นโยบายการต่างประเทศและการอาณานิคม ของ พระเจ้าชาลส์ที่_2_แห่งอังกฤษ

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1662 พระเจ้าชาลส์อภิเษกสมรสที่มหาวิหารพอร์ทสมัธกัยเจ้าหญิงแคเธอรินแห่งบราแกนซาจาก[3]โปรตุเกส ผู้ที่ทรงมากับสินสมรสที่ประกอบด้วยอาณานิคมบอมเบย์ และ ทานเจียร์ ในปีเดียวกันพระเจ้าชาลส์ก็ทรงขายดังเคิร์คซึ่งขัดกับความนิยมโดยทั่วไปเพราะดังเคิร์คเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่จุดยุทธศาตร์สำคัญของอังกฤษบนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป แต่เป็นเมืองที่ต้องทรงเสียค่าบำรุงรักษาสูง[30] ที่ต้องทรงจ่ายให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสเป็นจำนวน £375,000 ต่อปี[31]

เพื่อเป็นการแสดงความขอบใจในการที่ขุนนางบางคนช่วยให้พระองค์ได้ราชบัลลังก์คืนพระเจ้าชาลส์พระราชทานดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือในบริเวณที่ขณะนั้นเรียกว่าแคว้นแคโรไลนา (Province of Carolina) ที่ขนานนามตามพระราชบิดาให้แก่ขุนนางแปดคนที่รู้จักกันในชื่อ “Lords Proprietors” ในปี ค.ศ. 1663

พระเจ้าชาลส์ที่ 2

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เสียผลประโยชน์ทางการค้าเป็นอันมากจากการที่อังกฤษบังคับใช้พระราชบัญญัติการใช้เรือในการค้าขายกับอาณานิคมที่ออกในปี ค.ศ. 1650 ที่จำกัดการใช้ต่างประเทศในการค้าขายกับอาณานิคม ซึ่งทำให้อังกฤษมีเอกสิทธิในการใช้เรือของตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ. 1652 ถึงปี ค.ศ. 1654 ส่วนสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1665 ถึงปี ค.ศ. 1667 เริ่มด้วยการที่อังกฤษพยายามขยายอำนาจในดินแดนที่เป็นของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาเหนือ ความขัดแย้งเริ่มด้วยดีสำหรับฝ่ายอังกฤษโดยการยึดนิวอัมสเตอร์ดัม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์กเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอนุชาเจมส์ผู้ทรงมีตำแหน่งเป็น “ดยุกแห่งยอร์ก”) และชัยชนะในยุทธการที่โลว์สตอฟต์แต่ในปี ค.ศ. 1667 ฝ่ายเนเธอร์แลนด์โจมตีอังกฤษในการจู่โจมที่เม็ดเวย์ (Raid on the Medway) โดยที่ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ล่องเรือขึ้นแม่น้ำเทมส์ขึ้นมาตรงจุดที่กองเรืออังกฤษเทียบ เรือเกือบทั้งหมดถูกล่มยกเว้นแต่เรือธง “เรือรบหลวงสมเด็จพระเจ้าชาลส์” ที่ถูกนำกลับไปตั้งแสดงที่เนเธอร์แลนด์[32] สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเบรดา) ในปี ค.ศ. 1667

หลังจากแพ้สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองพระเจ้าชาลส์ก็ทรงใช้เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเรนดันเป็นแพะรับบาปโดยทรงปลดจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี[33] และตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต แคลเร็นดอนจึงหลบหนีไปฝรั่งเศส อำนาจการเมืองจึงตกไปเป็นของกลุ่มนักการเมืองห้าคนที่เรียกว่า องคมนตรีคาบาลที่ประกอบด้วยทอมัส คลิฟฟอร์ด บารอนคลิฟฟอร์ดที่ 1, เฮนรี เบ็นเน็ท เอิร์ลแห่งอาร์ลิงตันที่ 1, จอร์จ วิลเลียรส์ ดยุกแห่งบัคคิงแฮมที่ 2, แอนโทนี แอชลีย์ คูเปอร์ เอิร์ลแห่งชาฟส์บรีที่ 1 และ จอห์น เมทแลนด์ ดยุกแห่งลอเดอร์เดลที่ 1 องคมนตรีคาบาลมิได้ประสานการทำงานกันอย่างดีเสมอไป ราชสำนักมักจะแบ่งเป็นสองฝ่าย ๆ หนึ่งนำโดยเอิร์ลแห่งอาร์ลิงตันและอีกฝ่ายหนึ่งโดยดยุกแห่งบัคคิงแฮม โดยที่อาร์ลิงตันมีภาษีดีกว่า[34]

