ผลที่อาจจะเกิดขึ้น ของ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ของการเจริญขึ้นทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มนุษย์สามารถบริโภคใช้พลังงานในระดับที่สูงกว่าที่จะทดแทนได้บางคนเชื่อว่า เมื่อการผลิตน้ำมันลดลง วัฒนธรรมและสังคมเทคโนโลยีของมนุษย์ จะต้องเปลี่ยนไปอย่างสำคัญโดยมีผลมากน้อยขึ้นอยู่กับอัตราการลดระดับการผลิต และการพัฒนาและประยุกต์ใช้พลังงานทางเลือกถ้าไม่มีทางเลือก ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากน้ำมันรวมทั้งปุ๋ย ผงซักฟอก ตัวทำละลาย กาว และพลาสติกโดยมาก จะหายากและแพง

ในปี ค.ศ. 2005 กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาได้พิมพ์รายงานชื่อ Peaking of World Oil Production: Impacts, Mitigation, & Risk Management (จุดผลิตน้ำมันสูงสุด - การบริหารผล การบรรเทา และความเสี่ยง)[135] หรือรู้จักกันว่า "Hirsch report (รายงานเฮิรส์ช)" ซึ่งรายงานว่า "จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก จะทำให้สหรัฐอเมริกาและโลก ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาบริหารความเสี่ยง ในระดับความรุนแรงที่ไม่เคยมีมาก่อนเมื่อจุดสูงสุดใกล้เข้ามา ทั้งราคาและความผันผวนของราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจและถ้าไม่บรรเทาความเสียหายอย่างทันท่วงเวลา จะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนมาตรการบรรเทาความเสียหายที่เป็นไปได้ มีทั้งในส่วนอุปสงค์และอุปทานแต่ถ้าจะมีผลที่เป็นรูปธรรม จะต้องเริ่มดำเนินการก่อนหนึ่งทศวรรษ ที่จุดสูงสุดจะเกิดขึ้น"หลังจากรายงานนั้น ก็มีข้อมูลที่ปรับปรุงแก้ไขในปี ค.ศ. 2007[136]

ราคาน้ำมัน

ประวัติ

ราคาเฉลี่ยของน้ำมัน WTI ระหว่างปี ค.ศ. 1995-2011ราคาน้ำมันระยะยาว จากปี ค.ศ. 1861-2008 เส้นบนปรับตามเงินเฟ้อ

ราคาน้ำมันตามประวัติค่อนข้างจะต่ำ จนกระทั่งถึงวิกฤตการณ์น้ำมันในปี พ.ศ. 2516 และวิกฤตการณ์พลังงานในปี พ.ศ. 2522 ที่ราคาเพิ่มขึ้นเกินกว่า 10 เท่าในช่วงเวลา 6 ปีและแม้ว่าต่อจากเหตุการณ์เหล่านั้น ราคาจะตกลงอย่างสำคัญ แต่ก็ไม่ได้กลับไปที่ราคาเดิมอีกต่อมาเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ราคาก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดที่ 143 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (โดยปรับตามเงินเฟ้อที่ปี ค.ศ. 2007) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551[137] เนื่องจากราคาน้ำมันที่จุดสูงสุด สูงกว่าในช่วงวิกฤตการณ์ จึงเกิดความวิตกว่า จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เหมือนกับที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตการณ์ก่อน ๆ[138] ความกลัวเช่นนี้ไม่ได้ไร้เหตุผล เพราะว่า ราคาน้ำมันที่สูงก็เริ่มจะมีผลต่อเศรษฐกิจ เช่น ที่เห็นได้จากอัตราการใช้น้ำมันที่ลดลง 6% ในปี พ.ศ. 2551 ในประเทศสหรัฐอเมริกา[139]

พิจารณากันว่า เหตุผลหลักของราคาที่สูงขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2005-2008 เป็นเพราะมีความต้องการน้ำมันในระดับสูง[ต้องการอ้างอิง] ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคใช้น้ำมันเพิ่มจาก 30,000 ล้านบาร์เรลในปี ค.ศ. 2004 ไปเป็น 31,000 ล้านบาร์เรลในปี ค.ศ. 2005การบริโภคมากกว่าน้ำมันใหม่ที่ค้นพบในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งลดลงเป็น 8,000 ล้านบาร์เรล[140]

