเสนอว่า เหตุการณ์จะเป็นอันตรายหรือเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์[30]ปัญหาเหล่านี้ เป็นประเด็นในระบบปรัชญาที่เรียกว่า Singularitarianism

นักฟิสิกส์ ดร. สตีเฟน ฮอว์คิง, ผู้จัดตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ บิล เกตส์, และผู้จัดตั้งบริษัท SpaceX ล้วนแต่ได้แสดงความเป็นห่วง เกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจจะพัฒนาการไปจนกระทั่งมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ ดร. ฮอว์คิงได้สันนิษฐานว่า นี้อาจจะเป็น "จุดจบของของมวลมนุษย์"[31] ในปี ค.ศ. 2009 ผู้เชี่ยวชาญได้มางานประชุมจัดโดย Association for the Advancement of Artificial Intelligence (สมาคมเพื่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์) เพื่อที่จะปรึกษากันว่า คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ จะสามารถได้เป็นอิสระหรือไม่ และความสามารถเช่นนี้ จะเป็นภัยอันตรายมากน้อยแค่ไหนพวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า หุ่นยนต์ได้มีอิสรภาพโดยส่วนหนึ่งแล้วเช่นสามารถหาแหล่งพลังงานของตน และเลือกเป้าหมายในการโจมตีด้วยอาวุธและไวรัสคอมพิวเตอร์สามารถหลีกเลี่ยงการถูกกำจัด และฉลาดเท่ากับแมลงสาบพวกเขายังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า แม้ว่าการสำนึกตนได้ ที่จินตนาการในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ว่าก็ยังมีปัญหาและอันตรายอย่างอื่น ๆ[29]สื่อและกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ สังเกตเห็นแนวโน้มพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่เมื่อมารวมกันแล้ว อาจมีผลเป็นความสามารถและความเป็นอิสระยิ่ง ๆ ขึ้นของหุ่นยนต์ ซึ่งทำให้น่าเป็นห่วง[32][33][34]

นักเขียนเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ผู้หนึ่งเชื่อว่า ความเสี่ยงจากปัญญาประดิษฐ์ เป็นเรื่องที่พยากรณ์ได้ยากกว่าความเสี่ยงที่รู้จักอื่น ๆและอ้างว่า งานวิจัยในด้านนี้มีความเอนเอียงจากมานุษยรูปนิยมเพราะว่าเราตัดสินประเมินปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้ประสบการณ์ของตนดังนั้น เราจะประเมินความสามารถที่เป็นไปได้ของปัญญาประดิษฐ์ ต่ำเกินไปเขาแยกแยะความเสี่ยงที่เกิดจากความล้มเหลวทางเทคนิคของ AI ซึ่งหมายความว่า ขั้นตอนวิธีที่บกพร่อง อาจขัดขวาง AI ไม่ให้ทำงานได้ตามเป้าหมายของตน และความล้มเหลวทางด้านปรัชญา (หรือความคิด) ซึ่งหมายความว่า มีการตั้งโปรแกรมให้ AI เข้าถึงคตินิยมที่ผิด ๆ[35]

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการบางส่วน ไม่ค่อยเห็นด้วยในการใช้หุ่นยนต์ในการสงคราม โดยเฉพาะเมื่อให้อิสรภาพในการทำงานเป็นบางส่วน[36]นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความเป็นห่วงเกี่ยวกับเทคโนโลยี ที่ให้หุ่นยนต์ควบคุมหุ่นยนต์ที่ติดอาวุธด้วยกันเอง[37]กองทัพนาวีสหรัฐอเมริกา ได้ให้ทุนการทำรายงานที่ชี้ว่า เพราะว่า หุ่นยนต์การทหารเริ่มที่จะซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ควรที่จะใส่ใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลที่อาจจะมี เนื่องจากสมรรถภาพของหุ่นยนต์ในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระยิ่ง ๆ ขึ้น[38][39]มีนักวิจัยคนหนึ่งที่กล่าวว่า หุ่นยนต์ที่เป็นอิสระอาจจะมีมนุษยธรรมมากกว่า เพราะว่าจะสามารถตัดสินใจได้ดีกว่าแต่ผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ไม่เห็นด้วย[40]

โดยนัยตรงกันข้าม ปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นมิตร อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการอยู่รอด โดยช่วยสร้างพัฒนาเทคโนโลยีที่แก้ปัญหาภัยต่าง ๆ[35]

ในรายการของสถานีพีบีเอ็ส (สหรัฐอเมริกา) นักจิตวิทยาคนหนึ่งถามว่า "จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า AI ตัดสินใจว่า เราไม่มีประโยชน์อีกต่อไป" แต่ก็ยังอ้างด้วยว่า เราไม่สามารถและไม่ควรที่จะห้ามพัฒนาการของ AI ดังนั้น สิ่งที่ควรทำก็คือ เริ่มพิจารณาตั้งแต่บัดนี้ว่า จริยธรรมของ AI ควรจะเป็นอย่างไร[41]

นาโนเทคโนโลยี

มีเทคโนโลยีขนาดนาโนที่กำลังพัฒนาการ หรือที่ใช้อยู่แล้ว หลายอย่าง[42] แต่เทคโนโลยีเดียว ที่อาจจะเสี่ยงเป็นความหายนะของโลกก็คือ กรรมวิธีการผลิตระดับโมเลกุล (molecular manufacturing)ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถใช้สร้างโครงสร้างซับซ้อน โดยมีความแม่นยำระดับอะตอม[43] กรรมวิธีการผลิตระดับโมเลกุล จะต้องอาศัยความก้าวหน้าเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีสำคัญอื่น ๆ อีกแต่เมื่อสำเร็จแล้ว อาจจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ก้าวหน้า ในราคาที่ถูก เป็นจำนวนมาก ในโรงงานนาโน ซึ่งหนักตั้งแต่ 1 กิโลกรัมขึ้นไป[42][43] เมื่อโรงงานนาโนสามารถสร้างโรงงานอื่น ๆ การผลิตอาจจะจำกัดโดยเพียงปัจจัยที่มีมากมายอย่างอื่น ๆ เช่นวัตถุดิบ พลังงาน และซอฟต์แวร์[42]

