ปมประสาทฐาน
ปมประสาทฐาน

ปมประสาทฐาน

ปมประสาทฐาน หรือ Basal ganglia[1][2] หรือ basal nuclei (nuclei basales, ตัวย่อ BG) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสที่อยู่ในเขตต่าง ๆ ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ทำกิจหน้าที่เป็นหน่วยเดียวกัน นิวเคลียสเหล่านั้นอยู่ที่ฐานของซีรีบรัม และมีการเชื่อมต่อกันอย่างหนาแน่นกับเปลือกสมอง ทาลามัส และเขตอื่น ๆ ในสมองbasal ganglia มีบทบาทในหน้าที่หลายอย่างรวมทั้ง การสั่งการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี (procedural learning) ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมซ้ำซากหรือพฤติกรรมเป็นนิสัย เป็นต้นว่าการขบฟัน การเคลื่อนไหวของตา กิจทางประชาน (cognitive functions) [3] และกิจที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก[4]ในปัจจุบัน ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมแสดงความเกี่ยวข้องของ basal ganglia ในการเลือกการกระทำ (action selection) ซึ่งก็คือ การตัดสินใจว่า ในบรรดาหลายพฤติกรรมที่เลือกได้ จะลงมือกระทำพฤติกรรมอะไรในเวลานั้น ๆ [3][5]งานวิจัยแบบทดลองแสดงว่า basal ganglia มีอิทธิพลแบบยับยั้ง (Inhibition) ในระบบสั่งการหลายระบบ และว่า เมื่อการยับยั้งนั้นมีการระงับ ระบบสั่งการหนึ่ง ๆ จึงจะสามารถเริ่มปฏิบัติการได้ การเลือกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใน basal ganglia ได้รับอิทธิพลจากสัญญาณจากส่วนต่าง ๆ จำนวนมากในสมอง รวมทั้ง prefrontal cortex ซึ่งมีบทบาทสำคัญใน executive functions[4][6]ส่วนประกอบหลักของ basal ganglia ก็คือ striatum (caudate nucleus และ putamen), globus pallidus (หรือเรียกว่า pallidum), substantia nigra, nucleus accumbens, และ subthalamic nucleus[7]แต่ละเขตที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่มีกายวิภาคและองค์ประกอบทางประสาทเคมีที่ซับซ้อนbasal ganglia มีบทบาทสำคัญในความผิดปกติทางประสาทหลายอย่าง รวมทั้ง การเคลื่อนไหวผิดปกติ (movement disorder) ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือโรคพาร์กินสัน ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ที่ผลิตโดพามีนใน substantia nigra pars compacta และอีกอย่างหนึ่งก็คือโรคฮันติงตัน ซึ่งโดยมากเกิดจากความเสียหายใน striatum[3][7] ความผิดปกติของ basal ganglia ก็เป็นเหตุของความผิดปกติในการควบคุมพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ ด้วย รวมทั้งกลุ่มอาการทัวเร็ตต์ (Tourette syndrome) การเหวี่ยงแขนขารุนแรงเหตุสมอง (hemiballismus) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) และโรควิลสัน (Wilson's disease)basal ganglia มีองค์ประกอบในระบบลิมบิกซึ่งมีชื่อต่างหาก คือ nucleus accumbens, ventral pallidum, และ ventral tegmental area (ตัวย่อ VTA) มีหลักฐานค่อนข้างจะมากที่แสดงว่า ส่วนของ basal ganglia ในระบบลิมบิกนี้ มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้อาศัยรางวัล (reinforcement) โดยเฉพาะในวิถีประสาทจาก ventral tegmental area ไปยัง nucleus accumbens ที่ใช้สารสื่อประสาทโดพามีน มีการสันนิษฐานว่า ยาที่มีระดับการเสพติดสูง รวมทั้ง โคเคน แอมเฟตามีน และนิโคตีน ออกฤทธิ์โดยเพิ่มประสิทธิภาพของโดพามีน และก็มีหลักฐานแสดงด้วยว่าในโรคจิตเภท มีการทำงานเกินส่วนของ VTA โดยการส่งสัญญาณด้วยโดพามีน[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปมประสาทฐาน http://www.elsevier.com/journals/basal-ganglia/221... http://sites.google.com/site/depressiondatabase/ http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://rad.usuhs.edu/medpix/medpix.html?mode=image... http://braininfo.rprc.washington.edu/Scripts/hierc... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3064519 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3122276 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10893428 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15159193 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15374668