ราคาที่เพิ่มขึ้นของน้ำมันส่วนหนึ่ง มีเหตุจากการมีรายงานว่า การผลิตอยู่ที่จุดสูงสุด[6][7][8] หรือใกล้จุดสูงสุด[10][141][142]

ในเดือนมิถุนายน 2005 โอเปกกล่าวว่า สมาชิกจะ "ดิ้นรน" ที่จะขุดเจาะน้ำมันเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันแพงที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลก ในไตรมาสที่สี่[143] จากปี ค.ศ. 2007-2008 ราคาที่ตกลงของดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินสำคัญอื่น ๆ เช่นมีมูลค่าตกลง 14% เทียบกับยูโร ก็พิจารณาด้วยว่าเป็นเหตุผลที่สำคัญต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้น[144]

นอกจากเหตุผลทางอุปสงค์และอุปทานแล้ว ปัจจัยทางความมั่นคงอาจมีผลทำให้ราคาสูงขึ้น[142] เช่นสงครามต่อต้านการก่อการร้าย การยิงขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ[145] สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549[146] การต่อสู้ท้าทายทางการเมือง ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา กับอิหร่าน[147]และรายงานจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐและประเทศอื่น ๆ ที่แสดงระดับน้ำมันสำรองที่ลดลง[148]

แต่ว่า ในปี ค.ศ. 2013-2014 ราคาน้ำมันเสถียรอยู่ที่ระหว่าง $100-$110 ต่อบาร์เรล ก่อนที่จะตกลงไปถึงน้อยกว่า $70

ผลของราคาที่สูงขึ้น

การบริโภคใช้พลังงานของโลก โดยประเภทพลังงาน[149]

ในอดีต ราคาน้ำมันได้ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เช่น ที่เกิดในวิกฤตการณ์น้ำมันในปี พ.ศ. 2516 และวิกฤตการณ์พลังงานในปี พ.ศ. 2522ในประเทศยุโรปหลายประเทศที่มีภาษีน้ำมันสูง ผลอาจจะบรรเทาได้โดยการระงับภาษี อย่างชั่วคราวหรืออย่างถาวร[150] แต่เป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ในประเทศที่มีภาษีต่ำ เช่น สหรัฐอเมริกาเหตุการณ์พื้นฐานตามความคาดหมายของงานศึกษาปี ค.ศ. 2012 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ก็คือ การเพิ่มผลผลิตในระดับ 0.8% แทนที่ 1.8% ซึ่งเป็นอัตราที่ได้สืบ ๆ มาตามประวัติ จะมีผลลดระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอัตรา 0.2-0.4%[151]

นักวิจัยที่ Stanford Energy Modeling Forum (สภาแบบจำลองพลังงานสแตนฟอร์ด) พบว่า ระบบเศรษฐกิจจะสามารถปรับตัวเข้ากับการเพิ่มราคาน้ำมันแบบขึ้นเรื่อย ๆ ได้ดีกว่าแบบที่ขึ้น ๆ ลง ๆ[152]นักเศรษฐศาสตร์บางท่านพยากรณ์ว่า ปรากฏการณ์ทดแทน (substitution effect) จะสร้างความต้องการพลังงานทดแทน เช่น ถ่านหิน หรือแก๊สธรรมชาติแปรเป็นเชื้อเพลิงเหลว แต่ว่า การทดแทนเช่นนี้ก็จะทำได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะว่า ทรัพยากรเหล่านี้ก็มีจำกัดเช่นกัน

ก่อนที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คนขับรถเป็นจำนวนมากเลือกรถที่กินน้ำมันสูง เช่น รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูง (SUV) หรือรถกระบะ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศอื่น ๆแต่ว่า แนวโน้มเช่นนี้ได้ลดถอยลงเรื่อย ๆ เพราะราคาน้ำมันที่สูงและยั่งยืนข้อมูลการขายรถในเดือนกันยายน พ.ศ. 2005 สำหรับบริษัทรถทุกบริษัท อย่างน้อยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ยอดขายรถ SUV ตกลง ในขณะที่ยอดขายรถที่เล็กกว่าสูงขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยานพาหนะไฮบริดและเครื่องยนต์ดีเซล ก็กำลังได้รับความนิยม[153]

