อุปทาน ของ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

นิยาม

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (2014-04)

ในปี ค.ศ. 1956 ดร. ฮับเบิร์ตได้จำกัดการพยากรณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุด โดยวิธีการผลิตที่มีใช้ในขณะนั้น[13] แต่ว่า โดยปี ค.ศ. 1962 การวิเคราะห์ของเขาได้รวมพัฒนาการทางการสำรวจและการผลิตในอนาคตด้วย[39] แต่ว่างานวิเคราะห์ทั้งหมดของเขา ไม่รวมน้ำมันที่ผลิตจากหินน้ำมัน หรือจากทรายน้ำมัน

น้ำมันแบ่งออกเป็นแบบเบาและแบบหนัก แบบหนักหมายถึงน้ำมันที่เหนียวไม่ไหลได้ง่าย ๆ แบบเบาเป็นน้ำมันที่สามารถไหลขึ้นมาสู่พื้นโดยธรรมชาติ หรือสามารถขุดเจาะได้โดยใช้เครื่องสูบน้ำมัน (pumpjack)ซึ่งสามารถใช้สูบเอาน้ำมันหนักออกจากพื้นได้ด้วยและสามารถขุดเจาะเอาได้ จากทั้งในพื้นดินและในทะเล[40]

แหล่งน้ำมันนอกสามัญ

  • หินน้ำมัน เป็นชื่อสามัญของหินตะกอนเช่นหินดินดาน หรือหินมาร์ล ซึ่งมีเคโรเจน ซึ่งเป็นสารก่อนน้ำมัน ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นน้ำมันดิบโดยแรงดันและอุณหภูมิสูงที่เกิดจากการอยู่ในดินลึก เพราะว่าหินอยู่ใกล้พื้นผิว จะมีการขุดเอาหิน บด แล้วกลั่น มีผลผลิตเป็นน้ำมันสังเคราะห์จากเคโรเจน แต่ว่า พลังงานสุทธิที่ได้จากหิน น้อยกว่าน้ำมันปกติมาก จนกระทั่งว่า พลังงานสุทธิประเมินจากการค้นพบหินน้ำมัน พิจารณาว่าเชื่อถือไม่ได้[41][42]
  • ทรายน้ำมัน (Oil sands) เป็นหินทรายที่ยังไม่จับก้อน ที่มียางมะตอยดิบ หรือน้ำมันดิบ ที่หนักและเหนียวมาก ซึ่งสามารถขุดเจาะได้ผ่านวิธีการทำเหมืองผิวดิน (surface mining), การขุดบ่อน้ำมันโดยใช้กระบวนการฉีดไอน้ำ (steam injection), หรือเทคนิคอื่น ๆ แล้วทำให้กลายเป็นของเหลวโดยโรงงาน upgrader ที่เปลี่ยนยางมะตอยเป็นน้ำมัน โดยผสมกับสารทำให้เจือจาง หรือโดยใช้ความร้อน แล้วจึงเข้าผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันทั่ว ๆ ไป กระบวนการสกัดน้ำมันเช่นนี้ ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการสกัดน้ำมันจากหินน้ำมัน
  • การแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือกระบวนการเปลี่ยนแก๊สธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิงเหลว (Gas to liquids) เป็นวิธีการสังเคราะห์น้ำมันจากถ่านหินหรือแก๊สธรรมชาติ

ระดับน้ำมันที่มีขายโดยทั่วไป

การผลิตน้ำมันโลก ปี ค.ศ. 1980-2012กราฟแสดงประเทศผลิตน้ำมันอันดับใหญ่ที่สุด ปี ค.ศ. 1960-2006ความสามารถในการผลิตน้ำมันเพิ่ม ของประเทศกลุ่มโอเปก (ข้อมูลจาก EIA)

งานวิเคราะห์ของเราบอกเป็นนัยว่า ยังมีน้ำมันและเชื้อเพลิงเหลวอีกเป็นจำนวนมาก สำหรับอนาคตที่ยังพอมองเห็นได้แต่ว่า ทั้งอัตราการพัฒนาแหล่งผลิตใหม่ ๆ และราคาขายเพื่อให้คุ้มทุนการพัฒนา กำลังเปลี่ยนไป

– ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency)[43]

ตามรายงานตลาดน้ำมันของ IEA เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ปริมาณการผลิตน้ำมันของโลก ได้ทำสถิติใหม่ที่ 10,731 ล้านลิตรต่อวัน โดยเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 และจากปริมาณนี้ ที่มาจากประเทศกลุ่มโอเปกเป็นเพียงแค่ 3,658 ล้านลิตรต่อวัน คือ 34.1%[44]

การค้นพบใหม่ ๆ

ในปี ค.ศ. 2011 น้ำมันสำรองที่พิสูจน์ได้ของสหรัฐอเมริกามีเพิ่มถึง 3,800 ล้านบาร์เรลโดยไม่รวมน้ำมันที่ผลิตออกมาแล้ว 2,070 ล้านบาร์เรลและเพียงแค่ 8% จากทั้งหมด 5,840 ล้านบาร์เรล ที่ได้ลงบัญชีเป็นน้ำมันที่เพิ่มขึ้น คือ 480 ล้านบาร์เรล มาจากแหล่งน้ำมันใหม่ ๆ (EIA)

แหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่หาขุดเจาะได้ง่าย ๆ ในโลกนี้ โดยมากค้นพบเจอหมดแล้วตอนนี้เหลือแต่งานที่ต้องทำหนักขึ้น เพื่อที่จะหาและผลิตน้ำมัน จากสิ่งแวดล้อมและภูมิภาคการทำงานที่ท้าท้ายมากขึ้น

– โฆษกบริษัทน้ำมันเอ็กซอนโมบิล ธันวาคม ค.ศ. 2005[45]

มันค่อนข้างที่จะชัดเจนแล้วว่า มีโอกาสน้อยมากที่จะพบน้ำมันแบบถูก ๆ ใหม่ ๆ ที่มีปริมาณพอเป็นนัยสำคัญน้ำมันที่พบใหม่ ๆ หรือน้ำมันจากแหล่งไม่สามัญ จะมีราคาแพง

