ความผูกพันของทารก ของ ทฤษฎีความผูกพัน

ในทฤษฎีความผูกพัน ความผูกพันหมายถึง "สัญชาตญาณทางชีวภาพ ที่สืบหาการอยู่ใกล้ ๆ กับคนที่ผูกพัน เมื่อเด็กรู้สึกว่ามีภัยหรือไม่สบายพฤติกรรมความผูกพันหวังการตอบสนองจากคนที่ผูกพันว่า จะช่วยกำจัดภัยหรือความรู้สึกไม่สบาย"[8][9]ความสัมพันธ์เช่นนี้จะเป็นแบบกันและกันระหว่างผู้ใหญ่ แต่ระหว่างเด็กกับคนดูแล ความสัมพันธ์จะขึ้นอยู่กับความจำเป็นของเด็กในเรื่องสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และการป้องกัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสุดในวัยทารกและวัยเด็ก

จอห์น โบลบี้ เริ่มต้นโดยให้ข้อสังเกตว่า สิ่งมีชีวิตที่มีระดับวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ต่างกัน จะมีพฤติกรรมทางสัญชาตญาณที่ไม่เหมือนกัน เริ่มตั้งแต่พฤติกรรมคล้ายรีเฟล็กซ์แบบง่าย ๆ เป็นรูปแบบการกระทำเฉพาะ จนกระทั่งถึงพฤติกรรมที่มีแผนซับซ้อนเป็นชั้น ๆ โดยมีทั้งเป้าหมายย่อย ๆ และการเรียนรู้ที่จำเป็นในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนที่สุด พฤติกรรมทางสัญชาตญาณอาจแก้ได้ตามเป้าหมายโดยปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง (เช่น นกล่าเหยื่อปรับการบินตามการเคลื่อนไหวของเหยื่อ)ดังนั้น แนวคิดของระบบพฤติกรรมที่ควบคุมโดยไซเบอร์เนติกส์และจัดระเบียบเป็นลำดับชั้นการวางแผน (Miller, Galanter, and Pribram, 1960) จึงได้กลายมาแทนที่แนวคิดของซิกมุนด์ ฟรอยด์ในเรื่องแรงขับ (drive) กับสัญชาตญาณ (instinct)ระบบเช่นนี้สามารถควบคุมพฤติกรรมโดยที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดมาแต่กำเนิดโดยส่วนเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิต ที่สามารถปรับตามความเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมได้ในระดับหนึ่ง โดยจำกัดว่าความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ต่างไปจากที่มีในสิ่งแวดล้อมทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมากเกินไปแต่ว่าก็มีราคาสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ยืดหยุ่นได้ขนาดนี้ เพราะว่าระบบพฤติกรรมที่ปรับตัวได้สามารถพัฒนาได้โดยไม่ดำเนินไปตามทางที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ โบลบี้สันนิษฐานว่า สภาพแวดล้อมทางวิวัฒนาการของมนุษย์น่าจะคล้ายกับที่พบในสังคมนักล่า-เก็บพืชผล[10]

ทฤษฎีความผูกพันไม่ได้ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบ และก็ไม่ใช่เป็นไวพจน์ของคำว่าความรักและความชอบใจด้วย [10]ทารกบางคนจะเริ่มมีพฤติกรรมผูกพัน คือการหาความใกล้ชิด ต่อคนดูแลมากกว่าหนึ่งทันทีที่เริ่มแยกแยะผู้ดูแลได้และโดยมากจะเริ่มในปีที่สองโดยแบ่งบุคคลเหล่านั้นเป็นชั้น ๆ และมีผู้ดูแลหลักอยู่ยอดสุด[11]เป้าหมายของระบบพฤติกรรมผูกพันก็คือดำรงรักษาการเข้าถึงและการมีคนดูแลไว้ให้ได้[12]

"Alarm" (ตกใจ) เป็นคำที่ใช้เมื่อระบบพฤติกรรมผูกพันเกิดทำงานเหตุกลัวอันตราย"Anxiety" (วิตกกังวล) หมายถึงการคาดหวังหรือความกลัวว่าจะพรากจากคนที่ผูกพันและถ้าคนที่ผูกพันไม่อยู่หรือไม่ตอบสนอง ความทุกข์แบบถูกพราก (separation distress) ก็จะเกิดขึ้น[13]

ในทารก การถูกพรากทางกายอาจเป็นเหตุแห่งความวิตกกังวลและความโกรธ ตามมาด้วยความเศร้าและความสิ้นหวังแต่ว่าโดยอายุ 3-4 ขวบ การถูกพรากทางกายจากผู้ที่ผูกพันไม่ใช่เป็นภัยเหมือนอย่างที่เคยเป็นเพราะว่าภัยต่อความปลอดภัยของเด็กที่โตกว่าและของผู้ใหญ่ มาจากการไม่อยู่ด้วยนาน ๆ การยุติการสื่อสาร การไม่ให้การสนับสนุนทางจิตใจ หรือมีสัญญาณว่าจะถูกไม่ยอมรับหรือถูกทอดทิ้ง[12]