EIA และ CNBC รายงานว่า ค่าน้ำมันเฉลี่ยต่อปีต่อครอบครัว สำหรับการเดินทางของคนอเมริกัน เพิ่มขึ้นจาก $1,520 ในปี ค.ศ. 2004 เป็น $4,155 ในปี ค.ศ. 2004[154][155]

ส่วนรายงานปี ค.ศ. 2008 โดยบริษัท CERA กล่าวว่า ปี ค.ศ. 2007 เป็นปีที่มีการใช้น้ำมันสูงสุดในสหรัฐ และราคาพลังงานที่สูงเป็นประวัติศาสตร์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานที่ถาวร[156] รายงานพบว่า การใช้น้ำมันในเดือนเมษายนอยู่ในระดับที่ต่ำเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดการบริโภคเป็นเวลา 6 เดือนต่อ ๆ กัน และแจ้งว่า ปี ค.ศ. 2008 จะเป็นปีแรกใน 17 ปีที่การบริโภคใช้น้ำมันในสหรัฐจะลดลงนอกจากนั้น การขับรถได้ถึงระดับสูงสุดในสหรัฐในปี ค.ศ. 2006[157]

แบบจำลอง Export Land Model แสดงว่า หลังจากถึงจุดสูงสุด ประเทศส่งออกน้ำมันจะต้องลดการส่งออก อย่างรวดเร็วกว่าที่ระดับการผลิตจะลดลง เนื่องจากการเพิ่มความต้องการภายในประเทศดังนั้น ประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมันจะรับผลกระทบก่อน และรุนแรงมากกว่าประเทศส่งออก[158]ประเทศเม็กซิโกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้แล้ว ในประเทศส่งออกที่ใหญ่ที่สุด 5 ประเทศ การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น 5.9% ในปี ค.ศ. 2006 และการส่งออกลดลง 3%ในปี ค.ศ. 2010 มีการประเมินว่า ความต้องการภายในประเทศ จะลดระดับการส่งออกทั่วโลกโดย 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน[159]

นักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดาท่านหนึ่งกล่าวว่า ราคาสูงของน้ำมันน่าจะมีผลเป็นการใช้น้ำมันที่สูงขึ้น ในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจากจะผลิตสินค้าโดยตนเองเพิ่มเพราะการผลิตจะย้ายไปอยู่ใกล้ ๆ กับผู้บริโภคมากขึ้นเพื่อจะลดค่าขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ลดประโยชน์ที่ได้ในการผลิตสินค้าในประเทศที่มีค่าแรงถูก[160][161] ข้อมูลส่งออกของประเทศจีน ที่เผยแพร่เมื่อ 10 มีนาคม ค.ศ. 2012 ยืนยันการส่งออกที่ลดลงอย่างมาก ทำให้จีนขาดดุลทางการค้าอย่างไม่คาดฝัน[162]

งานวิจัยทางเศรษฐกิจโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศแสดง price elasticity of demand ที่ −0.025 (แสดงว่า อุปสงค์ของน้ำมันจะลดลง 2.5% ถ้าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 1%) ในระยะสั้น และที่ −0.093 ในระยะยาว (แสดงว่า อุปสงค์ของน้ำมันจะลดลง 9.3% ถ้าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 1%)[163]

ผลต่อเกษตรกรรมและจำนวนประชากร

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: วิกฤติราคาอาหารโลก (พ.ศ. 2550-2551)

เนื่องจากน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำเกษตรกรรม ระดับน้ำมันที่ลดลงในตลาดโลก อาจจะเพิ่มราคาอาหารอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดทุพภิกขภัยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอนาคต[164][note 1] นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันท่านหนึ่งอ้างว่า ระดับประชากรโลกในปัจจุบันไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้ และเพื่อที่จะมีระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนโดยปราศจากปัญหา สหรัฐอเมริกาต้องลดระดับประชากรอย่างน้อย 1/3 และประชากรโลกต้องลดลง 2/3[165][166]