– ประธานบริษัทเก่าคนหนึ่งของบริษัทเชลล์ - เดือนตุลาคม ค.ศ. 2008[46]

ส่วนจุดค้นพบน้ำมันสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1965[47] ที่ 6,558,226 ล้านลิตร (55,000 ล้านบาร์เรล) ต่อปี[48] ตามสมาคมเพื่อการศึกษาจุดผลิตสูงสุดของน้ำมันและแก๊ส (ASPO) อัตราการค้นพบแหล่งน้ำมันได้ตกลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่นั้นมามีการค้นพบแหล่งน้ำมันน้อยกว่า 1,192,405 ล้านลิตร (10,000 ล้านบาร์เรล) ต่อปี ในแต่ละปีระหว่างปี ค.ศ. 2002-2007[49] แต่ตามบทความของรอยเตอร์ส อัตราการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ ๆ ค่อนข้างที่จะสม่ำเสมอที่ 15,000-20,000 ล้านบาร์เรลต่อปี[50]

นักวิจัยคนหนึ่งที่ EIA ชี้ว่า หลังจากคลื่นลูกแรกของการค้นพบแหล่งใหม่ ๆ ในเขต ๆ หนึ่ง น้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองที่มีเพิ่มขึ้น จะไม่ใช่มาจากแหล่งใหม่อื่นอีกที่พบ แต่จะมาจากการค้นพบน้ำมันและแก๊สเพิ่มขึ้นจากแหล่งเดิม[51]

แหล่งสำรอง

แหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์ได้ ปี ค.ศ. 2009

น้ำมันสำรองแบบสามัญ (ที่ไม่ใช่มาจากแหล่งนอกสามัญ) ทั้งหมด แบ่งเป็นน้ำมันดิบที่มีความมั่นใจทางเทคนิค 90-95% ว่าสามารถขุดได้ (โดยการเจาะบ่อโดยใช้วิธีการปฐมภูมิ วิธีการทุติยภูมิ วิธีการปรับปรุง [improved] วิธีการเพิ่มผล [enhanced] หรือวิธีการตติยภูมิ), น้ำมันที่มีความน่าจะเป็น 50% ว่าจะขุดได้ในอนาคต,และน้ำมันที่มีโอกาส 5-10% ว่าจะขุดได้ในอนาคต ซึ่งมีการหมายเรียกว่า 1P/Proven (90-95%), 2P/Probable (50%), และ 3P/Possible (5-10%)[52] และยังไม่รวมเชื้อเพลิงเหลวที่สกัดมาจากหิน ทราย หรือแก๊ส(ดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อ แหล่งน้ำมันนอกสามัญ)[53]

การคำนวณแหล่งสำรองแบบ 2P พยากรณ์ว่ามีน้ำมันระหว่าง 1,150,000-1,350,000 ล้านบาร์เรล แต่นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า เพราะให้ข้อมูลผิด เพราะไม่ให้ข้อมูล และเพราะการคำนวณที่บิดเบือน แหล่งสำรองแบบ 2P น่าจะอยู่ใกล้ ๆ 850,000-900,000 ล้านบาร์เรลมากกว่า[7][11] Energy Watch Group (กลุ่มจับตามองเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน) กล่าวว่า แหล่งสำรองที่พบ ถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1980 เป็นจุดที่การผลิตน้ำมัน มากกว่าการค้นพบแหล่งน้ำมันเป็นครั้งแรก และน้ำมันสำรองที่เพิ่มขึ้นหลังจากนั้นเป็นเรื่องไม่ชัดเจน และสรุปในปี ค.ศ. 2007 ว่า"การผลิตน้ำมันของโลกน่าจะผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว แต่เรายังไม่สามารถมั่นใจได้เต็มร้อย"[7]

ในปี ค.ศ. 2005 บทความในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถขุดเจาะน้ำมันประมาณ 40% จากบ่อโดยมากและอ้างรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย และผู้ชำนาญในอุตสาหกรรมน้ำมันว่า เทคโนโลยีในอนาคตจะสามารถขุดเจาะน้ำมันได้มากกว่านั้น[54]

ในประเทศผู้ผลิตสำคัญหลายประเทศ น้ำมันสำรองที่อ้างว่ามี ไม่ได้รับการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกแต่ว่า น้ำมันที่สามารถขุดเจาะได้ง่าย ส่วนมากได้ค้นพบแล้ว[45] ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ได้บันดาลใจ ให้หาน้ำมันในเขตที่การขุดเจาะจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเช่นในบ่อที่ลึกมาก บ่อที่มีอุณหภูมิสูง และเขตภูมิภาคที่มีสิ่งแวดล้อมที่อ่อนไหวหรือในที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อขุดเจาะอัตราการค้นพบที่ลดลงต่อการสำรวจหาแต่ละครั้ง ทำให้เครื่องเจาะพื้นขาดแคลน เพิ่มราคาของเหล็กกล้า และเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยองค์รวม เพราะการสำรวจซับซ้อนยิ่งขึ้น[55][56]

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับแหล่งน้ำมันสำรอง

น้ำมันสำรองของโลกเป็นเรื่องสับสนและจริง ๆ แล้ว เกินความจริง ที่เรียกว่าน้ำมันสำรองในที่หลายที่ จริง ๆ แล้ว เป็นเพียงทรัพยากรที่มี (แต่ว่า) เป็นทรัพยากรที่กำหนดปริมาณไม่ได้ เข้าถึงไม่ได้ ไม่สามารถใช้เพื่อการผลิต

– อดีตรองประธานของบริษัทน้ำมัน Aramco ในปาฐกถากล่าวที่งานประชุมน้ำมันและเงินตราในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007[8]

อดีตรองประธานของบริษัทน้ำมัน Aramco ประเมินว่า น้ำมันสำรองปริมาณ 1,200,000 ล้านบาร์เรลที่บอกว่าพิสูจน์ได้ ประมาณ 300,000 ล้านบาร์เรล (25%) ควรจะจัดใหม่ว่าเป็นทรัพยากรที่เป็นเพียงการคาดคะเน[8]

