การประยุกต์ใช้ ของ ทฤษฎีความผูกพัน

โดยเป็นทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม-อารมณ์อย่างหนึ่งทฤษฎีความผูกพันแสดงนัยที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในนโยบายทางสังคมของรัฐในการตัดสินใจเรื่องการดูแล เรื่องสวัสดิภาพ และเรื่องสุขภาพจิตของเด็ก

นโยบายดูแลเด็ก

นโยบายทางสังคมเกี่ยวกับการดูแลเด็กเป็นแรงจูงใจหลักที่จอห์น โบลบี้พัฒนาทฤษฎีความผูกพันขึ้นส่วนที่ยากก็คือการประยุกต์ใช้แนวคิดในนโยบายและการปฏิบัติจริง[158]ในปี 2551 ศาตราจารย์จิตแพทย์เด็กชาวอเมริกัน (C.H. Zeanah) และเพื่อนร่วมงานกล่าวว่า "การสนับสนุนให้มีความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่-ลูกตั้งแต่ต้นชีวิตเริ่มกลายเป็นเป้าหมายเด่นของผู้ทำการทางสุขภาพจิต ผู้ให้ความดูแลในชุมชน และผู้ก่อตั้งนโยบาย... ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับความผูกพันได้แสดงแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในระยะต้น ๆ และได้จุดชนวนให้สร้างโปรแกรมสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก-พ่อแม่ตั้งแต่ต้น ๆ"[159]

โดยประวัติแล้ว ทฤษฎีความผูกพันมีผลสำคัญทางนโยบายสำหรับเด็กที่อยู่ในโรงพยาบาลหรืออยู่ในสถานสงเคราะห์ดูแล และสำหรับเด็กที่อยู่ในสถานที่เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพไม่ดี[160]ส่วนประเด็นที่ยังไม่ยุติก็คือ การดูแลของคนที่ไม่ใช่แม่ โดยเฉพาะที่ทำเป็นกลุ่ม จะมีผลอันตรายต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กหรือไม่มันชัดเจนในงานวิจัยว่า การดูแลที่ไม่ดีก่อความเสี่ยง และผู้ที่ได้การดูแลดีก็ได้ผลดีแม้ว่ายากที่จะให้การดูแลที่ดีโดยทำเป็นรายบุคคล ในสถานที่ ๆ ทำเป็นกลุ่ม (เช่นในสถานที่เลี้ยงเด็กเป็นต้น)[158]

ทฤษฎีความผูกพันมีผลต่อคดีพิพาทเรื่องการกำหนดที่อยู่ของเด็กและโอกาสการเยี่ยมลูกหลังพ่อแม่หย่ากัน[160]และต่อพ่อแม่ที่รับเด็กอื่นมาเลี้ยงในอดีต โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ทฤษฎีที่ใช้เป็นโครงคือจิตวิเคราะห์แต่ทฤษฎีความผูกพันได้ทดแทนทฤษฎีจิตวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงเปลี่ยนไปมุ่งที่คุณภาพและความสืบต่อของความสัมพันธ์กับผู้ดูแล แทนที่จะมุ่งความเป็นอยู่ทางฐานะหรือสิทธิที่ได้ก่อนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น ของแม่ที่คลอดบุตรในปี 2542 นักจิตวิทยาคนหนึ่ง (Michael Rutter) ให้ข้อสังเกตว่าในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2523 ศาลครอบครัวได้เปลี่ยนไปอย่างสำคัญเป็นการยอมรับความซับซ้อนทางความสัมพันธ์ที่มาจากความผูกพัน[161]

