ในจิตวิทยา ของ ประชาน

กระบวนการทางจิตใจที่เรียกว่า "ประชาน" ได้อิทธิพลจากงานวิจัยที่ได้ใช้แนวคิดเช่นนี้อย่างสำเร็จผลในอดีตโดยน่าจะเริ่มตั้งแต่ทอมัส อไควนัสผู้ได้แบ่งการศึกษาพฤติกรรมออกเป็นหมวดหมู่กว้าง ๆ สองอย่าง คือcognitive (ว่าเรารู้สิ่งรอบตัวได้อย่างไร) และ affective (ว่าเรารู้เรื่องรอบตัวผ่านความรู้สึกและอารมณ์ได้อย่างไร)[ต้องการอ้างอิง]เพราะเหตุนั้น คำเช่นนี้มักจะใช้กับกระบวนต่าง ๆ รวมทั้งความจำ การสัมพันธ์แนวคิด (association of Ideas) การสร้างแนวคิด (concept formation) การรู้จำแบบ ภาษา การใส่ใจ การรับรู้ (perception) การกระทำ การแก้ปัญหา และจินตภาพ[18][19]

โดยประวัติแล้ว อารมณ์ (emotion) ไม่รวมว่าเป็นกระบวนการทางประชานแต่การแบ่งเช่นนี้ทุกวันนี้มองว่าเป็นเรื่องสร้างขึ้น และงานวิจัยในปัจจุบันก็กำลังตรวจสอบอารมณ์โดยเป็นส่วนของจิตวิทยาปริชานงานวิจัยยังรวมการสำนึกถึงกลยุทธ์และวิธีการรับรู้ของตนเองที่เรียกว่า metacognition พร้อมทั้ง metamemoryงานวิจัยเชิงหลักฐานในเรื่องประชานมักจะทำในรูปแบบวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ ซึ่งรวมการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายหรือพรรณนาถึงพฤติกรรมบางอย่าง

แม้อาจยังมีคนที่ปฏิเสธว่ากระบวนการทางประชานเกิดที่สมอง แต่ทฤษฎีทางประชานก็ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงสมองหรือกระบวนการทางชีววิทยาอื่น ๆ เพราะศาสตร์กล่าวถึงพฤติกรรมโดยเป็นการดำเนินไปของข้อมูลหรือการทำงานโดยมีสาขาภายหลังบางอย่าง เช่น ประชานศาสตร์และประสาทจิตวิทยา ที่หมายจะเชื่อมช่องว่างนี้คือใช้หลักทางประชานเพื่อให้เข้าใจว่าสมองทำหน้าที่ประมวลข้อมูลเช่นนี้ได้อย่างไรหรือระบบประมวลข้อมูลแท้ ๆ (เช่น คอมพิวเตอร์) สามารถเลียนแบบกระบวนการทางประชานได้อย่างไร (ดูบทความปัญญาประดิษฐ์)

สาขาจิตวิทยาที่ศึกษาการบาดเจ็บในสมองเพื่ออนุมานหน้าที่ทางประชานที่เป็นปกติเรียกว่า cognitive neuropsychology ความสัมพันธ์ของประชานกับความกดดันทางวิวัฒนาการ จะศึกษาผ่านกระบวนการทางประชานของสัตว์และในทางกลับกัน มุมมองทางวิวัฒนาการก็สามารถชี้สมมติฐานเกี่ยวกับจิตวิทยาวิวัฒนาการในภาวะสมองเสื่อม กระบวนการทางประชานจะเสียหายอย่างรุนแรง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาน http://psychology.about.com/od/profilesofmajorthin... http://www.elsevier.com/wps/find/journaldescriptio... http://web.mac.com/kstanovich/iWeb/Site/YUP_Review... http://www.oxforddictionaries.com/definition/engli... http://www.physorg.com/news194023346.html http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=t... http://news.softpedia.com/news/The-Limits-of-Human... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10540805 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11436742 http://www.cognitie.nl/