การทดลองสามัญ ของ ประชาน

ตำแหน่งตามลำดับ (Serial position)

การทดลองแบบ "ตำแหน่งตามลำดับ (serial position)" หมายจะทดสอบทฤษฎีความจำที่อ้างว่า เมื่อให้ข้อมูลตามลำดับเรามักจะจำข้อมูลที่ต้นลำดับได้ ซึ่งเรียกว่า ปรากฏการณ์ต้นลำดับ (primacy effect)และจะจำข้อมูลที่ท้ายลำดับได้ ซึ่งเรียกว่า ปรากฏการณ์ความใหม่ (recency effect)ด้วยเหตุนั้น ข้อมูลที่กลางลำดับจึงมักจะลืม หรือไม่สามารถระลึกได้ง่ายเท่า

งานศึกษาแนวนี้ได้ชี้ว่า ปรากฏการณ์ใหม่สุดมีกำลังกว่าปรากฏการณ์ต้นลำดับ เพราะข้อมูลที่เรียนรู้ล่าสุดยังอยู่ในความจำใช้งาน (working memory) เมื่อให้ระลึกข้อมูลที่เรียนรู้ตั้งแต่ต้นก็ยังต้องผ่านกระบวนการระลึกถึงเป็นการทดลองที่มุ่งตรวจกระบวนการความจำของมนุษย์[22]

การจำคำได้ดีกว่า (Word superiority)

การทดลองนี้แสดงคำ หรืออักษรหนึ่งเดี่ยว ๆ เป็นช่วงระยะสั้น ๆ แก่ผู้ร่วมการทดลองเช่นเป็นระยะ 40 มิลลิวินาที แล้วให้ระลึกถึงอักษรที่อยู่ในตำแหน่งโดยเฉพาะในคำทฤษฎีพยากรณ์ว่า ผู้ร่วมการทดลองควรจะสามารถระลึกถึงอักษรที่ปรากฏในคำได้ถูกต้องกว่าอักษรที่ปรากฏโดด ๆงานทดลองนี้พุ่งความสนใจไปที่การพูดและการรู้ภาษาของมนุษย์[23]

Brown-Peterson

การทดลองบราวน์-ปีเตอร์สัน จะให้ผู้ร่วมการทดลองดู trigram (อาจเป็นหน่วยเสียง พยางค์ อักษร คำ) ต่อกัน 3 หน่วยชุดหนึ่งที่ใช้ในการทดลองแล้วก็จะให้งานที่สองเพื่อเบนความสนใจ คือให้กำหนดว่า คำต่าง ๆ ตามลำดับเป็นคำจริง ๆ หรือไม่ใช่คำ (เนื่องจากการสะกดผิดเป็นต้น)หลังจากนั้น ก็จะให้ระลึกถึง trigram ที่แสดงให้ดูก่อนงานเบนความสนใจโดยทฤษฎีแล้ว งานที่สองยิ่งยาวเท่าไร ก็จะระลึกถึง trigram ยากขึ้นเท่านั้นการทดลองนี้ทดสอบความจำระยะสั้นของมนุษย์[24]

ช่วงความจำ (Memory span)

ในการทดลองช่วงความจำ (memory span) ผู้ร่วมการทดลองจะได้ฟังลำดับสิ่งเร้าชนิดเดียวกันไม่ว่าจะเป็นคำ ตัวเลข หรือตัวอักษร บางครั้งที่ฟังดูคล้ายกัน และบางครั้งที่ฟังดูต่างกันหลังจากนั้น ก็จะให้ระลึกถึงลำดับสิ่งเร้าที่ได้ตามลำดับในรูปแบบหนึ่งของการทดลอง ถ้าสามารถระลึกรายการได้ถูกต้อง ก็จะให้ฟังรายการที่ยาวขึ้น 1 หน่วย ถ้าระลึกผิด ก็จะลดลง 1 หน่วยทฤษฎีก็คือว่า มนุษย์มีช่วงความจำสำหรับเลข 7 เบอร์ สำหรับอักษร 7 อักษรที่มีเสียงต่างกัน และคำ 7 คำสั้น ๆ โดยช่วงความจำจะน้อยกว่าถ้าอักษรมีเสียงคล้ายกัน หรือเป็นคำยาว ๆ[25]

การหาด้วยตา (Visual search)

ในรูปแบบหนึ่งของการหาด้วยตา (visual search) ผู้ร่วมการทดลองจะเห็นหน้าต่างคอมพิวเตอร์ที่แสดงรูปวงกลมและสี่เหลี่ยมจตุรัสกระจายไปทั่วและจะต้องกำหนดว่ามีวงกลมสีเขียวอยู่ในหน้าต่างหรือไม่

ในรูปแบบ "feature" (เด่น) ผู้ร่วมการทดลองจะเห็นหน้าต่างที่มีเหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลมสีน้ำเงิน (ซึ่งเป็นตัวเบนความสนใจ) กับวงกลมสีเขียวหรือไม่มีเลยส่วนในรูปแบบ conjunctive (เชื่อม) ผู้ร่วมการทดลองจะเห็นหน้าต่างที่มีวงกลมสีน้ำเงินหรือเหลี่ยมจตุรัสสีเขียว กับวงกลมสีเขียวหรือไม่มีเลยในรูปแบบทั้งสอง จะถามผู้ร่วมการทดลองว่ามีวงกลมสีเขียว (เป้าหมาย) ในหน้าต่างหรือไม่

สิ่งที่คาดหวังก็คือ ในรูปแบบเด่น เวลาการตอบสนอง ซึ่งก็คือเวลาที่ใช้เพื่อกำหนดว่ามีเป้าหมายหรือไม่ จะไม่เปลี่ยนเพิ่มตามจำนวนตัวเบนความสนใจที่เพิ่มขึ้นส่วนในรูปแบบเชื่อม การหาเป้าหมายจะใช้เวลานานกว่าเมื่อไม่มีเป้าหมาย

ทฤษฎีก็คือ ในแบบเด่น การหาว่ามีเป้าหมายหรือไม่จะง่ายเพราะสีของเป้าหมายจะต่างจากสีของตัวเบนความสนใจส่วนในแบบเชื่อม เมื่อไร้เป้าหมาย เวลาการตอบสนองจะเพิ่มเพราะต้องดูรูปแต่ละรูปเพื่อกำหนดว่าเป็นเป้าหมายหรือไม่เพราะตัวเบนความสนใจบางรูปมีสีเดียวกันกับเป้าหมายแต่ถ้ามีเป้าหมายก็จะใช้เวลาน้อยกว่า เพราะเมื่อพบเป้าหมายก็จะไม่ต้องดูรูปที่เหลือ[26]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาน http://psychology.about.com/od/profilesofmajorthin... http://www.elsevier.com/wps/find/journaldescriptio... http://web.mac.com/kstanovich/iWeb/Site/YUP_Review... http://www.oxforddictionaries.com/definition/engli... http://www.physorg.com/news194023346.html http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=t... http://news.softpedia.com/news/The-Limits-of-Human... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10540805 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11436742 http://www.cognitie.nl/