กราฟแสดงน้ำมันสำรองของประเทศกลุ่มโอเปก ที่เพิ่มปริมาณโดยที่ไม่พบแหล่งใหม่ ๆ และก็ไม่หมดสิ้นไปแม้ว่าจะผลิตต่อ ๆ กันทุกปีอีกด้วย

ปัญหายากอย่างหนึ่งในการพยากรณ์เวลา ที่การผลิตน้ำมันจะถึงจุดสูงสุดก็คือ ความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับน้ำมันสำรองที่อ้างว่า "พิสูจน์ได้" (proven)ตัวบ่งชี้ที่น่ากังวลใจ เกี่ยวกับการสูญสิ้นน้ำมันสำรองส่วนที่พิสูจน์ได้ ได้เริ่มปรากฏในปีที่ผ่าน ๆ มา[57][58] ตัวอย่างก็คือ เกิดเรื่องอื้อฉาวในปี ค.ศ. 2004 เกี่ยวกับการหายไปเฉย ๆ ของน้ำมันสำรองถึง 20% ที่อ้างโดยบริษัทเชลล์[59]

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว บริษัทน้ำมันด้วย ประเทศผู้ผลิตด้วย และประเทศผู้บริโภคด้วย จะเป็นผู้แสดงว่า มีน้ำมันสำรองอยู่เท่าไรแต่ทั้งสามพวก ล้วนมีเหตุผลที่จะแสดงปริมาณที่เกินความจริง คือ บริษัทน้ำมันอาจจะต้องการเพิ่มมูลค่าบริษัทของตนประเทศผู้ผลิตอาจจะได้รับการยกย่องที่สูงกว่าในความสัมพันธ์กับประเทศอื่นและรัฐบาลของประเทศบริโภค อาจจะต้องการที่จะแสดงความมั่นคงและความเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กับประชาชนของตน

มีข้อมูลไม่ลงรอยกันหลัก ๆ หลายอย่างในตัวเลขที่ประเทศกลุ่มโอเปกรายงานเองนอกจากความเป็นไปได้ที่จะกล่าวเกินความจริง (เมื่อไม่มีการค้นพบใหม่ ๆ) มีประเทศกว่า 70 ประเทศ ที่ไม่ลดปริมาณน้ำมันสำรองที่กล่าวเพราะเหตุผลทางการเมือง แม้ว่าจะขุดเจาะน้ำมันอยู่ทุกปีพวกนักวิเคราะห์เสนอว่า สมาชิกกลุ่มโอเปกมีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่จะกล่าวเกินความจริงเพราะว่าระบบโควตาของโอเปก อนุญาตประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากกว่า ให้ผลิตน้ำมันมากกว่า[54]

ยกตัวอย่างเช่น นิตยสาร Petroleum Intelligence Weekly (ข่าวกรองปิโตรเลียมรายสัปดาห์) เดือนมกราคม ค.ศ. 2006 รายงานว่า ประเทศคูเวตมีน้ำมันสำรองเพียงแค่ 48,000 ล้านบาร์เรลโดยมีเพียงแค่ 24,000 ล้านบาร์เรลเท่านั้นที่พิสูจน์ได้เป็นรายงานที่มาจากเอกสารลับที่ได้รั่วไหลเมื่อปี ค.ศ. 2001 ซึ่งแม้แต่รัฐบาลคูเวตเอง ก็ไม่ได้ออกมาปฏิเสธอย่างเป็นทางการ[60] เป็นตัวเลขที่รวมน้ำมันที่ผลิตออกมาแล้วตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งเป็นประมาณ 5,000 ล้านบาร์เรลต่อปี[27] แต่ไม่รวมตัวเลขที่แก้ไขเพิ่ม หรือการค้นพบใหม่ ๆ หลังจากนั้นแต่รัฐบาลคูเวตกลับแถลงทุก ๆ ปีว่า มีน้ำมันสำรองอีกประมาณ 100,000 ล้านบาร์เรล[60]นอกจากนั้นแล้ว น้ำมันที่ถูกเผาทิ้งไปปริมาณ 1,500 ล้านบาร์เรลในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก[61] ก็ยังไม่ลบออกจากตัวเลขที่เป็นทางการอีกด้วย

มีนักข่าวสืบสวนบางท่านอ้างว่า บริษัทน้ำมันมีแรงจูงใจ ที่จะทำให้น้ำมันมีเหมือนน้อยกว่าความจริง เพื่อที่จะโก่งราคาน้ำมัน[62] แต่มุมมองนี้ก็มีนักข่าวทางนิเวศวิทยาที่ไม่เห็นด้วย[63] และก็มีนักวิเคราะห์ท่านอื่น ๆ อีกที่อ้างว่า ประเทศผู้ผลิตจะบอกค่าน้ำมันของตนต่ำเกินไปเพื่อจะโก่งราคา[64]

แต่ว่าในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2009 เจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้หนึ่งที่ IEA อ้างว่า สหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ IEA เปลี่ยนอัตราการสูญสิ้นของน้ำมัน และข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันสำรอง เพื่อจะกดราคา[65] เช่นในปี ค.ศ. 2005 IEA พยากรณ์ว่า อัตราการผลิตในปี ค.ศ. 2030 จะถึง 120 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ต่อจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดจำนวนลงจนเหลือ 105 ล้านบาร์เรลต่อวันแต่ว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้นั้นกล่าวว่า คนในวงในของอุตสาหกรรมมีมติร่วมกันว่า แม้ปริมาณ 90 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็ไม่สามารถที่จะเป็นได้แล้วแม้ว่า จะมีคนนอกองค์กรที่ได้เคยตั้งความสงสัยกับตัวเลขของ IEA ในอดีต แต่นี่เป็นครั้งแรก ที่แม้แต่คนในองค์กร ก็ตั้งความสงสัยกับตัวเลขเหล่านั้นเช่นกัน[65] งานวิเคราะห์การพยากรณ์ของ IEA ในปี ค.ศ. 2008 ตั้งความสงสัยเกี่ยวกับข้อสมมุติต่าง ๆ ของ IEA แล้วอ้างว่า การผลิตในปี ค.ศ. 2030 น่าจะใกล้ความจริงมากกว่าที่ 75 ล้านบาร์เรลต่อวัน(รวมน้ำมันดิบที่ 55 ล้านบาร์เรลต่อวัน และน้ำมันจากแหล่งนอกสามัญและจากแก๊สธรรมชาติที่ 20 ล้านบาร์เรลต่อวัน)[9]

