การช่วยเหลือ ของ ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง

ช่วยเหลือออกจากถ้ำ

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
คลิปวิดีโอการช่วยเหลือเด็กและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนออกจากถ้ำ จากเพจเฟซบุก "Thai NavySEAL"
การลำเลียงผู้ประสบภัยภายในถ้ำหลวงทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์

วันที่ 8 กรกฎาคม เริ่มปฏิบัติการช่วยเหลือออกจากถ้ำ เนื่องจากความพร้อมในหลาย ๆ ด้านทั้งระดับน้ำ ร่างกายของน้อง ๆ และทีมงาน เริ่มปฏิบัติการลำเลียงในเวลา 10.00 น. โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญดำน้ำจากต่างประเทศ 13 คนและหน่วยซีล 5 คน มีเจ้าหน้าที่ดำน้ำเข้าร่วมปฏิบัติการทั้งหมด 90 คน ในจำนวนนี้เป็นนักดำน้ำจากต่างชาติ 50 คน โดยสามารถนำคนแรกออกจากถ้ำได้เวลา 17.40 น. ซึ่งถือว่าเร็วกว่าประมาณการเดิมถึง 3 ชม. ส่วนคนที่ 2 ออกมาในอีก 10-20 นาทีต่อมา ส่วนคนที่ 3 และ 4 ออกมาเวลา 19.40 น. และ 19.50 น. ทั้งหมดถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลสนามซึ่งตั้งขึ้นบริเวณหน้าปากถ้ำ เพื่อประเมินอาการและปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนเคลื่อนย้ายไปที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งห่างจากถ้ำหลวงไปราว 58 กม.[46] ปฏิบัติการของวันแรก ต้องหยุดลง เนื่องจากต้องวางขวดอากาศและเชือกใหม่ เพราะขวดอากาศหมด อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องทำใหม่ โดยใช้เวลา 10 ถึง 20 ชั่วโมง[47][48] ปฏิบัติการช่วยเหลือในวันถัดมา 9 กรกฎาคม สภาพแวดล้อมพร้อม เช่นเดียวกับเมื่อวาน จึงเริ่มปฏิบัติการ เวลา 11.00 น.[49] โดยทีมนักประดาน้ำทีมเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย[50] ภารกิจในวันนี้ช่วยเหลือออกมาได้อีก 4 คน[51] จนวันที่ 10 กรกฎาคม มีรายงานข่าวว่า สามารถช่วยนักฟุตบอลและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ได้ครบทั้ง 13 คน[20]

ในการลำเลียงทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำ ภารกิจไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากระดับน้ำที่ยังสูงอยู่ จนวันที่ 7-8 กรกฎาคม ระดับน้ำจึงลดลง มีภาครัฐ และเอกชน เข้ามาช่วยสูบน้ำ ให้ลดลงวันละ 1-2 เซนติเมตร แต่บริเวณโถง 3 น้ำยังคงท่วมขังอยุ่ โดยได้เตรียมขวดอากาศ 200 ขวด ไปใต้น้ำตลอดทางไปจนถึงบริเวณที่เด็ก ๆ อยู่[52] จากนั้นลำเลียงผู้ประสบภัย โดยให้สวมเวทสูท ขนาด 5 มิลลิเมตร และสวมเครื่องชุดหายใจแบบเต็มหน้าพิเศษที่มีท่อหน้ากากเต็มหน้าต่อกับขวดออกซิเจน เมื่อดำน้ำลงไปพร้อมขวดอากาศที่มีการปรับความกดอากาศ ทำให้ไม่ลอยขึ้นมา และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย โดย 1 คน จะมีนักดำน้ำลำเลียงไป ผู้ประสบภัยเพียงนอนอยู่นิ่ง ๆ ใช้ทีมงานเคลื่อนย้ายกว่า 100 คน ระหว่างทางจะมีการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะ[53]

การฟื้นฟูร่างกาย

เมื่อถึงห้องผู้ป่วย แพทย์ได้รับการประเมินระดับความรู้สึก สัญญาณชีพ และสภาพความอบอุ่นของร่างกาย มีการเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจวัดคลื่นหัวใจ และให้น้ำเกลือ ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก พิษสุนัขบ้า และมีการให้วิตามินบี 1 และยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำตามแผนการรักษา ผู้ป่วยชุดแรก 4 คน มีภาวะร่างกายอุณหภูมิต่ำ นำเครื่องให้ความอบอุ่น มี 2 คนมีความผิดปกติที่ปอด สงสัยว่าปอดอักเสบ และ 1 ราย มีแผลถลอกที่ข้อเท้าขวา ผู้ป่วยชุด 2 เมื่อแรกรับ ทุกคนอุณหภูมิร่างกายต่ำ และมี 1 คนอุณหภูมิร่างกายต่ำมากและมีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ แพทย์ให้ยาจนมีอาการปกติ เช้ารุ่งขึ้นทุกคนสดชื่นดี ตอบโต้ได้ ไม่มีไข้[54] และกลุ่มที่ 3 อีก 5 คน มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย[55]

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็ก ๆ มีน้ำหนักลดเฉลี่ย 2 กิโลกรัม[56] ยังอยู่ในอาการ Refeeding syndrome ยังไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้ทันที[57] แต่สามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้อย่างเช่น โจ๊ก สำหรับอาหารปกติน่าจะรับประทานได้ใน 10 วัน[58]

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการบากราตีออน ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการดาวน์ฟอล ปฏิบัติการเสาค้ำเมฆา ปฏิบัติการคอนดอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/806005 http://news20.busan.com/controller/newsController.... http://news.ch3thailand.com/abroad/72366 http://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscala... http://www.onbnews.com/post/23884 http://www.parismatch.com/Actu/International/Enfan... http://www.theguardian.com/world/2018/jul/05/rescu... http://www.theguardian.com/world/live/2018/jul/08/... http://www.visegradgroup.eu/news/babis-offers-help... http://www.mcot.net/view/5b35a8c3e3f8e4f6078614b6