เด็กมักจะผูกพันกับทั้งพ่อแม่และบ่อยครั้งกับปู่ย่าตายายและญาติอื่น ๆเมื่อตัดสิน ศาลต้องพิจารณาเรื่องนี้รวมทั้งอิทธิพลจากครอบครัวใหม่ทฤษฎีความผูกพันเป็นหลักสำคัญที่เน้นความสัมพันธ์ทางสังคมแบบพลวัตแทนที่จะเป็นอะไรที่อยู่นิ่ง ๆ[158]ทฤษฎียังสามารถช่วยตัดสินใจในงานสงเคราะห์สังคม โดยเฉพาะที่ช่วยบุคคลให้เข้าถึงศักยภาพของตนในชีวิต (humanistic social work)[162][163]และกระบวนการทางกฎหมายที่ตัดสินให้เลี้ยงเด็กหรือส่งเด็กไปอยู่ในที่ต่าง ๆเพราะว่าการพิจารณาความจำเป็นทางความผูกพันของเด็กสามารถช่วยกำหนดความเสี่ยงที่เกิดจากข้อตัดสิน[164][165]

ในเรื่องรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม การเปลี่ยนการรับแบบปิด (ไม่บอกให้เด็กรู้ถึงญาติจริง ๆ) ไปเป็นแบบเปิด และการให้ความสำคัญในการสืบหาพ่อแม่จริง ๆ เป็นเรื่องที่คาดหวังได้โดยอาศัยทฤษฎีและก็มีนักวิจัยที่ทำงานในสาขาที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีอย่างสูง[158]

เด็กมักจะผูกพันกับทั้งพ่อแม่และบ่อยครั้งกับปู่ย่าตายายและญาติอื่น ๆ

การรักษาเด็ก

แม้ว่าทฤษฎีความผูกพันจะได้กลายมาเป็นทฤษฎีสำคัญทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องพัฒนาการทางสังคม-อารมณ์ โดยมีการวิจัยที่กว้างขวางที่สุดในสาขาจิตวิทยาแบบปัจจุบัน แต่ว่ามันก็ไม่ได้ใช้ในการรักษาเด็กจนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะโบลบี้ไม่ได้สนใจเรื่องการรักษา และอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากความหมายที่กว้างขวางของคำว่า attachment (ความผูกพัน) ในหมู่ผู้ทำการรักษาและอาจเป็นเพราะการสัมพันธ์ทฤษฎีกับวิธีการรักษาที่เป็นวิทยาศาสตร์เทียมซึ่งเรียกอย่างให้เข้าใจผิดได้ง่ายว่า attachment therapy[166]

การป้องกันและการรักษา

ในปี 2531 จอห์น โบลบี้ได้เผยแพร่เล็กเช่อร์ชุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่า ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับความผูกพันสามารถใช้เพื่อเข้าใจและบำบัด ทั้งเด็กและความผิดปกติในครอบครัวได้อย่างไรเขาพุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนแบบจำลองใช้งานภายในของพ่อแม่ พฤติกรรมของพ่อแม่ และความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับผู้รักษา[167]

งานวิจัยที่ยังเป็นไปอยู่ได้สร้างวิธีการรักษาแบบรายบุคคลและโปรแกรมการป้องกันและการแทรกแซง[167]มีทั้งการรักษารายบุคคล โปแกรมสาธารณสุข และแม้แต่โปรแกรมการแทรกแซงออกแบบสำหรับพ่อแม่บุญธรรมที่รับเลี้ยงดูเด็กสำหรับทารกและเด็กเล็ก ๆ ความสนใจอยู่ที่การเพิ่มการตอบสนองและความไวความรู้สึกของผู้ดูแล และถ้านั่นเป็นไปไม่ได้ ให้คนอื่นเลี้ยงเด็กแทน[168][169]การประเมินสถานะความผูกพันหรือการดูแลตอบสนองมักจะรวมอยู่ด้วย เพราะว่า ความผูกพันเป็นกระบวนการแบบถนนสองทางซึ่งรวมพฤติกรรมผูกพันบวกกับการตอบสนองของผู้ดูแลมีโปรแกรมบางอย่างที่มุ่งพ่อแม่บุญธรรมที่รับเลี้ยงเด็ก เพราะว่าพฤติกรรมผูกพันของทารกและเด็กที่มีปัญหาเรื่องความผูกพัน บ่อยครั้งไม่น้อมผู้ดูแลให้ตอบสนองอย่างสมควรโดยโปรแกรมการป้องกันและการแทรกแซงมีผลสำเร็จโดยสมควร[170]