ส่วนค่าประเมินน้ำมันที่จะขุดออกมาได้โดยที่สุด (EUR) ขององค์กรสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) ที่ค่า 2,300,000 ล้านบาร์เรล ถูกวิจารณ์ว่า มีการสมมุติอย่างไม่ตรงกับความจริงว่า แนวโน้มการค้นพบแหล่งใหม่ ๆ ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะเป็นเหมือนกับ 40 ปีที่ผ่าน ๆ มาคือ ความมั่นใจที่ 95% ของค่าประเมิน EUR มีข้อสมมุติว่า ระดับการค้นพบแหล่งใหม่ ๆ จะเสถียร ทั้ง ๆ ที่การค้นพบได้ลดระดับมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960และก็ยังลดระดับลงอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี ให้หลังจากที่องค์กร USGS ใช้ข้อสมมุตินั้นนอกจากนั้นแล้ว รายงานในปี 2000 ยังถูกวิจารณ์อีกด้วยว่า ใช้วิธีการที่ผิดพลาดอย่างอื่น ๆ และมีการสมมุติอัตราการผลิต ที่ไม่สอดคล้องกับระดับน้ำมันสำรองที่คาดหมาย[7]

แหล่งไม่สามัญ

ดูบทความหลักที่: หินน้ำมัน
เหมืองและโรงงานผลิตน้ำมันสังเคราะห์ ในรัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา

ถ้าแหล่งน้ำมันสามัญเริ่มเข้าถึงได้ยาก จะสามารถทดแทนได้โดยการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากทรายน้ำมัน จากน้ำมันที่ข้นมาก จากแก๊สธรรมชาติ จากถ่านหิน จากเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพ และจากหินน้ำมัน[66]รายงาน International Energy Outlook (ท่าทีพลังงานระหว่างประเทศ) ของ IEA เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ได้แทนคำว่า น้ำมัน ด้วยคำว่า เชื้อเพลิงเหลว ในกราฟที่แสดงการใช้พลังงานของโลก[67][68]ในปี ค.ศ. 2009 เชื้อเพลิงชีวภาพรวมอยู่ในส่วนของเชื้อเพลิงเหลว ไม่ได้อยู่ในส่วนของพลังงานทดแทน[69]

แหล่งพลังงานที่ไม่สามัญ เช่น น้ำมันดิบที่ข้นมาก ทรายน้ำมัน และหินน้ำมัน จะไม่นับรวมอยู่ในน้ำมันสำรอง[ต้องการอ้างอิง] แต่เพราะว่า กฎที่เปลี่ยนไปขององค์กรตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (U.S. Securities and Exchange Commission)[70] บริษัทน้ำมันในปัจจุบันสามารถลงบัญชีทรัพยากรเหล่านั้นว่า เป็นแหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์ได้ หลังจากที่สร้างเหมืองผิวดิน หรือโรงทำความร้อน ที่ใช้เพื่อขุดเจาะแหล่งพลังงานเหล่านี้นอกจากต้องใช้แรงงาน พลังงาน และทรัพยากรมากในการผลิต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่ออัตราการผลิตมากถึง 3 เท่า "จากบ่อไปถึงถังน้ำมันรถ" หรือ 10-45% มากกว่า "จากบ่อจนถึงรถวิ่ง" ซึ่งรวมคาร์บอนที่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงนั้นด้วย[71][72]

แม้ว่าจะใช้พลังงานและทรัพยากรมาก และมีผลต่อสิ่งแวดล้อมสูง แต่ก็มีแหล่งน้ำมันไม่สามัญ ที่กำลังรับการพิจารณาเพื่อขุดเจาะเพื่อการผลิตใหญ่ รวมทั้ง น้ำมันที่ข้นเป็นพิเศษในประเทศเวเนซุเอลา[73] น้ำมันทรายในประเทศแคนาดา[74] และหินน้ำมันของแม่น้ำกรีนในรัฐโคโลราโด ยูทาห์ ไวโอมิง ในสหรัฐอเมริกา[75][76] บริษัทพลังงานเช่น Syncrude และ Suncor ได้สกัดน้ำมันจากยางมะตอยมาเป็นทศวรรษ ๆ แล้ว แต่ว่า การผลิตเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่มีพัฒนาการของเทคโนโลยี Steam Assisted Gravity Drainage (ที่ใช้ไอน้ำฉีดละลายน้ำมันในบ่อหนึ่ง ให้ไหลลงไปในอีกบ่อหนึ่ง) และเทคโนโลยีการขุดเจาะอื่น ๆ เพิ่มขึ้น[77][78]นักธรณีวิทยาของ USGS คนหนึ่งได้ประเมินว่า "รวม ๆ กันแล้ว ทรัพยากรเหล่านี้ในซีกโลกตะวันตก (โลกด้านตะวันออกของเส้นแอนติเมริเดียน จนถึงเส้นเมริเดียนแรก) ประมาณเท่ากับน้ำมันดิบสำรอง ที่ได้ค้นพบแล้วของตะวันออกกลาง"[79] เจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยกับทรัพยากรเหล่านี้เชื่อว่า น้ำมันจากแหล่งไม่สามัญของโลก มีปริมาณหลายเท่าของแหล่งสามัญ และจะเป็นทรัพยากรที่ให้ผลกำไรมหาศาลกับบริษัทน้ำมัน สืบเนื่องจากราคาที่สูงขึ้นในศตวรรษนี้[80] ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2009 USGS ได้แก้ไขค่าประเมินเฉลี่ย ของน้ำมันที่สามารถสกัดได้จากทรายน้ำมันจากประเทศเวเนซุเอลา ไปเป็น 513,000 ล้านบาร์เรล โดยมีโอกาส 90% ที่จะอยู่ในระหว่าง 380,000-652,000 ล้านบาร์เรล จึงเรียกเขตนี้ได้ว่า "เป็นกองสั่งสมน้ำมันที่สามารถนำออกมาใช้ได้ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก"[81]