กรรมวิธีการผลิตระดับโมเลกุล สามารถใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาวุธทันสมัยที่ทนทาน[42] เพราะว่าประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และมอเตอร์ที่เล็ก โรงงานเหล่านี้อาจมีอิสระเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถทำงานได้หลายอย่างและอย่างกว้างขวาง[42]

มีการจัดความเสี่ยงของนาโนเทคโนโลยีออกเป็น 3 ประเภท คือ(1) ส่งเสริมพัฒนาการของเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น AI และเทคโนโลยีชีวภาพ(2) ช่วยให้การผลิตมีปริมาณมากสำเร็จ เป็นผลิตภัณฑ์อันตรายที่เพิ่มความเสี่ยง (เช่น การแข่งขันกันทางอาวุธ) (3) ช่วยทำให้สำเร็จกระบวนการที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองได้อย่างถาวร โดยมีผลเสียหายอย่างไรก็ดี นาโนเทคโนโลยีก็อาจจะใช้บรรเทาความเสี่ยงมหันตภัยระดับโลกอย่างอื่น ๆ[42]

นักวิจัยหลายท่านเชื่อว่า ความเสี่ยงส่วนมากของนาโนเทคโนโลยี มาจากโอกาสที่ทำให้เกิดสงคราม การแข่งขันทางอาวุธ และรัฐบาลโลกที่เป็นอันตราย[42][44][45] มีเหตุผลหลายอย่างว่า ทำไมการมีอาวุธนาโนเทค จึงมีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่การแข่งขันทางอาวุธที่ไม่เสถียร (โดยเทียบกับการแข่งขันทางอาวุธนิวเคลียร์) คือ (1) อาจจะมีกลุ่มบุคคล/ประเทศเป็นจำนวนมาก ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันเช่นนี้ เพราะขีดจำกัดต่ำมาก(2) การสร้างอาวุธโดยวิธีการผลิตระดับโมเลกุล มีค่าใช้จ่ายน้อยและซ่อนได้ง่าย[42] (3) ดังนั้น การไม่รู้สมรรถภาพของฝ่ายตรงข้าม อาจจะชวนให้สะสมอาวุธเพื่อกันภัย หรือชวนให้โจมตีศัตรูก่อน[42][46] (4) วิธีการผลิตระดับโมเลกุล อาจจะลดความต้องพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศ[42] ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยสร้างสันติภาพอย่างหนึ่ง[47] (5) สงครามเพื่อแย่งชิง อาจจะมีผลทางเศรษฐกิจน้อยลงต่อกลุ่มที่บุกรุก เพราะว่า การผลิตมีค่าใช้จ่ายน้อย และอาจจะไม่ต้องใช้มนุษย์ในสนามรบ[42]

เนื่องจากการควบคุมตนเอง ทั้งในฝ่ายรัฐและฝ่ายเอกชน ดูจะเป็นไปไม่ได้[48] มาตรการบรรเทาความเสี่ยงต่อสงคราม มักจะเสนอในระดับให้ร่วมมือกันระหว่างประเทศ[42][49] องค์กรระหว่างประเทศจะสามารถขยายอำนาจได้ โดยให้อำนาจแก่องค์กรมากขึ้นซึ่งอาจจะช่วยประสานการควบคุมอาวุธ[50] สถาบันระหว่างประเทศอุทิศให้กับนาโนเทคโนโลยี (อาจจะคล้ายกับองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ) หรือกฎหมายควบคุมอาวุธโดยทั่วไป อาจตั้งขึ้นได้[49] และกลุ่มต่าง ๆ สามารถร่วมกันเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันเป็นหลัก ซึ่งเป็นนโยบายที่กลุ่มต่าง ๆ น่าจะยินดีทำ[42] ศูนย์เพื่อนาโนเทคโนโลยีแบบรับผิดชอบ (The Center for Responsible Nanotechnology) ก็เสนอข้อจำกัดต่าง ๆ ทางเทคนิคด้วย[51] ความโปร่งใสที่ดีขึ้น เกี่ยวกับสมรรถภาพทางเทคโนโลยีของแต่ละประเทศ อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมอาวุธ[52]

grey goo เป็นสถานการณ์มหันตภัยอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเสนอเป็นครั้งแรกโดยเอริค เดร็กซ์เรอร์ ในหนังสือ Engines of Creation (เครื่องสร้าง) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1986[53] ซึ่งได้กลายมาเป็นแนวคิดหลักอย่างหนึ่ง ในสื่อและในบันเทิงคดี[54][55] เป็นสถานการณ์ที่หุ่นยนต์ที่ขยายพันธุ์เองได้ ใช้ทรัพยากรของทั้งชีวภาค (biosphere)โดยใช้ทั้งเป็นพลังงานและเป็นวัตถุดิบในการสร้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาโนเทครวมทั้งเดร็กซ์เลอร์เอง ปัจจุบันไม่ให้ความเชื่อถือกับสถานการณ์นี้ตามคำของนักนาโนเทคโนโลยีคนหนึ่ง "สถานการณ์ที่เรียกว่า grey goo จะเกิดขึ้นได้ก็โดยเป็นผลของกระบวนการวิศวกรรมที่จงใจและทำได้ยากเท่านั้น ไม่อาจเป็นผลของเพียงอุบัติเหตุได้"[56]

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ สามารถเป็นความเสี่ยงมหันตภัยระดับโลก ในรูปแบบของจุลชีพก่อโรคตามธรรมชาติ หรือจุลชีพก่อโรคที่สร้างขึ้นและมหันตภัยอาจเกิดขึ้นเพราะใช้ในการสงคราม การก่อการร้าย หรือเป็นอุบัติเหตุ[57] ยังดีว่า การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการก่อการร้าย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยในประวัติศาสตร์[57] แต่ว่า เป็นเพราะว่าไม่สามารถ หรือเพราะว่าไม่มีแรงจูงใจ ยังเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนนัก[57]