รูปแบบความผูกพันที่ไม่มั่นใจสามารถขัดขวางการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวและความมั่นใจในตัวเอง เพราะว่าเด็กที่ผูกพันอย่างมั่นใจจะเป็นอิสระเพื่อสนใจในสิ่งแวดล้อม

พฤติกรรม

ระบบพฤติกรรมผูกพันจะช่วยให้ได้หรือรักษาความอยู่ใกล้ชิดกับคนที่ผูกพัน[14]ส่วนพฤติกรรมก่อนความผูกพันจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตในระยะแรก (คือในช่วง 8 อาทิตย์แรก) ทารกจะยิ้ม พูดไม่เป็นภาษา และร้องไห้ดึงความสนใจจากคนที่อาจเป็นผู้เลี้ยงแม้ว่าทารกในวัยนี้เริ่มจะจำแนกผู้เลี้ยงดูต่าง ๆ แต่ว่า พฤติกรรมเช่นนี้จะเป็นอย่างเดียวกันกับทุกคนที่อยู่ใกล้ ๆในระยะที่สอง (2-6 เดือน) ทารกจะจำแนกผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้มากขึ้น และตอบสนองต่อผู้ดูแลมากกว่าการตามและติดจะเป็นพฤติกรรมที่เพิ่มมากขึ้น

ส่วนความผูกพันอย่างชัดเจนจะเกิดในระยะที่ 3 ระหว่างวัย 6 เดือนถึง 2 ขวบพฤติกรรมต่อผู้ดูแลจะมีระเบียบคือมีเป้าหมายเพื่อให้ได้สถานการณ์ที่ตนรู้สึกปลอดภัย[15]หลังจากสุดปีแรก ทารกจะสามารถแสดงพฤติกรรมผูกพันที่มุ่งรักษาความใกล้ชิดซึ่งปรากฏโดยประท้วงการจากไปของคนเลี้ยง ทักทายเมื่อกลับมา เกาะติดเมื่อกลัว และติดตามเมื่อสามารถ[16]

เมื่อเริ่มเคลื่อนที่ได้ ทารกจะเริ่มอาศัยคนดูแลเป็นเสาหลักในการสำรวจสิ่งแวดล้อม[15]การสำรวจจะมีมากกว่าเมื่อคนดูแลอยู่ด้วย เพราะว่าระบบความผูกพันของทารกไม่ต้องทำงานและทารกจึงเป็นอิสระที่จะสำรวจถ้าคนดูแลไม่อยู่หรือไม่ตอบสนอง พฤติกรรมผูกพันจะปรากฏมากกว่า[17]ความวิตกกังวล ความกลัว ความเจ็บป่วย และความเหนื่อยจะทำให้เด็กเพิ่มพฤติกรรมผูกพัน[18]

หลังจากปีที่สอง เด็กเริ่มเห็นผู้ดูแลว่าเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังนั้นก็จะเริ่มมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน โดยเป็นหุ้นส่วนแบบปรับให้เข้ากับเป้าหมาย[19]คือ เด็กจะเริ่มเห็นเป้าหมายและความรู้สึกของคนอื่น และจะวางแผนการกระทำของตนตามนั้นยกตัวอย่างเช่น เทียบกับทารกที่จะร้องไห้เพราะเจ็บ เด็ก 2 ขวบจะร้องไห้เพื่อเรียกคนดูแล และถ้าไม่สำเร็จ ก็จะร้องดังขึ้น ตะโกน หรือตาม

หลัก

พฤติกรรมผูกพันและอารมณ์ที่สามัญ ดังที่พบในสัตว์พวกวานรที่อยู่เป็นสังคมรวมทั้งมนุษย์เป็นการปรับตัวที่ดีคือ วิวัฒนาการระยะยาวของสปีชีส์เหล่านี้ รวมการคัดเลือกพฤติกรรมทางสังคมที่ทำให้โอกาสรอดชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มมีมากขึ้นพฤติกรรมผูกพันที่เห็นได้ทั่วไปของเด็กหัดเดินที่อยู่ใกล้ ๆ กับคนที่คุ้นเคย เป็นประโยชน์ให้ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมทางวิวัฒนาการมนุษย์ในยุคต้น ๆ และก็ยังมีประโยชน์เช่นเดียวกันทุกวันนี้จอห์น โบลบี้เห็นสิ่งแวดล้อมทางวิวัฒนาการที่ว่านี้ว่าคล้ายกับสังคมนักล่า-เก็บพืชผลที่เห็นในปัจจุบัน[20]มีประโยชน์ในการรอดชีวิตถ้าสามารถรู้สึกถึงสภาวะที่อาจเป็นอันตรายเช่น ความไม่คุ้นเคย การอยู่คนเดียว หรือการเข้ามาหาอย่างรวดเร็วตามโบลบี้ การหาความใกล้ชิดกับคนที่ผูกพันเมื่อเผชิญกับภัย เป็นเป้าหมายของระบบพฤติกรรมผูกพัน

ประสบการณ์เบื้องต้นจะค่อย ๆ สร้างระบบความคิด ความจำ ความเชื่อ ความคาดหวัง อารมณ์ และพฤติกรรมเกี่ยวกับตนเองและคนอื่น