แหล่งน้ำมันนอกสามัญ มีปริมาณ 70% ของแหล่งน้ำมันที่มีทั้งหมด[82]

แม้ว่าจะมีน้ำมันมหาศาลอยู่ในแหล่งที่ไม่สามัญ แมตทิว ซิมมอนส์ อ้างว่า ข้อจำกัดต่าง ๆ ในการผลิต จะทำให้ไม่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดิบจากแหล่งสามัญคือกล่าวโดยเฉพาะไว้ว่า "โปรเจ็กต์เหล่านี้ล้วนแต่ใช้พลังงานมาก ที่ไม่สามารถจะผลิตในปริมาณสูงได้" เพื่อจะทดแทนการสูญเสียอย่างสำคัญจากแหล่งอื่น ๆ[83] ส่วนงานศึกษาอีกงานหนึ่งอ้างว่า แม้แต่ในข้อสมมุติที่มองในแง่ดีสุด ๆ "ทรายน้ำมันของแคนาดา จะไม่สามารถป้องกันจุดผลิตน้ำมันสูงสุดได้"แม้ว่า การผลิตอาจจะถึงระดับ 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปี ค.ศ. 2030 ถ้าเริ่มโปรแกรมพัฒนาอย่างเร่งด่วน[84]

นอกจากนั้นแล้ว น้ำมันที่สกัดจากทรัพยากรเหล่านี้ มักจะมีสิ่งเจือปน เช่น กำมะถัน และโลหะหนัก ที่ต้องใช้พลังงานมากที่จะเอาออก และอาจจะเหลือเป็นบ่อหางแร่ (tailings) คือเป็นกากตะกอนไฮโดรคาร์บอนในบางกรณี[71][85] ซึ่งก็เป็นจริงเช่นกันด้วย สำหรับแหล่งน้ำมันสำรองที่ยังไม่ได้ขุดเจาะแหล่งต่าง ๆ ที่มีน้ำมันที่หนัก ข้น และเจือปนไปด้วยกำมะถันและโลหะ จนกระทั่งว่าใช้ไม่ได้[86] แต่ว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ทำให้แหล่งเหล่านี้ดูน่าสนใจเพิ่มขึ้น[54] งานศึกษาโดยบริษัทปรึกษาน้ำมัน Wood Mackenzie บอกเป็นนัยว่า ภายใน 15 ปี น้ำมันส่วนเพิ่มทั้งหมดในโลก จะมาจากแหล่งไม่สามัญ[87]

แหล่งสังเคราะห์

ในปัจจุบัน มีบริษัทสองบริษัทคือ SASOL และบริษัทเชล์ล ที่มีเทคโนโลยีน้ำมันสังเคราะห์ ที่สามารถผลิตเพียงพอเพื่อการค้าได้ธุรกิจหลักของ SASOL ก็คือการเปลี่ยนถ่านหินและแก๊สธรรมชาติเป็นน้ำมัน ซึ่งมีรายได้ 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2009ส่วนบริษัทเชล์ลได้ใช้กระบวนการเหล่านี้ เพื่อแปรรูปแก๊สที่ใช้ไม่ได้ (ปกติจะเผาทิ้งที่บ่อหรือที่โรงกลั่นน้ำมัน) ให้กลายเป็นน้ำมันสังเคราะห์บทความปี ค.ศ. 2003 ในนิตยสาร Discover อ้างว่า เทคนิค thermal depolymerization สามารถใช้ผลิตน้ำมันได้โดยไม่จำกัด จากขยะ น้ำเสีย และของเสียทางเกษตรกรรมโดยมีค่าใช้จ่ายที่ 15 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล[88] แต่ว่า บทความในปี ค.ศ. 2006 ต่อมา ได้ปรับค่าใช้จ่ายไปที่ $80 ต่อบาร์เรล เพราะว่า วัตถุดิบที่ในตอนแรกคิดว่า เป็นของเสียอันตราย กลับเป็นของมีมูลค่า[89]

ส่วนข่าวที่รายงานในปี ค.ศ. 2007 ของ Los Alamos National Laboratory (แล็บประจำชาติของสหรัฐอเมริกา) เสนอว่า ไฮโดรเจน (ซึ่งอาจจะผลิตได้โดยใช้ความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน) ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ (ที่แยกออกและเก็บไว้โดยระบบต่าง ๆ)สามารถใช้ผลิตเมทานอล (CH3OH) แล้วแปรรูปเป็นน้ำมันแต่เพื่อที่จะคุ้มทุน ราคาน้ำมันที่ปั๊มน้ำมันในสหรัฐอเมริกา จะต้องมีราคา $4.60 ต่อแกลลอนก่อน (ราคาเฉลี่ยที่ $2.66 ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2558[90])แต่ว่า การลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้นไม่แน่นอน โดยมากเพราะว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อแยกและเก็บคาร์บอนไดออกไซด์นั้น ยังไม่แน่นอน[91]ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแยกเก็บคาร์บอนและการแยกน้ำ ทั้งสองล้วนแต่ต้องใช้พลังงาน

การผลิต

ดูบทความหลักที่: ปิโตรเลียม
ปริมาณผลิตน้ำมันดิบของประเทศกลุ่มโอเปก (พันบาร์เรลต่อวัน) จาก Middle East Economic Survey

จุดที่การผลิตน้ำมันในโลกสูงสุด เป็นนิยามของคำว่า จุดผลิตน้ำมันสูงสุดผู้ที่เชื่อเรื่องจุดผลิตน้ำมันสูงสุดเชื่อว่า สมรรถภาพในการผลิตจะเป็นจุดจำกัดของอุปทานและดังนั้นเมื่อการผลิตลดลง ก็จะเป็นจุดติดขัดแก่อุปสงค์และอุปทานแต่ว่า คำพยากรณ์ที่แสดงว่าจุดนี้ใกล้จะเกิดขึ้น ก็ยังไม่เคยถูกต้อง และก็ยังไม่รู้ว่า การผลิตน้ำมันที่จะลดลงในอนาคต จะมีสาเหตุจากอุปสงค์หรืออุปทาน