พัฒนาการแบบเลขชี้กำลังกำลังเป็นไป ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ดังนั้น จึงมีนักวิชาการที่พยากรณ์ว่า กลุ่มต่าง ๆ จะมีสมรรถภาพทางเทคโนโลยีชีวภาพเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ ในทศวรรษต่อ ๆ ไป[57] พวกนักวิชาการอ้างว่า ความเสี่ยงจากสงครามชีวภาพ และการก่อการร้ายชีวภาพ เป็นเรื่องต่างหากจากภัยทางสงครามนิวเคลียร์และภัยทางสงครามเคมีเพราะว่า จุลชีพก่อโรคผลิตเป็นจำนวนมากได้ง่ายกว่า และการผลิตนั้นยากที่จะควบคุมได้(โดยเฉพาะถ้าสมรรถภาพทางเทคโนโลยี สามารถมีได้ในระดับบุคคล)[57]

เนื่องจากแนวโน้มที่เห็นได้ในพัฒนาการปัจจุบัน ภัยที่เพิ่มขึ้นจากจุลชีพใหม่ที่สร้างขึ้น เป็นปัญหาที่หวังได้ในอนาคต[57] มีการสันนิษฐานว่า จุลชีพก่อโรคที่เกิดโดยธรรมชาติจะมีขีดจำกัดสูงสุด ในระดับความร้ายแรงการก่อโรค[58] แต่ว่า เราสามารถเปลี่ยนยีนของจุลชีพ เพื่อเปลี่ยนค่าความร้ายแรงและคุณสมบัติอย่างอื่น ๆ ทั้งโดยตั้งใจ ทั้งโดยอุบัติเหตุ[57] ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มนักวิจัยชาวออสเตรเลียได้เปลี่ยนคุณสมบัติของไวรัสฝีดาษหนู (Ectromelia) เมื่อพยายามที่จะพัฒนาไวรัสเพื่อทำหนูให้เป็นหมัน[57] ไวรัสแปรทำให้หนูตาย ทั้งหนูที่ฉีดวัคซีน ทั้งที่มีภูมิต้านทานตามธรรมชาติ[45][59] เทคโนโลยีที่ใช้เปลี่ยนคุณสมบัติทางกรรมพันธุ์ของไวรัส มีโอกาสที่จะแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในอนาคต ถ้าไม่ควบคุมให้เหมาะสม[57]

มีการเสนอการบรรเทาความเสี่ยงจากเทคโนโลยีชีวภาพ และโรคระบาดทั่วตามธรรมชาติ โดยใช้มาตรการ 3 ข้อคือการควบคุมและป้องกันงานวิจัยที่อาจเป็นอันตราย การตรวจจับเหตุการณ์ระบาดที่ดีขึ้นและการตั้งศูนย์เพื่อบรรเทาเหตุการณ์ระบาด (เช่น เพื่อเก็บวัคซีน แบบกระจายไปให้ทั่วถึง)[57]

การสงคราม

สถานการณ์ที่คิดพิจารณาบ่อยครั้งที่สุดก็คือ สงครามนิวเคลียร์ และอาวุธทำลายโลก (doomsday device)แม้ว่า ความน่าจะเป็นของสงครามนิวเคลียร์ต่อปีนั้นน้อยมาก แต่มีนักวิชาการที่เสนอว่า เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะยาว คือยกเว้นถ้าความน่าจะเป็นเข้าไปใกล้ค่าศูนย์ วันหนึ่งโชคดีที่มีมาของมนุษย์จะหมดไป[60]ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประเมินโอกาสที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ "ระหว่างหนึ่งในสาม ถึงครึ่งต่อครึ่ง"[61] ในปี ค.ศ. 2014 สหรัฐอเมริกาและประเทศรัสเซีย มีอาวุธนิวเคลียร์รวม ๆ กัน 15,315 ชิ้น[62] และมีอาวุธทั้งหมดในโลกประมาณ 16,400 ชิ้น[62]

แต่ถึงแม้ว่า จะมีความเห็นที่นิยมว่า สงครามนิวเคลียร์จะเป็น "จุดจบของโลก" ผู้เชี่ยวชาญกลับให้ความน่าจะเป็นที่ต่ำว่า มนุษย์จะสูญพันธุ์เพราะเหตุสงคราม[63][64] ในปี ค.ศ. 1982 นักวิชาการเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมคนหนึ่ง ประเมินว่า สงครามนิวเคลียร์ระหว่าสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย จะฆ่าคน 400-450 ล้านคนโดยตรง และอีกหลายร้อยล้านคนเนื่องจากผลที่ตามมา[63]

แต่ว่าสงครามจะฆ่าคนและทำลายที่อยู่อาศัยมนุษย์ เป็นจำนวนมาก อย่างไม่เคยมีมาก่อนและการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์เป็นจำนวนมาก จะมีผลระยะยาวต่อภูมิอากาศ คือจะทำให้อากาศหนาวเย็น และลดการได้แสงอาทิตย์[65]ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสำคัญต่ออารยธรรมต่าง ๆ[4]:4.2

นอกจากสงครามนิวเคลียร์แล้ว เหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อมนุษย์รวมทั้งสงครามชีวภาพ การก่อการร้ายชีวภาพ และสงครามเคมี

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ปรากฏการณ์โลกร้อนหมายถึง ภูมิอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีของมนุษย์ ตั้งต้นแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19เป็นความเปลี่ยนแปลงในระดับที่ผิดธรรมดา จากภูมิอากาศตามประวัติของโลกความเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังได้ในอนาคตรวมทั้ง โลกจะร้อนขึ้นอีก ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น ความถี่และความรุนแรงของลมฟ้าอากาศสุดโต่งจะสูงขึ้น และจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับภูมิอากาศ และภัยพิบัติที่เกิดจากดินฟ้าอากาศต่าง ๆผลของโลกร้อนรวมทั้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาความกดดันต่อระบบการผลิตอาหารที่มีอยู่ และการแพร่โรคระบาดบางอย่างเช่นมาลาเรีย