คำอธิบายเบื้องต้นของโบลบี้เกี่ยวกับระยะไว (sensitivity period) ที่ความผูกพันจะเกิดขึ้นคือระหว่าง 6 เดือน ถึง 2-3 ปี ต่อมาได้เปลี่ยนโดยนักวิจัยต่อ ๆ มานักวิจัยได้แสดงว่า มีระยะไวจริง ๆ ที่ความผูกพันจะเกิดขึ้นถ้าเป็นไปได้ แต่ระยะเวลาจริง ๆ กว้างกว่านั้นและผลที่เกิดไม่ได้ตายตัวเปลี่ยนไม่ได้เหมือนอย่างที่เสนอมาก่อนคือ งานวิจัยต่อ ๆ มาได้พบว่า ความสัมพันธ์ทั้งในเบื้องต้นและต่อ ๆ มาจะมีผลต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็ก

ขั้นต้น ๆ ของความผูกพันเกิดขึ้นง่ายที่สุดถ้าเด็กมีคนดูแลคนเดียว หรือมีคนดูแลจำนวนน้อยหลายคนที่ช่วยดูเป็นบางครั้งบางคราวตามโบลบี้ เกือบตั้งแต่แรก เด็กจำนวนมากมีคนมากกว่าคนเดียวที่แสดงพฤติกรรมผูกพันด้วยแต่ว่าไม่ได้ปฏิบัติเหมือนกันทุกคนเด็กโน้มเอียงอย่างสำคัญที่จะผูกพันกับบุคคลหนึ่งเป็นหลักซึ่งเขาใช้คำว่า "monotropy" เพื่อกล่าวถึงความเอนเอียงเช่นนี้[21]แต่นักวิจัยและนักทฤษฎีต่อ ๆ มาได้ทิ้งแนวคิดนี้เพราะว่าคำดูเหมือนจะแสดงว่า ความสัมพันธ์กับคนพิเศษนั้นมีลักษณะต่างจากกับคนอื่น ๆความคิดในปัจจุบันสมมุติว่าความสัมพันธ์จะมีไปตามลำดับชั้น[22][23]

ประสบการณ์เบื้องต้นกับคนดูแลจะค่อย ๆ สร้างระบบความคิด ความจำ ความเชื่อ ความคาดหวัง อารมณ์ และพฤติกรรมเกี่ยวกับตนเองและคนอื่นระบบนี้ซึ่งเรียกว่า แบบจำลองใช้งานภายในของความสัมพันธ์ทางสังคม (internal working model of social relationships) จะพัฒนาไปเรื่อย ๆ ตามอายุและประสบการณ์[24]และใช้ควบคุม ตีความ และพยากรณ์พฤติกรรมเกี่ยวกับความผูกพันทั้งในตนเองและในบุคคลที่ผูกพันเนื่องจากเป็นแบบจำลองที่พัฒนาไปตามสิ่งแวดล้อมและช่วงพัฒนาการ จึงสามารถสะท้อนและแสดงความสัมพันธ์ที่เคยมีในอดีตและอาจจะมีในอนาคต[7]เป็นแบบซึ่งช่วยให้เด็กรับมือกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบใหม่ ๆ ได้เช่น ให้รู้ว่า ทารกควรจะปฏิบัติต่างจากเด็กที่โตกว่า หรือว่าปฏิสัมพันธ์กับคุณครูและกับพ่อแม่มีอะไรที่คล้ายกันแบบจำลองนี้จะพัฒนาไปจึงตลอดวัยผู้ใหญ่ ช่วยรับมือกับมิตรภาพ การแต่งงาน และการเป็นพ่อแม่ ซึ่งล้วนแต่ต้องมีพฤติกรรมและความรู้สึกที่ต่าง ๆ กัน[25][26]

พัฒนาการของความผูกพันเป็นกระบวนการแบบดำเนินการ (transactional process)แต่พฤติกรรมผูกพันในวัยทารกโดยเฉพาะ ๆ จะเริ่มด้วยพฤติกรรมที่พยากรณ์ได้โดยมีมาแต่กำเนิดแล้วเปลี่ยนไปตามวัยที่กำหนดส่วนหนึ่งโดยประสบการณ์และส่วนหนึ่งโดยปัจจัยทางสถานการณ์ต่าง ๆ[27]เมื่อพฤติกรรมความผูกพันกำลังพัฒนาตามอายุ ก็จะได้รับอิทธิพลจากความสัมพันธ์ที่มีพฤติกรรมของเด็กเมื่อกลับมาพบคนดูแลกำหนดไม่ใช่เพียงแค่โดยพฤติกรรมที่คนดูแลมีต่อเด็ก แต่กำหนดโดยประวัติด้วยว่าพฤติกรรมเด็กเคยมีผลต่อคนดูแลอย่างไร[28][29]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีความผูกพัน http://web.ebscohost.com/ehost/detail?vid=3&hid=7&... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/index.... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.garfield.library.upenn.edu/classics1986... //lccn.loc.gov/00266879 //lccn.loc.gov/2005019272 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2690512 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3041266 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3861901