ปริมาณน้ำมันที่ค้นพบน้ำมันใหม่ ๆ ทั่วโลก มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนที่ผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980[7] ตามแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 2006-2007 การผลิตทั่วโลกอยู่ใกล้จุดสูงสุดหรือผ่านมาแล้ว[6][7][8][10] เพราะว่าประชากรของโลกเติบโตเร็วกว่าการผลิตน้ำมันดังนั้น ปริมาณผลิตน้ำมันต่อประชากรจึงได้ถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1979[34]

การลงทุนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแหล่งน้ำมันที่เข้าถึงได้ยาก เป็นตัวชี้ว่า บริษัทน้ำมันเชื่อว่า น้ำมันที่เข้าถึงได้ง่าย ๆ ได้หมดลงแล้ว[45] ยิ่งกว่านั้น แม้ว่าจะเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะกระตุ้นการผลิตน้ำมัน แต่ว่า บุคคลในวงในเดี๋ยวนี้เชื่อว่า แม้ว่าจะมีราคาที่สูงขึ้น การผลิตน้ำมันก็ยังมีโอกาสน้อย ที่จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างสำคัญ มากกว่าในระดับที่ปี ค.ศ. 2010 (ที่ 85.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน[16])เหตุผลต่าง ๆ ที่อ้างก็คือ มีข้อจำกัดทางธรณีวิทยา และปัจจัยจำกัดเหนือดินอื่น ๆ เช่น ความสามารถและความมุ่งมั่น ที่จะขุดเจาะเอาน้ำมันและนี่จะทำให้เกิดผลเป็นความคงที่ในระดับการผลิตน้ำมัน เป็นชั่วระยะหนึ่งก่อนที่จะลดระดับลง[92]

ในปี ค.ศ. 2008 การวิเคราะห์ของวารสาร Journal of Energy Security (วารสารความมั่นคงทางพลังงาน) เกี่ยวกับพลังงานที่เป็นผลคืนมา ในการขุดเจาะหาน้ำมันในสหรัฐอเมริกา สรุปว่า มีโอกาสน้อยมากที่จะเพิ่มกำลังการผลิตทั้งแก๊สธรรมชาติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันคือเมื่อดูผลการผลิตที่ได้ เทียบกับความพยายามในการขุดเจาะ งานวิเคราะห์พบว่า ไม่มีการเพิ่มผลผลิตที่เป็นผลจากการเพิ่มความพยายามนี่เป็นเพราะความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างผลได้ที่ลดระดับลงเรื่อย ๆ (diminishing return) เทียบกับการเพิ่มความพยายามคือ เมื่อความพยายามเพิ่มขึ้น พลังงานที่ได้จากแท่นขุดเจาะน้ำมันแต่ละแท่น จะลดลงตามกฎยกกำลัง ซึ่งลดลงรวดเร็วมากงานศึกษาสรุปว่า แม้การเพิ่มความพยายามในการขุดเจาะอย่างยิ่งยวด ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเพิ่มผลผลิตของน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในเขตผลิตน้ำมันที่เจริญเต็มที่แล้ว เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา[93]แต่ปรากฏว่า ตั้งแต่งานวิเคราะห์นี้ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2008 การผลิตน้ำมันในสหรัฐได้เพิ่มขึ้น 30% และการผลิตแก๊สธรรมชาติเพิ่มขึ้น 19% เทียบกับปี ค.ศ. 2012[94]

แนวโน้มการผลิตทั่วโลก

การผลิตน้ำมันดิบจากบ่อ ไม่รวมที่ได้จากแหล่งไม่สามัญ ระหว่างปี ค.ศ. 1930-2012

ตามรายงานในปี ค.ศ. 2007 ของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) น้ำมันที่มีขายทั้งหมดในโลก (ไม่รวมเชื้อเพลิงชีวภาพ น้ำมันจากแหล่งไม่สามัญ และการใช้น้ำมันจากที่เก็บน้ำมันสำรอง) เฉลี่ยแล้วมีประมาณ 85.24 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเพิ่มขึ้น 760,000 บาร์เรลต่อวัน (0.9%) จากปี ค.ศ. 2005[95] ส่วนการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีต่อปีระหว่างปี ค.ศ. 1987-2005 ก็คือ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (1.7%)[95] ในปี ค.ศ. 2008 IEA เพิ่มการลดระดับการผลิตน้ำมันจากแหล่งสามัญ หลังจากถึงจุดสูงสุดแล้ว จากปีละ 3.7% ไปเป็น 6.7% เพราะมีการใช้วิธีการลงบัญชีที่ดีกว่า และเพราะการใช้ข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาแหล่งน้ำมันแต่ละแหล่ง ๆ ทั่วโลก ที่เดิมเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น[96]

การลดระดับการผลิต
การผลิตน้ำมันในรัฐเท็กซัสได้ลดลง 58% โดยปี ค.ศ. 2012 จากจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1972

ในแหล่งผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก 21 แห่ง 9 แห่งได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และการผลิตอยู่ในช่วงที่กำลังตกลง[97] ในปี ค.ศ. 2006 รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสของบริษัทน้ำมัน Saudi Aramco (ของซาอุดีอาระเบีย) ท่านหนึ่งประเมินว่า แหล่งน้ำมันของบริษัททั้งหมดกำลังลดลงที่อัตรา 5%-12% ต่อปี[98] คำกล่าวนี้ได้ใช้เป็นข้ออ้างว่า แหล่งน้ำมัน Ghawar ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งผลิตน้ำมันปริมาณถึง 50% ของประเทศซาอุดีอาระเบียใน 50 ปีที่ผ่านมา จะเริ่มลดการผลิตลงอีกไม่นาน[54] ส่วนแหล่งน้ำมันใหญ่ที่สุดที่สองของโลกคือ Burgan Field ในประเทศคูเวต เริ่มลดการผลิตลงเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 แล้ว[99]

ตามงานศึกษาแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด 811 แห่งในปี ค.ศ. 2008 ของบริษัทให้คำปรึกษา Cambridge Energy Research Associates (CERA) อัตราการลดการผลิตโดยเฉลี่ยของแหล่งน้ำมันอยู่ที่ 4.5% ต่อปีแต่ IEA กล่าวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ว่า งานวิเคราะห์แหล่งน้ำมัน 800 แห่งที่ผ่านจุดสูงสุดในการผลิตมาแล้ว มีอัตราลดการผลิตที่ 6.7% ต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.6% ต่อปีในปี ค.ศ. 2030[100] แต่ก็ยังมีโปรเจ็กต์ที่คาดว่า จะเริ่มการผลิตภายในทศวรรษหน้าที่หวังว่า จะช่วยทดแทนการลดการผลิตที่กล่าวมานี้เช่น รายงานของ CERA พยากรณ์การผลิตน้ำมันในปี ค.ศ. 2017 ที่ปริมาณกว่า 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน[101]

เจ้าหน้าที่ของ ASPO คือ Kjell Aleklett เห็นด้วยกับอัตราลดการผลิตที่รายงานโดย CERA แต่คิดว่า อัตราการผลิตน้ำมันจากแหล่งใหม่ ๆ ของ CERA คือ 100% ของโปรเจ็กต์ใหม่ทั้งหมดที่กำลังดำเนินการ โดยมี 30% มีความล่าช้า บวกกับมีแหล่งใหม่ ๆ แต่ขนาดเล็ก และการขยายแหล่งที่มีอยู่ ว่า มองในแง่ดีมากเกินไป[102]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 ประเทศเม็กซิโกประกาศว่า ปริมาณที่ผลิตจากแหล่งน้ำมันยักษ์ Cantarell Field เริ่มจะลดลง[103] ในปี ค.ศ. 2000 บริษัทน้ำมันของเม็กซิโก PEMEX ได้สร้างโรงงานผลิตไนโตรเจนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อใช้ฉีดเข้าไปในแหล่งน้ำมัน เป็นความพยายามที่จะรักษาระดับการผลิตไว้[104] แต่ว่าโดยปี ค.ศ. 2006 ผลผลิตก็เริ่มลดลงที่อัตราร้อยละ 13 ต่อปี[105]

การผลิตน้ำมันดิบในรัฐอะแลสกาได้ลดลงถึง 70% ตั้งแต่ถึงจุดยอดในปี ค.ศ. 1988

ในปี ค.ศ. 2000 ประเทศกลุ่มโอเปกได้ปฏิญาณที่จะรักษาระดับการผลิต เพื่อจะรักษาราคาน้ำมันให้อยู่ระหว่าง $22-28 ต่อบาร์เรล แต่ว่านี่ปรากฏว่าเป็นไปไม่ได้อย่างไรก็ดี ในรายงานประจำปี ค.ศ. 2007 โอเปกพยากรณ์ว่า องค์กรจะสามารถรักษาระดับการผลิต เพื่อสร้างความเสถียรให้ราคาน้ำมันระหว่าง $50-60 ต่อบาร์เรล จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2030[106] วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เมื่อน้ำมันมีราคาสูงกว่า $98 ต่อบาร์เรล สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูด แห่งประเทศซาอุดีอาระเบีย ผู้ได้ทรงสนับสนุนให้รักษาความเสถียรของราคาน้ำมันมาเนิ่นนานแล้ว ได้ทรงประกาศว่า ซาอุดีอาระเบียจะไม่เพิ่มระดับการผลิตอีกเพื่อรักษาราคาน้ำมัน[107] แม้ซาอุดีอาระเบียจะเป็นประเทศผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาความเสถียรของราคาน้ำมันโดยการผลิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงปรากฏว่า ไม่มีประเทศไหนหรือองค์กรใด ที่มีสมรรถภาพการผลิตที่ยังไม่ได้ใช้ ซึ่งสามารถลดราคาน้ำมันซึ่งอาจจะหมายความ บรรดาผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดที่ระดับการผลิตยังไม่ได้ผ่านจุดยอด กำลังผลิตเต็มพิกัด หรือใกล้จะเต็มพิกัดอยู่แล้ว[54]

มีผู้ที่ชี้ว่า บ่อน้ำมันน้ำลึก Jack 2 ซึ่งเป็นบ่อทดสอบในอ่าวเม็กซิโก (ประกาศโดยบริษัทในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2006)[108] เป็นหลักฐานว่า จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก ยังไม่ใช่เรื่องที่จวนตัวตามการประเมินแหล่งหนึ่ง แหล่งนี้สามารถให้น้ำมันเป็นส่วนผลิต 11% ของสหรัฐอเมริกาภายใน 7 ปี[109] แต่ว่า แม้จะมีการค้นพบใหม่ ๆ ตามที่คาดหวัง หลังจากที่การผลิตน้ำมันถึงจุดสูงสุดแล้ว[110] แหล่งใหม่ ๆ เหล่านี้ จะยากขึ้นที่ค้นพบและขุดเจาะยกตัวอย่างเช่น แหล่งน้ำมัน Jack 2 อยู่ใต้พื้นทะเล 6.1 กม. ซึ่งอยู่ใต้ผิวทะเลอีก 2.1 กม. ดังในจึงต้องใช้ท่อส่งยาว 8.5 กม.นอกจากนั้นแล้ว ระดับน้ำมันประเมินแบบสูงสุดที่ 15,000 ล้านบาร์เรล ก็ใช้ได้แค่ไม่ถึงสองปี ในอัตราการบริโภคของสหรัฐในปัจจุบัน[111] การผลิตเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 และคาดว่าจะเพิ่มระดับขึ้นเป็น 94,000 บาร์เรลต่อวันสำหรับน้ำมันดิบ และ 595 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับแก๊สธรรมชาติ[112]

การควบคุมการผลิต

องค์กรต่าง ๆ เช่นรัฐบาลหรือกลุ่มธุรกิจผูกขาด สามารถลดระดับอุปทานของน้ำมันในตลาดโลก โดยการยึดเป็นของชาติ การลดระดับการผลิต การจำกัดสัมปทาน การเพิ่มภาษี เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว การคว่ำบาตรของสหประชาชาติ คอร์รัปชั่น และสงคราม อาจจะลดระดับน้ำมันได้อีกด้วย