กระบวนการเกษตรกรรมที่ใช้น้ำมันมากที่สุดก็คือ การผลิตแอมโมเนียเพื่อทำปุ๋ย ผ่านกระบวนการ Haber process ซึ่งสำคัญต่อการเกษตรมุ่งเน้น (intensive agriculture) ที่ให้ผลผลิตมากจุดการผลิตปุ๋ยที่ใช้น้ำมันก็คือ การใช้แก๊สธรรมชาติเพื่อผลิตไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการ steam reforming แต่ว่า ถ้ามีพลังงานทดแทนเป็นไฟฟ้าที่เพียงพอ ก็จะสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ โดยไม่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์โดยผ่านกรรมวิธีเช่น การแยกสลายน้ำด้วยไฟฟ้า (electrolysis)ยกตัวอย่างเช่นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Vemork) แห่งหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ ได้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเกิน เพื่อทำแอมโมเนียระหว่างปี ค.ศ. 1911-1971[167]

ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ปัจจุบันผลิตแอมโมเนีย โดยใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพและแหล่งพลังงานน้ำเพราะมีทรัพยากรเหล่านั้น แต่ไม่มีทรัพยากรแบบไฮโดรคาร์บอนและมีค่าใช้จ่ายสูงในการนำเข้าแก๊สธรรมชาติ[168]

ผลต่อแบบการดำเนินชีวิตในสหรัฐ

คนอเมริกันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชานเมือง ซึ่งเป็นเขตอยู่อาศัยมีความหนาแน่นต่ำ และต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวทุกครัวเรือนมีคนที่กล่าวว่า เพราะว่าการขนส่งถึง 90% ในสหรัฐต้องอาศัยน้ำมัน ดังนั้นการต้องพึ่งรถยนต์ เป็นแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ยั่งยืนจุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะทำให้คนอเมริกันไม่สามารถรับราคาน้ำมันเพื่อใช้ในรถ และจะบังคับให้ใช้จักรยานและพาหนะไฟฟ้าทางเลือกอื่น ๆ ก็คือ การทำงานทางไกล (telecommuting) การย้ายไปอยู่ในเขตชนบท หรือการย้ายไปอยู่ในที่แออัดมากขึ้นที่ ๆ สามารถเดินหรือใช้การขนส่งมวลชนได้ ถ้าผลออกมาเป็นกรณีสองอย่างสุดท้าย ชานเมืองอาจจะกลายเป็น "สลัมในอนาคต"[169][170] นอกจากนั้นแล้ว ปัญหาทางอุปสงค์และอุปทานของน้ำมัน ก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง สำหรับเมืองที่กำลังใหญ่โตขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งจะเป็นจุดรับประชากรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 2,300 ล้านคนโดยปี ค.ศ. 2050การเน้นความสำคัญเรื่องพลังงาน เป็นประเด็นเร่งด่วนในการวางแผนการพัฒนาในอนาคต[171]

ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น จะมีผลต่อค่าอาหารและค่าไฟฟ้าและสิ่งจำเป็นที่มีราคาสูงขึ้นเช่นนี้ จะมีผลที่สำคัญต่อครอบครัวที่มีรายได้ต่ำหรือมีรายได้ปานกลาง ในช่วงที่เศรษฐกิจจะหดตัวเพราะมีรายได้ที่จับจ่ายได้ต่ำ และอัตราการจ้างงานที่ลดลงรายงาน Hirsch Report สรุปว่า "ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทาที่ทันท่วงเวลา ความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันโลก จะเกิดโดยมีระดับอุปสงค์ที่สูงมาก ตามมาด้วยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งสองจะทำให้เกิดความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ เป็นระยะเวลานานทั่วโลก"[172]