มีการเสนอว่า โลกที่ร้อนขึ้นแบบควบคุมไม่ได้ อาจทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้ เหมือนกับดาวศุกร์ส่วนสถานการณ์ที่ไม่สาหัสถึงขนาดนั้น อาจหมายถึงจุดจบของอารยธรรมแบบที่เคยมีมาก่อน[66]

โดยวิธีการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต (scenario analysis) กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ขององค์กร Global Scenario Group (GSG)ได้สร้างแบบเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ในโลก เมื่ออารยธรรมมนุษย์เข้าสู่ยุค Planetary Phase of Civilization (อารยธรรมช่วงแพร่ทั้งโลก)เหตุการณ์หนึ่งที่เป็นไปได้ ก็คือความล้มเหลวของอารยธรรม เมื่อผลที่เกิดจากโลกร้อนรุนแรงมากขึ้น ทำให้การแข่งขันต่อสู้เพื่อทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มขึ้นGSG ได้คาดหมายเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เป็นไปได้ เช่นเหตุการณ์ที่มนุษย์จะไม่ประสบความล้มเหลวทางสังคม และในที่สุดจะไปถึงจุดที่สามารถยั่งยืนอยู่ได้ ทั้งทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมแต่ว่า เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มนุษย์เลือกจะทำ[67]และขึ้นอยู่กับการตั้ง global citizens movement (ขบวนการประชาชนโลก) ที่สนับสนุนความก้าวหน้าทางสังคมที่ยั่งยืนได้ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของโลก[68]

ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม/นิเวศน์

ภัยพิบัติทางระบบนิเวศ เช่นความล้มเหลวของพืชผล หรือความล้มเหลวของระบบนิเวศที่ทำประโยชน์ให้กับมนุษย์ (ecosystem services) สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีประชากรมากเกินไป หรือเนื่องจากแนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[69] และระบบเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืนเหตุการณ์เช่นนี้อาจจะมีองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ คือ การสูญพันธุ์ยุคโฮโลซีน, วิกฤตการณ์ไม่มีน้ำ ที่อาจทำให้คนครึ่งโลกไม่มีน้ำที่ทานได้อย่างปลอดภัย, พาหะถ่ายเรณูที่ลดลง, การจับสัตว์ทะเลมากเกินไป, การสูญเสียป่าอย่างยิ่งใหญ่, การขยายตัวของเขตทะเลทราย, ความเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ, หรือการก่อมลพิษให้แก่น้ำที่รุนแรงกว้างขวางภัยในแนวนี้ที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็คือ ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[70] ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณแสดงว่า จะมีการสูญพันธุ์ในไม่ช้านี้[71]ของผึ้งพันธุ์ Apias mellifera (อังกฤษ: Western honeybee)และเนื่องจากว่า ผึ้งชนิดนี้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการถ่ายเรณู การสูญพันธุ์ของมันจะสร้างปัญหาอย่างรุนแรงในห่วงโซ่อาหาร

วิกฤตประชากรและเกษตรกรรม

ดูบทความหลักที่: มหันตภัยมาลธูเซียน

มีการเพิ่มประชากรโลกอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์ และการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรกรรม[72] ที่เกิดจากกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติสีเขียว (Green Revolution)[73] ระหว่างปี ค.ศ. 1950-1984 การปฏิวัติสีเขียวได้เปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมไปทั่วโลก คือ การผลิตธัญพืชทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 250%ซึ่งช่วยให้การผลิตอาหาร ทันกับการเติบโตของประชากร หรือจริง ๆ แล้วก็คือ ช่วยให้ประชากรเติบโตได้พลังงานที่ใช้ในการปฏิวัติสีเขียว มาจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ในรูปของปุ๋ย (ผลิตจากแก๊สธรรมชาติ) สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ (จากน้ำมัน) และชลประทานที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน[74]

มีนักวิชาการที่กำหนดในงานศึกษา Food, Land, Population and the U.S. Economy (อาหาร ที่ดิน ประชากร และเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา) ว่า ระดับประชากรของสหรัฐ ในระบบเศรษฐกิจที่สามารถยั่งยืน ควรอยู่ที่ 200 ล้านคน (อยู่ที่ 320 ล้านคนในปี ค.ศ. 2015)เพื่อที่จะมีเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ สหรัฐต้องลดประชากรอย่างน้อย 1/3 และประชากรโลกต้องลดลงอย่างน้อย 2/3 (อยู่ที่ 7,000 ล้านคนในปี ค.ศ. 2012)[75]ผู้เขียนงานศึกษาเชื่อว่า วิกฤตการณ์ทางเกษตรกรรมจะเริ่มมีผล หลังปี ค.ศ. 2020 และจะไม่ถึงจุดวิกฤต จนถึงปี ค.ศ. 2050มีนักธรณีวิทยาที่อ้างว่า ในทศวรรษต่อ ๆ มาที่กำลังมาถึง เราจะเห็นราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่สุดสิ้น และจะมีการอดอยากทั่วโลกในระดับที่ไม่เคยประสบมาก่อน[76][77]

ข้าวสาลีเป็นธัญพืชที่ปลูกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแต่มีเชื้อราที่มีอยู่เช่น Ug99[78] ที่สามารถทำลายพืชในระดับ 100% ในพันธุ์ปัจจุบันโดยมากที่ปลูกอยู่และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้ และราแพร่กระจายได้ไปตามลมถ้ามีเขตปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลกเกิดติดเชื้อ ก็จะมีวิกฤตการณ์ข้าวสาลี ซึ่งจะเพิ่มทั้งราคาของข้าว และเกิดความขาดแคลนอาหารที่ทำจากข้าวสาลี[79]

อุบัติเหตุเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ดร. นิก บอสตรอม เสนอว่า ในการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ มนุษย์อาจจะสร้างอุปกรณ์ ที่สามารถทำลายโลกและระบบสุริยะได้โดยไม่ได้ตั้งใจ[4]:4.8คือ การทดลองในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ และฟิสิกส์พลังงานสูง อาจจะสร้างปัจจัยที่ไม่ปกติ ที่มีผลเป็นมหันตภัยยกตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกที่ทรินิตี กังวลว่าการระเบิดอาจจะไหม้บรรยากาศของโลกได้[80][81] และเมื่อไม่นานนี้ มีนักวิทยาศาสตร์ที่กังวลว่า เครื่องชนอนุภาค Relativistic Heavy Ion Collider ในรัฐนิวยอร์ก[82] หรือเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ใกล้เมืองเจนีวา อาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นมหันตภัยระดับโลก เกี่ยวเนื่องกับหลุมดำ strangelet หรือสภาวะสุญญากาศเทียม (false vacuum state)แม้ว่าปัญหาโดยเฉพาะเหล่านี้ จะพิสูจน์ว่าเท็จแล้ว[83][84][85][86]

แต่ความวิตกกังวลทั่ว ๆ ไปในแนวทางเดียวกัน ก็ยังไม่สามารถกำจัดได้

เทคโนโลยีชีวภาพอาจนำไปสู่โรคระบาดทั่ว การสงครามเคมีอาจทำแบบสุดรุนแรง นาโนเทคโนโลยีอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่หุ่นยนต์สามารถสร้างต้นเอง โดยใช้ทรัพยากรทั้งหมดในโลก ไม่ว่าจะโดยตั้งใจออกแบบ หรือโดยอุบัติเหตุ[87]

ที่ไม่ได้เกิดจากมนุษย์

โรคระบาดทั่วโลก

ดูบทความหลักที่: โรคระบาดทั่ว

จำนวนคนตายจากโรคระบาดทั่ว จะเท่ากับความรุนแรง (virulence) ของจุลชีพก่อโรค คูณด้วยจำนวนคนที่ติดเชื้อทั้งหมดมีการสันนิษฐานว่า จุลชีพตามธรรมชาติ จะมีระดับความรุนแรงสูงสุดที่จำกัด[58] เพราะว่า จุลชีพที่ฆ่าสัตว์ถูกเบียนเร็วเกินไป อาจจะไม่มีเวลาพอที่จะแพร่กระจายไปติดสัตว์อื่นในขณะที่จุลชีพที่ฆ่าสัตว์ถูกเบียนช้า ๆ หรือไม่ฆ่าเลย จะเปิดโอกาสให้สัตว์พาหะโรคมีเวลาในการกระจายโรคและดังนั้น จึงขยายพันธุ์ได้ดีกว่าจุลชีพพันธุ์ที่รุนแรงกว่า[88]

แบบจำลองที่เรียบง่ายนี้พยากรณ์ว่า ถ้าความรุนแรงและการกระจายโรคไม่สัมพันธ์กัน จุลชีพก่อโรคจะวิวัฒนาการไปเป็นแบบรุนแรงน้อย และกระจายพันธุ์ได้เร็วแต่ว่า ข้อสมมุตินี้ไม่เป็นจริงเสมอในเหตุการณ์ที่ซับซ้อนจริง ๆ ที่ระดับความรุนแรงและอัตราการแพร่กระจาย จะสัมพันธ์กัน ดังนั้น จุลชีพที่รุนแรง จึงสามารถวิวัฒนาการเกิดขึ้นได้[89] ระดับความรุนแรงที่เป็นไปได้ ก็จะจำกัดโดยกลุ่มประชากรที่ซับซ้อนของสัตว์ถูกเบียน ที่มีระดับการติดเชื้อต่าง ๆ กัน หรืออาจจะอยู่ในพื้นที่ที่แยกออกจากกัน[58] นอกจากนั้นแล้ว ขนาดของกลุ่มประชากรสัตว์ถูกเบียน และการแข่งขันกันระหว่างสายเชื้อจุลชีพ สามารถเปลี่ยนระดับความรุนแรงของจุลชีพได้[90]

เป็นเรื่องน่าสนใจว่า จุลชีพที่ก่อโรคในมนุษย์โดยเป็นสัตว์ทุติยภูมิ และปกติก่อโรคในสัตว์อื่น โดยเป็นสัตว์ปฐมภูมิ (คือเป็นโรครับจากสัตว์) อาจไม่มีข้อจำกัดในความรุนแรงของโรคที่ก่อในมนุษย์เพราะว่า การติดโรคของมนุษย์เป็นเพียงอุบัติเหตุ และวิวัฒนาการของจุลชีพ จะขับเคลื่อนโดยเหตุการณ์ที่เกิดในสัตว์อื่น[91]

มีตัวอย่างทางประวัติศาสตร์มากมายเกี่ยวกับโรคระบาดทั่ว[92] ที่มีผลทำลายล้างมนุษย์เป็นจำนวนมากซึ่งทำให้โรคระบาดทั่วโลก เป็นความเสี่ยงที่เป็นจริงได้ และเป็นภัยต่ออารยธรรมมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายถึงความต่าง ๆ กันตามธรรมชาติของภูมิอากาศโลก ตามกาลเวาภูมิอากาศมักจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ เช่นในช่วงยุคน้ำแข็ง และช่วงที่มีอากาศอุ่นจนกระทั่งต้นปาล์มสามารถโตได้ในทวีปแอนตาร์กติกามีสันนิษฐานว่า มียุคหนึ่งที่เรียกว่า "snowball Earth (โลกลูกหิมะ)" ที่มหาสมุทรทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็งภูมิอากาศโลกเช่นนี้ มักจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ก่อนที่อารยธรรมมนุษย์จะเกิดขึ้นประมาณหมื่นปีก่อน ในช่วงปลายของยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายที่ภูมิอากาศเริ่มเสถียรมากขึ้นแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างกระทันหัน ในช่วงเวลาเป็นเพียงทศวรรษ ก็มีด้วยแต่จำกัดในบางพื้นที่แต่เพราะว่า อารยธรรมนุษย์เริ่มขึ้นในช่วงที่ภูมิอากาศเถียร แม้การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะร้อนขึ้นหรือหนาวขึ้น ก็อาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์

