ข้อวิจารณ์ ของ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

น้ำมันจากแหล่งสามัญของประเทศแคนาดา ถึงจุดยอดการผลิตในปี ค.ศ. 1973แต่น้ำมันจากทรายน้ำมัน ทำให้ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สีแดงเป็นประวัติการผลิต สีน้ำเงินเป็นค่าคาดหมาย

ข้อโต้ตอบโดยรวม

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีจุดผลิตน้ำมันสูงสุด บ่อยครั้งอ้างแหล่งน้ำมันใหม่ ๆ ที่ค้นพบ ซึ่งขัดขวางไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยเฉพาะก็คือ บางพวกเชื่อว่า การผลิตน้ำมันทั้งจากแหล่งใหม่ ทั้งจากแหล่งที่มีอยู่ จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าอัตราเพิ่มความต้องการซึ่งจะเป็นเช่นนี้จนกระทั่งเราค้นพบพลังงานทางเลือก ซึ่งจะทดแทนพลังงานซากดึกดำบรรพ์ที่เราต้องอาศัยอยู่ในขณะนี้[181]

ข้อวิจารณ์อื่นรวมทั้ง ความเชื่อมั่นในพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จะสามารถทดแทนน้ำมันได้[182]และจริง ๆ ก็ดูเหมือนจะมีทางเลือกที่มีอนาคตแจ่มใส ในการลดหรือแก้ผลลบที่เกิดจากเหตุการณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุดยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ทุนงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงสาหร่าย เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ[183]และก็ยังมีโปรเจ็กต์อื่น ๆ อีกมากมายที่ได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และในที่อื่น ๆ[184]และแม้บริษัทเอกชน ก็เริ่มจะเริ่มลงทุนทำงานวิจัยในเรื่องนี้[183]ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 นักวิจัยที่แล็บวิจัยนาวีสหรัฐอเมริกา (NRL) ประกาศว่า ได้ค้นพบกระบวนการเปลี่ยนน้ำทะเล เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินคือได้สกัดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งที่ละลายอยู่ในน้ำ และทั้งที่เป็นส่วนประกอบของน้ำ และสกัดไฮโดรเจน (H) ผ่านกระบวนการแยกสลายน้ำด้วยไฟฟ้าแล้วจึงเปลี่ยน CO2 และ H ไปเป็นโซ่ไฮโดรคาร์บอน[185]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเชื้อเพลิงทางเลือกอื่น ๆ รวมทั้ง ไบโอแอลกอฮอล์ (คือ เมทานอล เอทานอล บูทานอล), ไฟฟ้าที่เก็บโดยกระบวนการเคมี (แบตเตอรี่ เซลล์เชื้อเพลิง), ไฮโดรเจน, มีเทนที่ไม่ได้มาจากฟอสซิล, แก๊สธรรมชาติที่ไม่ได้มาจากฟอสซิล, น้ำมันพืช, โพรเพน, และมวลชีวภาพอื่น ๆ

จากมุมมองของบริษัทน้ำมัน

ผู้แทนจากอุตสาหกรรมน้ำมันได้วิจารณ์ทฤษฎีนี้ อย่างน้อยในรูปแบบที่เสนอโดยแมตทิว ซิมมอนส์เช่น แม้ว่าจะเห็นด้วยว่า การผลิตน้ำมันจากแหล่งสามัญ จะต้องลดลงโดยไม่ช้า แต่ประธานบริษัทรอยัลดัตช์เชลล์สหรัฐอเมริกา วิจารณ์การวิเคราะห์ของซิมมอนส์ว่า "เพ่งความสนใจมากเกินไปไปยังประเทศเดียว คือ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสมาชิกโอเปกที่สามารถเปลี่ยนราคาน้ำมันได้"

เขายังชี้ไปที่แหล่งพลังงาน ที่ไหล่ทวีปส่วนนอกของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่ประมาณ 100,000 ล้านบาร์เรลที่โดยถึงปี ค.ศ. 2008 ยังสามารถขุดเจาะได้เพียงแค่ 15% จากฝั่งของรัฐลุยเซียนา แอละแบมา มิสซิสซิปปี และเท็กซัส

เขายังเห็นด้วยว่า ซิมมอนส์ผิดพลาด ที่ไม่รวมแหล่งน้ำมันที่ไม่สามัญ เช่น จากทรายน้ำมันในประเทศแคนาดา ซึ่งเชลล์ดำเนินงานอยู่เพราะว่า ทรายน้ำมัน ซึ่งหมายถึงทั้งทราย น้ำ และน้ำมัน ที่พบโดยมากที่รัฐแอลเบอร์ตาและซัสแคตเชวัน เชื่อกันว่า มีน้ำมันถึงประมาณ 1,000,000 ล้านบาร์เรลและยังมีน้ำมันอีก 1,000,000 ล้านบาร์เรลในหินของ รัฐโคโลราโด ยูทาห์ และไวโอมิง (สหรัฐอเมริกา)[186] ในรูปแบบของหินน้ำมันถึงแม้ว่า แหล่งน้ำมันเหล่านี้ จะทำให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ในการขุดเจาะ[187][188]