วิธีการบรรเทาปัญหาทั้งในเมืองและนอกเมืองที่เสนอ รวมทั้งการใช้รถยนต์ไฟฟ้า พาหนะไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ แผนการพัฒนาที่เน้นการขนส่ง เมืองไร้รถยนต์ การใช้จักรยาน การใช้รถไฟแบบใหม่ ๆ แผนการพัฒนาที่เน้นคนเดินเท้า และอื่น ๆรายงานใหญ่ในปี ค.ศ. 2009 เกี่ยวกับผลการพัฒนาชุมชมอาศัยที่หนาแน่น โดยสภางานวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (United States National Research Council) ที่เป็นส่วนของวิทยาศาสตร์บัณฑิตยสถานสหรัฐอเมริกา (United States National Academy of Sciences) และเป็นงานมอบหมายโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงประเด็น 6 อย่างด้วยกัน[173]

ประเด็นแรกคือ การพัฒนาชุมชนหนาแน่น น่าจะลดจำนวนไมล์ที่เดินทาง (VMT) ทั่วประเทศประเด็นที่สองคือ การเพิ่มความหนาแน่นของชุมชนเป็นทวีคูณ สามารถจะลดจำนวนไมล์ที่เดินทางได้ถึง 25%ถ้าควบกับมาตรการการทำงานในที่ที่หนาแน่นขึ้น และกับการปรับปรุงการขนส่งมวลชนประเด็นที่สามคือ ความหนาแน่นของชุมชน ที่ไม่แบ่งเป็นเขต ๆ เช่น เขตที่อยู่และเขตพาณิชย์เป็นต้น จะลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยตรงเพราะมีการขับรถน้อยลงและโดยอ้อม ที่เป็นผลจากการใช้วัสดุน้อยลงเพื่อสร้างที่อยู่ การควบคุมอุณหภูมิภายในที่อยู่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า รถที่ใช้ได้นานกว่า และประสิทธิภาพที่สูงกว่าในการส่งสินค้าและการให้บริการประเด็นที่สี่คือ แม้ว่า การลดการใช้พลังงานและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีผลไม่มากในเบื้องต้นแต่จะมีผลที่สำคัญในระยะยาวประเด็นที่ห้าคือ อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาชุมชนหนาแน่นในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมาจากการต่อต้านของผู้ควบคุมการจัดแบ่งพื้นที่ในท้องถิ่นซึ่งจะขัดขวางการทำงานของรัฐบาลส่วนรัฐและส่วนอื่น ๆ ไม่ให้สามารถร่วมมือวางแผนการใช้ที่ดินและประเด็นที่หกคือ คณะกรรมการมีมติร่วมกันว่า ความเปลี่ยนแปลงในวิธีการพัฒนาชุมชน จะเปลี่ยนรูปแบบการขับรถ และประสิทธิภาพของอาคาร แต่จะมีค่าใช้จ่ายและประโยชน์อย่างอื่น ๆ ที่ยังไม่สามารถคาดได้รายงานสรุปโดยแนะนำว่า ควรส่งเสริมนโยบายการสร้างชุมชนหนาแน่น ที่ช่วยลดการขับรถ การใช้พลังงาน และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เสนอใช้เป็นการแก้ปัญหาเรียกว่า steady state economy (เศรษฐกิจคงตัว) ที่มีระดับประชากรและการบริโภคที่เสถียรระบบเช่นนี้จะเปลี่ยนการเก็บภาษีจากรายได้ ไปเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปล่อยมลพิษและจำกัดการโฆษณาที่เพิ่มการบริโภคและการเติบโตของประชากรและอาจจะรวมนโยบายที่ลดกระบวนการโลกาภิวัตน์ (globalization) ไปเป็นการทำการในท้องถิ่น (localization) เพื่อรักษาทรัพยากรพลังงาน ส่งเสริมงานในท้องถิ่น และรักษาอำนาจการตัดสินใจไว้ในพื้นที่นโยบายการจัดเขต อาจปรับเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อกำจัดการขยายเมืองไปเรื่อย ๆ[174][175]