ในปี ค.ศ. 1668 อังกฤษไปเป็นพันธมิตรกับสวีเดนและเนเธอร์แลนด์ศัตรูเก่าในการเป็นต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสในสงครามขยายดินแดนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระเจ้าหลุยส์ทรงทำสัญญาสันติภาพกับกลุ่มสามพันธมิตร ใน ค.ศ. 1668 แต่ก็ยังทรงมีความเป็นปฏิปักษ์ต่อเนเธอร์แลนด์

ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงพยายามแก้ปัญหาทางการเงินของพระองค์โดยการลงพระนามตกลงในสนธิสัญญาโดเวอร์กับสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ระบุว่าพระเจ้าหลุยส์ต้องจ่ายเงินให้พระองค์เป็นจำนวน £160,000 ต่อปีเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่ทรงส่งกองทหารให้สมเด็จพระเจ้าหลุยส์และการประกาศว่าจะทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก “ทันทีที่สถานะการณ์ในพระราชอาณาจักรของพระองค์เปิดโอกาสให้ทรงทำ”[35] และสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ทรงตกลงที่จะส่งกองทหารจำนวน 6,000 คนไปกำหราบผู้ขัดแย้งต่อการเปลี่ยนศาสนาของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ทรงกำชับให้เก็บสนธิสัญญาเป็นความลับโดยเฉพาะในส่วนที่ทรงตั้งใจที่จะเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก[36] แต่ก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์จะทรงตั้งพระทัยที่จะเปลี่ยนนิกายจริงหรือไม่[18]

ขณะเดียวกันพระเจ้าชาลส์พระราชทานลิขสิทธิ์ให้แก่ บริษัทบริติชอีสต์อินเดีย (British East India Company) ในการแสวงหาอาณานิคม, ในการพิมพ์เงิน, ในการรักษาป้อมและกองทหาร, ในการสร้างพันธมิตร, ในการสร้าสงครามและสันติภาพและในการมีอำนาจทางด้านการศาลทั้งทางคดีแพ่งและคดีอาญาในบริเวณการปกครองที่ได้มาในอินเดีย[37] เมื่อต้นปี ค.ศ. 1668 พระเจ้าชาลส์ทรงให้เกาะบอมเบย์เช่าเป็นจำนวนเพียง £10 ที่จ่ายด้วยทองคำ[38] ดินแดนในการยึดครองของโปรตุเกสในอินเดียที่พระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซานำมาเมื่อเสกสมรสก็แพงเกินกว่าที่จะบำรุงรักษาได้ ในที่สุดก็ทรงละทิ้งทานเจียร์[39]

ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ก็พระราชทานใบอนุญาตในการก่อตั้งบริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) ซึ่งกลายมาเป็นบริษัทที่เก่าที่สุดในประเทศแคนาดา ที่เริ่มด้วยกิจการการค้าขายขนสัตว์ที่ทำเงินได้ดีกับชนพื้นเมือง และในที่สุดก็ได้เป็นเจ้าของปกครองที่ดินอาณานิคมในบริเวณประมาณ 7,770,000 ตารางกิโลเมตร (3,000,000 ตารางไมล์) ของทวีปอเมริกาเหนือ[40]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าชาลส์ที่_2_แห่งอังกฤษ http://www.hbc.com/hbcheritage/history/ http://www.oxforddnb.com/public/themes/95/95647.ht... http://www.oxforddnb.com/view/article/5144 //doi.org/10.1093%2Fref:odnb%2F5144 http://www.gutenberg.org/etext/17221 http://www.british-history.ac.uk/report.asp?compid... http://www.british-history.ac.uk/report.asp?compid... http://www.british-history.ac.uk/report.aspx?compi... http://www.bl.uk/learning/histcitizen/trading/bomb... http://www.royal.gov.uk/HistoryoftheMonarchy/Kings...