ความผิดปกติทางความผูกพัน

รูปแบบความผูกพันที่ไม่ปกติอย่างหนึ่งพิจารณาว่าเป็นโรค โดยเรียกว่า reactive attachment disorder (ตัวย่อ RAD ความผิดปกติทางความผูกพันแบบปฏิกิริยา) ในเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวช (ICD-10 F94.1/2 และ DSM-IV-TR 313.89)แต่นี่ไม่เหมือนกับความผูกพันแบบไม่มีระเบียบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างสามัญ

ลักษณะหลักของโรคก็คือความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีปัญหาหรือไม่สมวัยในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เริ่มก่อนอายุ 5 ขวบเพราะเหตุการดูแลที่แย่ถึงทำให้เป็นโรค (gross pathological care)มีแบบย่อยสองอย่าง อย่างแรกเป็นรูปแบบความผูกพันแบบไม่ยับยั้ง และอีกรูปแบบหนึ่งเป็นแบบยับยั้งแต่ RAD ไม่ใช่สไตล์ความผูกพันแบบไม่มั่นใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสไตล์นั้นจะสร้างปัญหาแค่ไหนแต่ว่า เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมความผูกพันที่ไม่สมวัยที่อาจปรากฏเหมือนกับความผิดปกติอย่างอื่น ๆ[171]

แม้ว่าอาจจะมีการใช้ชื่อโรคนี้ในปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ตรงเกณฑ์ของ DSM หรือ ICDโดยเฉพาะที่ปรากฏในเว็บไซต์และที่เกี่ยวโยงการรักษาแบบวิทยาศาสตร์เทียม คือ attachment therapyความผิดปกตินี้เชื่อว่ามีน้อยมาก[172]

ส่วนคำว่า "Attachment disorder" เป็นคำที่กำกวม ซึ่งอาจหมายถึง RAD หรือหมายถึงสไตล์ความผูกพันแบบไม่มั่นใจที่สร้างปัญหา (แม้ว่า สไตล์เหล่านั้นจะไม่จัดเป็นโรค)ใช้ใน attachment therapy โดยเป็นการวินิจฉัยที่ไม่มีการวัดความสมเหตุสมผลทางวิทยาศาสตร์[172]และยังอาจจะหมายถึงเกณฑ์วินิจฉัยใหม่ที่กำลังเสนอโดยนักทฤษฎีในสาขาอีกด้วย[173]โดยเกณฑ์วินิจฉัยใหม่อย่างหนึ่งก็คือ secure base distortion (ความบิดเบือนของเสาหลัก) ที่พบว่าสัมพันธ์กับความบอบช้ำทางจิตใจของผู้ดูแล[174]

การรักษาสำหรับผู้ใหญ่และครอบครัว

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เนื่องจากทฤษฎีความผูกพันแสดงมุมมองที่กว้างขวางลึกซึ้งของชีวิตมนุษย์ มันสามารถช่วยให้ผู้รักษาเข้าใจคนไข้และความสัมพันธ์กับคนไข้ได้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดรูปแบบการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง[175]การบำบัดโดยจิตวิเคราะห์บางอย่างสำหรับผู้ใหญ่ ก็ใช้ทฤษฎีความผูกพันด้วย[175][176]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีความผูกพัน http://web.ebscohost.com/ehost/detail?vid=3&hid=7&... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/index.... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.garfield.library.upenn.edu/classics1986... //lccn.loc.gov/00266879 //lccn.loc.gov/2005019272 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2690512 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3041266 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3861901