มาตรการบรรเทา

เพื่อจะหลีกเลี่ยงผลลบรุนแรงทางเศรษฐกิจและทางสังคม ที่เกิดจากการผลิตน้ำมันที่ลดลงทั่วโลกรายงาน Hirsch Report ในปี ค.ศ. 2005 เน้นความจำเป็นในการหาพลังงานทางเลือกอย่างน้อยสิบถึงยี่สิบปีก่อนจะถึงจุดผลิตสูงสุด และการค่อย ๆ ลดการใช้น้ำมันในระยะเวลาเดียวกัน[135] คำแนะนำนี้ เหมือนกับแผนการลดใช้น้ำมันในประเทศสวีเดน ที่เสนอในปีเดียวกันมาตรการบรรเทาอาจรวมทั้งการประหยัดพลังงาน การทดแทนพลังงาน และการใช้น้ำมันจากแหล่งไม่สามัญเพราะว่ามาตรการบรรเทาสามารถลดระดับการใช้น้ำมันจากแหล่งสามัญ ดังนั้น ก็จะมีผลต่อทั้งช่วงเวลาที่จะถึงจุดยอด และรูปร่างของเส้นโค้งฮับเบิร์ตด้วย[ต้องการอ้างอิง] คือ ถ้าใช้น้อยยิ่งเท่าไร น้ำมันก็จะมีให้ใช้นานขึ้นเท่านั้น

ประเทศไอซ์แลนด์เป็นประเทศแรก ที่เสนอการเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่เกิดต่อเนื่อง (renewable energy) แบบ 100% ในปี ค.ศ. 1998[176]มีการเสนอว่า โดยปี ค.ศ. 2009 ควรใช้แต่พลังงานลม น้ำ และแสงอาทิตย์ แต่จะใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ สำหรับการขนส่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าได้ เช่น เรือใหญ่และเครื่องบิน

ผลดีที่เกิดจากจุดสูงสุด

นักวิชาการในสาขา Permaculture ที่ออกแบบวางแผนเพื่อเกษตรกรรมและสังคมที่ยั่งยืน เห็นจุดผลิตน้ำมันสูงสุดว่า เป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดี ถ้าประเทศต่าง ๆ มีนโยบายที่เห็นการไกลนักวิชาการอ้างว่า การสร้างเครือข่ายการผลิตอาหารและพลังงานในพื้นที่ขึ้นใหม่ และการสร้างวัฒนธรรมที่ลดระดับการใช้พลังงาน เป็นการตอบสนองที่ถูกต้องตามจริยธรรม ต่อความจริงว่า เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีจำกัด[177] เกาะ Majorca ในประเทศสเปนเป็นที่ ๆ หนึ่งที่กำลังเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ไปเป็นพลังงานทางเลือกอื่น ๆ และกำลังตรวจสอบวิธีการก่อสร้างและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ที่เคยทำได้มาก่อน ๆ[178]

ขบวนการ Transition Towns (เมืองเปลี่ยนแปลง) ที่เริ่มในเมือง Totnes มณฑลเดวอน ประเทศอังกฤษ[179]และเผยแพร่อย่างสากลผ่านคู่มือ "The Transition Handbook (คู่มือการเปลี่ยนแปลง)" และเครือข่าย Transition Network (เครือข่ายการเปลี่ยนแปลง)เห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม เพื่อสร้างสมรรถภาพการฟื้นฟูสภาพแก่พื้นที่ และความเป็นผู้พิทักษ์ธรรมชาติ ว่าเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ ต่อปัญหาของจุดผลิตน้ำมันสูงสุด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[180]

ใกล้เคียง

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวรระนอง จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน จุดผ่านแดนถาวรเชียงของ จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จุดผลิตน้ำมันสูงสุด ftp://eia.doe.gov/pub/oil_gas/natural_gas/feature_... http://www.cis.org.au/media-information/opinion-pi... http://www.energy.gov.ab.ca/OilSands/pdfs/RPT_Chop... http://www.capp.ca/canadaIndustry/oil/Pages/defaul... http://www.macleans.ca/business/economy/article.js... http://www.mjtimes.sk.ca/Canada---World/Business/2... http://knowledge.allianz.com/en/globalissues/safet... http://www.ameinfo.com/90848.html http://www.arabianbusiness.com/index.php?option=co... http://aspo-usa.com/index.php?option=com_content&t...