ยุคน้ำแข็ง
ดูบทความหลักที่: ยุคน้ำแข็ง

เรารู้ตามประวัติของโลกว่า มียุคน้ำแข็ง 12 ยุคที่ได้ผ่านมาแล้วอาจจะมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นอีกภายใน 40,000-100,000 ปีซึ่งจะเป็นปัญหารุนแรงกับอารยธรรมเพราะว่า พื้นที่เป็นจำนวนมาก (โดยหลักในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ทางภาคเหนือ) อาจจะไม่สามารถอยู่ได้การอยู่ในเขตร้อนจะยังเป็นไปได้ แต่อาจจะในระดับความชื้นและระดับน้ำที่ลดลงในขณะปัจจุบัน โลกอยู่ในช่วงคั่นช่วงเวลาธารน้ำแข็ง (Interglacial)การขยายตัวของธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย หยุดลงเมื่อประมาณหมื่นปีก่อนและอารยธรรมมนุษย์ทั้งหมด เกิดพัฒนาการหลังจากนั้นถึงอย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ไม่พยากรณ์ว่า ยุคน้ำแข็งตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นภายในเร็ว ๆ นี้

ภูเขาไฟ

เหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เช่น หินบะซอลต์ท่วม ภูเขาไฟระเบิด และซูเปอร์ภูเขาไฟระเบิด[93] สามารถทำให้เกิดฤดูหนาวภูเขาไฟ คล้ายกับฤดูหนาวนิวเคลียร์มีเหตุการณ์เช่นนี้ที่ทะเลสาบโตบา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ 71,500 ปีก่อน[94]และตามทฤษฎีมหันตภัยทะเลสาบโตบา[95] เหตุการณ์นั้นอาจจะลดจำนวนมนุษย์ในเวลานั้น จนเหลือไม่กี่หมื่นคนแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน เป็นซูเปอร์ภูเขาไฟอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ระเบิดขึ้นอย่างน้อย 142 ครั้งใน 17 ล้านปีที่ผ่านมา[96] การระเบิดภูเขาไฟอย่างรุนแรง จะปล่อยฝุ่นภูเขาไฟ แก๊สพิษ และแก๊สเรือนกระจก ไปในบรรยากาศ มีผลสาหัสต่อภูมิอากาศของโลก จะหนาวหรือร้อนก็ดีถ้าเป็นด้านหนาว จะทำให้หนาวมาก เป็นฤดูหนาวภูเขาไฟในระยะสั้น และยุคน้ำแข็งในระยะยาวหรือถ้าโลกร้อนขึ้น ก็จะเป็นเพราะแก๊สเรือนกระจกมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศมากที่สุด

เมื่อซูเปอร์ภูเขาไฟที่เยลโลว์สโตน ระเบิดครั้งสุดท้ายเมื่อ 640,000 ปีก่อน หินหนืดและเถ้าที่ออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ปกคลุมประเทศสหรัฐอเมริกาด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปีโดยมาก และส่วนหนึ่งของประเทศเม็กซิโกด้านตะวันออกเฉียงเหนือ[97] การระเบิดเช่นนี้อีก อาจจะเป็นภัยต่ออารยธรรมและอาจปล่อยแก๊สออกมาเป็นจำนวนมาก พอที่จะทำลายความสมดุลของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลเป็นปรากฏการณ์แก๊สเรือนกระจกที่คุมไม่อยู่[ไม่แน่ใจพูดคุย][ต้องการอ้างอิง] หรือปล่อยฝุ่นตะกอนภูเขาไฟหรือวัสดุอื่น ๆ ไปในชั้นบรรยากาศ แล้วบังแสงอาทิตย์ มีผลเป็นฤดูหนาวภูเขาไฟดังที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1816 ที่ภูเขาไฟตัมโบราระเบิด มีผลเป็นปีไร้ฤดูร้อนการระเบิดเช่นนี้อาจทำให้คนตายทันทีเป็นล้าน ๆ คนแม้อยู่ห่างเป็นหลายร้อยกิโลจากจุดระเบิด และอาจทำให้ตายเป็นพัน ๆ ล้านคนโดยที่สุด[98] ทั่วโลก เนื่องจากการไร้มรสุม[ต้องการอ้างอิง], มีผลเป็นเกษตรกรรมล้มเหลว แล้วทำให้เกิดความอดอยากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน[98]

ส่วนเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องไม่แน่นอนยิ่งกว่านั้น คือ Verneshot ซึ่งเป็นทฤษฎีการระเบิดภูเขาไฟ ที่เกิดจากการสั่งสมแก๊สใต้หินฐานธรณี (craton)การระเบิดภูเขาไฟเช่นนี้อาจแรงพอ ที่จะส่งวัสดุเป็นจำนวนมากจากเปลือกโลกและเนื้อโลก ไปในแนววิถีเกือบถึงวงโคจร

คลื่นเมกะสึนามิ

ภัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ คลื่นเมกะสึนามิเช่น คลื่นที่อาจจะสามารถทำลาย ฝั่งด้านตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้นเป็นคลื่นที่เกิดจากเกาะภูเขาไฟถล่มลงมาในทะเล[99] แม้ว่า เหตุการณ์เหล่านี้ จะไม่สามารถทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์โดยทั้งหมดแต่ก็สามารถเป็นภัยต่ออารยธรรมในพื้นที่มีคลื่นสึนามิที่มีคนตายมาก แม้หลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 และในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 แต่ก็ยังไม่ใหญ่พอที่จะเรียกว่า คลื่นเมกะสึนามิเมกะสึนามิ สามารถมีแหล่งกำเนิดจากวัตถุอวกาศได้ด้วย เช่นมีดาวเคราะห์น้อยวิ่งลงมาในทะเล