เขายังอ้างอีกด้วยว่า ถ้าบริษัทน้ำมันได้อนุญาตที่จะขุดเจาะ จะสามารถผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และราคาน้ำมันในช่วงท้ายทศวรรษ 2000 และ 2010 จะไม่สูงขนาดนั้นเขาคิดในปี ค.ศ. 2008 ว่า ราคาพลังงานที่สูง จะทำให้เกิดความไม่สงบทางสังคม เหมือนกับที่เกิดขึ้นในการจลาจลในนครลอสแอนเจลิสในปี ค.ศ. 1992[189]

ในปี ค.ศ. 2009 หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทน้ำมันบีพี วิจารณ์ทฤษฎีจุดผลิตน้ำมันสูงสุดว่า[190]

จุดผลิตน้ำมันสูงสุดที่จริง ๆ เป็นทฤษฎีที่ไม่ปรับตามราคาน้ำมัน เป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลที่ผมจะยอมรับ ไม่ว่าจะทางทฤษฎี ทางวิทยาศาสตร์ หรือทางความคิด (...) จริงอย่างนั้น ทฤษฏีนี้ ซึ่งก็คือมีน้ำมันจำนวนจำกัดอยู่ในดิน มีการบริโภคที่อัตราหนึ่ง ๆ แล้วในที่สุดก็จะหมดไป เป็นกระบวนการที่ (ตามทฤษฎี)ไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งอื่น ๆ...ดังนั้น จะไม่มีวันที่โลกมีน้ำมันหมดไปจริง ๆ เพราะว่า จะมีราคาที่น้ำมันหยดสุดท้ายจะสามารถขายในตลาดได้และเราสามารถเปลี่ยนอะไรหลาย ๆ อย่างไปเป็นน้ำมัน ถ้าเรายินดีจะจ่ายโดยเป็นเงิน หรือเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(ปรากฏการณ์โลกร้อน) น่าจะเป็นจุดจำกัดทางธรรมชาติจริง ๆ ไม่ใช่ประเด็นที่มาจากทฤษฎีจุดผลิตน้ำมันสูงสุดเหล่านี้ แม้มารวมกันทั้งหมด ... จุดผลิตน้ำมันสูงสุดพยากรณ์กันมาแล้วกว่า 150 ปี ซึ่งก็ไม่ได้เคยเกิดขึ้นเลยจริง ๆ และก็จะเป็นเช่นนี้ต่อไป

ตามหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์นั้น ข้อจำกัดของการผลิตน้ำมันมาจากปัจจัยที่อยู่ "เหนือดิน" ซึ่งก็คือ บุคลากร ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี ความปลอดภัยในการลงทุน เงินทุน และปรากฏการณ์โลกร้อนปัญหาของน้ำมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคา ไม่ใช่ว่ามีหรือไม่มีมุมมองนี้ ได้รับการสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ผู้ต่อยอดอีกว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเร็ว ๆ นี้ อาจมีผลทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันแต่ไม่ใช่เป็นการหมดสิ้นน้ำมันอย่างไม่มีเหลือ หรือเป็นผลแบบทำลายโลกแต่จะเป็นการสร้างฐานให้กับพลังงานทางเลือก ที่ทันท่วงทีและเป็นไปอย่างราบรื่น[191]

ส่วนกรรมการผู้จัดการของบริษัทเชลล์แคนาดากล่าวว่า ไฮโดรคาร์บอนจากยางมะตอยที่มีอยู่ในโลก "มีแทบไม่หมดสิ้น" โดยหมายถึงไฮโดรคาร์บอนจากทรายน้ำมัน[192]

จากบุคคลอื่น ๆ

ในปี ค.ศ. 2007 นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในวงการพลังงานคนหนึ่ง เขียนบทความใน The Review of Austrian Economics ว่าทฤษฎี Austrian institutional theory ของ Austrian School เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายความขาดแคลนแร่ธาตุ ได้ดีกว่า neoclassical depletionism[193]และในปี ค.ศ. 2012 ก็เสนอด้วยว่า ในระบบเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติมีคุณค่าที่เป็นอัตวิสัย ไม่ใช่ปรวิสัย แล้วสรุปว่า "ทรัพยากรที่มาจากดิน ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีอยู่ในใจ"[194]

ในปี ค.ศ. 2006 ทนายและวิศวะเครื่องกล ผู้เชี่ยวชาญทางสิ่งแวดล้อมผู้หนึ่งชี้ว่า น้ำมันราคาถูกกำลังหมดไปจากโลก และเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น พลังงานจากแหล่งไม่สามัญก็จะเริ่มขายได้เขาพยากรณ์ว่า "ทรายน้ำมันดินจากรัฐแอลเบอร์ตาเพียงอย่างเดียว ก็มีไฮโดรคาร์บอนที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงของทั้งโลก เป็นเวลากว่า 100 ปี"[192]

ใกล้เคียง

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวรระนอง จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน จุดผ่านแดนถาวรเชียงของ จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จุดผลิตน้ำมันสูงสุด ftp://eia.doe.gov/pub/oil_gas/natural_gas/feature_... http://www.cis.org.au/media-information/opinion-pi... http://www.energy.gov.ab.ca/OilSands/pdfs/RPT_Chop... http://www.capp.ca/canadaIndustry/oil/Pages/defaul... http://www.macleans.ca/business/economy/article.js... http://www.mjtimes.sk.ca/Canada---World/Business/2... http://knowledge.allianz.com/en/globalissues/safet... http://www.ameinfo.com/90848.html http://www.arabianbusiness.com/index.php?option=co... http://aspo-usa.com/index.php?option=com_content&t...