การยึดเป็นของชาติ

ปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผลต่อระดับอุปทานของน้ำมันก็คือ การยึดเป็นของชาติโดยประเทศที่ผลิตน้ำมันแล้วไม่ส่งออกบรรณาธิการของบริษัทสารสนเทศพลังงานท่านหนึ่งได้ชี้ว่า ค่าประเมินน้ำมันจริง ๆ ก็หลากหลายอยู่แล้ว แต่ว่าในปัจจุบัน การเมืองได้กลายมาเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับอุปทานของน้ำมัน คือ"ประเทศบางประเทศ เริ่มกลายเป็นแหล่งน้ำมันที่ไม่อยู่ในวิสัย (เช่น) บริษัทน้ำมันที่ดำเนินการอยู่ในประเทศเวเนซุเอลา เริ่มมีสถานการณ์ที่ลำบากขึ้น เพราะเริ่มมีการยึดทรัพยากรนั้นเป็นของชาติ ประเทศเหล่านี้ปัจจุบันไม่เต็มใจ ที่จะให้คนอื่นใช้น้ำมันของตน"[113]

ตามบริษัทให้คำปรึกษา PFC Energy มีแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในโลกประมาณ 7% เท่านั้น ที่อยู่ในประเทศที่ให้โอกาสกับบริษัทน้ำมัน เช่นเอ็กซอนโมบิล อย่างเต็มที่ส่วนอีก 65% อยู่ในกำมือของบริษัทที่มีรัฐเป็นเจ้าของเช่น Saudi Aramco และส่วนที่เหลืออยู่ในประเทศ เช่น รัสเซียและเวเนซุเอลา ที่บริษัทยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือเข้าถึงได้ยากงานศึกษาของ PFC แสดงว่า ปัจจัยทางการเมืองเป็นตัวจำกัดการเพิ่มผลผลิตในประเทศเม็กซิโก เวเนซุเอลา อิหร่าน อิรัก คูเวต และรัสเซียนอกจากนั้นแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังจำกัดการเพิ่มผลผลิต ที่ทำเอง ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ๆ[114] เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงประเทศที่ให้ขุดเจาะน้ำมัน บริษัทเอ็กซอนโมบิล จึงไม่ลงทุนหาน้ำมันเท่ากับที่ทำในช่วงปี ค.ศ. 1981[115]

กลุ่มธุรกิจผูกขาด

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: โอเปก

กลุ่มประเทศโอเปก เป็นการร่วมมือกันของประเทศผลิตน้ำมัน 12 ประเทศ รวมทั้งประเทศแอลจีเรีย แองโกลา เอกวาดอร์ อิหร่าน อิรัก คูเวต ลิเบีย ไนจีเรีย กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซุเอลา มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมอุปทานของน้ำมันอิทธิพลของโอเปกได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อประเทศต่าง ๆ ยึดน้ำมันเป็นทรัพยากรของชาติ ลดทอนอิทธิพลของบริษัทน้ำมัน 7 บริษัทที่เคยควบคุมอุปทานของน้ำมันมากถึง 85% ของโลก แล้วตั้งบริษัทประจำชาติของตนเองโอเปกพยายามกดดันราคา โดยจำกัดการผลิตโดยกำหนดโควตาการผลิต ให้แก่ประเทศสมาชิกดังนั้น สมาชิกทั้ง 12 ประเทศได้ตกลงที่จะรักษาราคาน้ำมันให้สูง โดยผลิตน้อยกว่าที่ปกติจะผลิตแต่ว่า เพราะไม่มีวิธีตรวจสอบว่า สมาชิกผลิตตามโควตาหรือไม่ ดังนั้น แต่ละประเทศล้วนแต่มีแรงจูงใจ ที่จะโกงโควตาของตน[116]

สหรัฐขายอาวุธและช่วยปกป้องระบอบการปกครองของประเทศซาอุดีอาระเบีย ก็เพื่อรักษาการส่งต่อน้ำมัน และเพื่อให้ได้นโยบายที่เป็นใจจากโอเปก นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ต่อต้านสงครามอิรักท่านหนึ่งได้กล่าวว่า จุดประสงค์ของสงครามอิรักครั้งที่สองก็คือ เพื่อทำลายอำนาจของประเทศกลุ่มโอเปก และเพื่อเปลี่ยนการควบคุมน้ำมันไปให้แก่บริษัทชาวตะวันตก[117]

ส่วนนักเขียนผู้เป็นคนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ผู้หนึ่งกล่าวว่า โอเปกได้ฝึกลูกค้าให้เชื่อว่า น้ำมันมีจำกัดกว่าความเป็นจริงแล้วยกการเตือนภัยที่ไม่จริง และการร่วมหัวกันในอดีต เป็นหลักฐาน[64] และเขาก็เชื่อด้วยว่า นักวิเคราะห์เรื่องจุดผลิตน้ำมันสูงสุด ร่วมหัวกับโอเปกและบริษัทน้ำมัน เพื่อสร้าง "เรื่องกุที่ตื่นเต้นเกี่ยวกับจุดผลิตน้ำมัน" เพื่อโก่งราคาน้ำมันและผลกำไรแต่ว่า ต่อจากนั้น ผู้ก่อตั้งองค์กร ASPO ก็โต้แย้งคำเหล่านั้น หลังจากการอภิปรายผ่านโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล[118]

ใกล้เคียง

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวรระนอง จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน จุดผ่านแดนถาวรเชียงของ จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จุดผลิตน้ำมันสูงสุด ftp://eia.doe.gov/pub/oil_gas/natural_gas/feature_... http://www.cis.org.au/media-information/opinion-pi... http://www.energy.gov.ab.ca/OilSands/pdfs/RPT_Chop... http://www.capp.ca/canadaIndustry/oil/Pages/defaul... http://www.macleans.ca/business/economy/article.js... http://www.mjtimes.sk.ca/Canada---World/Business/2... http://knowledge.allianz.com/en/globalissues/safet... http://www.ameinfo.com/90848.html http://www.arabianbusiness.com/index.php?option=co... http://aspo-usa.com/index.php?option=com_content&t...