การสลับขั้วแม่เหล็กโลก

ดูบทความหลักที่: การสลับขั้วแม่เหล็กโลก

ตามประวัติโลก ขั้วแม่เหล็กของโลกได้เปลี่ยนที่มาหลายครั้งแล้วระยะเวลาที่เหตุการณ์เหล่านี้เป็นไป ยังไม่ชัดเจนแต่มีทฤษฎีที่ว่า ในช่วงระยะเวลาเหล่านี้ สนามแม่เหล็กโลกจะอ่อนมากหรือไม่มีเลยซึ่งจะเป็นภัยต่ออารยธรรมที่ใช้ไฟฟ้า หรือต่อสัตว์พืชหลายสปีชีส์ เนื่องจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์โดยเฉพาะก็คือ ลมสุริยะ เปลวสุริยะ และรังสีคอสมิก จะเข้ามาถึงโลกได้แต่ว่า ทฤษฎีเหล่านี้ พิสูจน์ว่าเท็จเป็นบางส่วนแล้ว เพราะว่า การวิเคราะห์ทางสถิติ ไม่แสดงหลักฐานว่ามีสหสัมพันธ์ระหว่างการสลับขั้วในอดีต กับการสูญพันธุ์ของสัตว์หรือพืช[100][101]

ทฤษฎีการสลับขั้วแม่เหล็กโลกที่ยอมรับ ไม่ควรสับสนกับสมมุติฐานขั้วโลกเปลี่ยน (Pole shift hypothesis)ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1872 และมีการอภิปรายช้ำ ๆ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ 20แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันคือสมมุติฐานเสนอว่า แกนหมุนของโลก สามารถเปลี่ยนตำแหน่งเปรียบเทียบกับเปลือกโลก ได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิอย่างรุนแรง แล้วเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ ทำความเสียหายสมมุติฐานนี้ ขัดกับการตีความข้อมูลธรณีวิทยา โดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปซึ่งบอกว่า การเปลี่ยนแกนหมุน (true polar wander) สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ในช่วงเวลาเป็นล้าน ๆ ปี

ดาวเคราะห์น้อยวิ่งกระทบโลก

ผู้แทนราษฎร STEWART: เรามีความสามารถทางเทคโนโลยี ที่จะส่งอะไรไปเพื่อสกัดกั้นดาวเคราะห์น้อยหรือไม่...

ดร. A'HEARN: ไม่ครับ ถ้าเรามีแผนสร้างยานอวกาศพร้อมแล้ว นั่นก็ยังต้องใช้เวลาอีกปีหนึ่ง ... คือ ภารกิจเล็กโดยทั่วไป ... ใช้เวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่การรับอนุมัติ ไปถึงการส่งยานอวกาศ ...

— รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา[102]

มีดาวเคราะห์น้อยหลายดวง ที่วิ่งมาชนโลกตามประวัติโลกที่ยังไม่นานยกตัวอย่างเช่น มีทฤษฎีว่า ดาวเคราะห์น้อยที่สร้างแอ่ง Chicxulub ในรัฐยูกาตัง ประเทศเม็กซิโก เป็นเหตุของการสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส-พาลิโอจีน ของไดโนเสาร์ที่บินไม่ได้ เมื่อ 66 ล้านปีก่อนถ้ามีวัตถุใหญ่เช่นนั้นวิ่งมากระทบโลก จะมีผลรุนแรงต่ออารยธรรมเป็นไปได้ว่า มนุษยชาติจะสูญสิ้นไปแต่จะเป็นอย่างนี้ได้ ก็ต่อเมื่อดาวเคราะห์น้อยมีขนาดอย่างน้อย 1 กม. เป็นเส้นผ่าศูนย์กลาง และน่าจะต้องมีขนาด 3-10 กม.โดยเฉลี่ยแล้ว จะมีดาวเคราะห์น้อยขนาด 1 กม. วิ่งมากระทบโลกทุก ๆ 500,000 ปี[4]:4.10ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่กว่านั้นไม่ค่อยสามัญ แต่ว่า เราพบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่มีขนาดเล็ก เป็นประจำ

อีก 1.4 ล้านปี ดาวฤกษ์ "Gliese 710" จะทำให้เกิดมีสะเก็ดดาวเพิ่มขึ้นใกล้โลก เมื่อมันเข้ามาในระยะ 1.1 ปีแสงจากดวงอาทิตย์ (ปัจจุบันห่าง 63.8 ปีแสง) และมีผลรบกวนเมฆออร์ตที่อยู่ล้อมรอบระบบสุริยะแบบจำลองพลวัต (Dynamic model) ของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง พยากรณ์ว่า จะมีสะเก็ดดาววิ่งเข้ามากระทบโลกเพิ่มขึ้น 5%[103] แต่ว่า วัตถุที่มาจากเมฆออร์ต จะใช้เวลาเป็นล้าน ๆ ปี ที่จะวิ่งเข้ามาถึงระบบสุริยะด้านใน ซึ่งเป็นเขตที่โลกอยู่

การบุกรุกของมนุษย์ต่างดาว

มนุษย์ต่างดาวอาจจะมารุกรานโลก[104] http://discovermagazine.com/2000/oct/featworld20 Ways the World Could EndOct 01, 2000เพื่อที่จะกำจัดหรือทดแทนมนุษย์ ทำมนุษย์ให้เป็นทาส ขโมยทรัพยากรของโลก หรือทำลายโลกทั้งสิ้น

แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานว่า มีมนุษย์ต่างดาว นักวิทยาศาสตร์ เช่น ดร. คาร์ล เซแกน เชื่อว่า มนุษย์ต่างดาวน่าจะมีอยู่ในปี ค.ศ. 1969 รัฐบาลสหรัฐได้ตั้งกฎบังคับเกี่ยวการถูกต้องสัมผัสวัตถุต่างดาว (Extra-Terrestrial Exposure Law) เพราะความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อนทางชีวภาพ ของโครงการอะพอลโลแล้วต่อมาจึงได้ยกเลิกกฎนี้ในปี ค.ศ. 1991[105]ปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์พิจารณาสถานการณ์นี้ว่า เป็นไปได้โดยเทคนิค แต่มีโอกาสน้อย[4]:7.2

พาราด็อกซ์ของแฟร์มี

ในปี ค.ศ. 1950 นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ดร. เอนริโก แฟร์มี ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมมนุษย์จึงยังไม่พบเจออารยธรรมต่างดาว แล้วถามว่า "แล้วทุกคนไปอยู่ไหนหมด"[106] เพราะอายุของเอกภพที่เก่าแก่ และจำนวนดาวฤกษ์ที่มีอยู่มากมาย ถ้าโลกไม่ผิดปกติ สิ่งมีชีวิตต่างดาวก็ควรจะมีอยู่อย่างสามัญดังนั้น ทำไมจึงไม่มีหลักฐานว่ามีอารยธรรมต่างดาว คำถามนี้ รู้จักกันว่า พาราด็อกซ์ของแฟร์มี

เหตุผลอย่างหนึ่งที่เสนอที่นอกเหนือจากความเป็นไปได้ว่า ไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่น แม้จะไม่ได้รับการยอมรับอย่างทั่วไป ก็คือ มนุษย์ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดจากดาวเคราะห์อื่น ๆ เป็นเพราะความน่าจะเป็น ที่จะเกิดมหันตภัยที่ทำลายล้างการอยู่รอด ซึ่งก็คือ อารยธรรมของสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดอื่น ๆ ถูกทำลายล้างไป ก่อนที่มนุษย์จะสามารถพบเจอ หรือว่า พวกเขาไม่สามารถค้นหาโลกได้[8][107][108]

ภัยจากจักรวาล

มีภัยทางดาราศาสตร์ที่เราเริ่มรู้แล้ววัตถุที่มีมวลมหาศาล เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ หรือหลุมดำ สามารถเป็นมหันตภัยได้ ถ้าเข้ามาใกล้ระบบสุริยะในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2008 มีการประกาศว่า การจำลองการเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์ในระยะยาว ที่ทำที่หอสังเกตการณ์ปาริส (Paris Observatory) และที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาครูซ แสดงว่า มีโอกาส 1% ที่วงโคจรของดาวพุธ จะเกิดความไม่เสถียร เพราะเหตุแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดี ในช่วงอายุขัยของพระอาทิตย์ถ้านี่เกิดจริง ๆ การจำลองบอกว่า ดาวพุทธจะวิ่งชนโลก ซึ่งเป็นผลที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งใน 4 อย่าง โดยที่ผลอย่างอื่นรวมทั้ง วิ่งชนดวงอาทิตย์ วิ่งชนดาวศุกร์ หรืออาจวิ่งออกจากระบบสุริยะโดยสิ้นเชิงถ้าวิ่งชนโลก สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกจะถูกทำลายขนาดดาวเคราะห์น้อยขนาด 15 กม. ยังเชื่อว่า เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์ที่บินไม่ได้สูญพันธุ์เทียบกับดาวพุทธ ซึ่งมีขนาด 4,879 กม.[109]

ภัยอีกอย่างอาจจะมาจากแสงวาบรังสีแกมมา[110] ซึ่งจะทำให้สัตว์พืชสูญพันธุ์และทำลายชั้นโอโซนของโลก

แต่ภัยทั้งสองมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ยังพอมองเห็นได้[4]:4.7

ภัยที่คล้าย ๆ กันอีกอย่างหนึ่งคือ ไฮเปอร์โนวา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ระเบิดแล้วยุบตัวลง แผ่รังสีเป็นจำนวนมาก ออกไปเป็นระยะทางหลายร้อยปีแสงแม้ว่าจะยังไม่มีใครเคยเห็นไฮเปอร์โนวา แต่ว่ามีการเสนอว่า เป็นเหตุของการสูญพันธุ์ยุคออร์โดวิเชียน-ยุคไซลูเรียนดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ที่ใกล้ที่สุดอยู่ในระบบดาว Eta Carinae ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 8,000 ปีแสง[111]

ถ้าระบบสุริยะวิ่งผ่านเนบิวลามืด ซึ่งก็คือกลุ่มฝุ่นคอสมิก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกแบบรุนแรง ก็จะเกิดขึ้น[112]

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: พายุสุริยะ และ เปลวสุริยะ

ซูเปอร์พายุสุริยะ ซึ่งเป็นการลดระดับหรือเพิ่มระดับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ปกติ อาจจะมีผลรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

ถ้าเอกภพของเราอยู่ในสุญญากาศเทียม (false vacuum ตามทฤษฎีสนามควอนตัม) ฟองสุญญากาศที่มีพลังงานต่ำกว่า อาจจะมีขึ้นโดยบังเอิญหรือโดยปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งจะเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนเอกภพให้มีพลังงานต่ำลง โดยขยายออกใกล้ความเร็วของแสง ทำลายทุกสิ่งที่เรารู้จัก โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า[113] เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่า vacuum metastability event (เหตุการณ์ความเสถียรเทียมของสุญญากาศ)

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก http://www.bmartin.cc/pubs/82jpr.html http://cds.cern.ch/record/613175/files/CERN-2003-0... http://public.web.cern.ch/Public/en/LHC/Safety-en.... http://www.2012finalfantasy.com/2008/toba-supervol... http://www.csmonitor.com/layout/set/print/content/... http://www.dailytech.com/New%20Navyfunded%20Report... http://discovermagazine.com/2000/oct/featworld http://www.drgeorgepc.com/TsunamiMegaEvaluation.ht... http://e-drexler.com/ http://e-drexler.com/d/06/00/EOC/EOC_Chapter_11.ht...