การฟื้นฟูราชวงศ์ ของ พระเจ้าชาลส์ที่_2_แห่งอังกฤษ

ดูบทความหลักที่ การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1660

หลังจากครอมเวลล์ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658 ในระยะแรกก็ดูเหมือนว่าโอกาสในการที่พระเจ้าชาลส์จะได้กลับมาครองราชบัลลังก์อังกฤษก็เหมือนจะไม่มีเพราะริชาร์ด ครอมเวลล์สืบตำแหน่งในฐานะ “เจ้าผู้อารักขา” ต่อจากบิดา แต่ริชาร์ดไม่มีสมรรภาพทั้งทางการปกครองและทางทหารในที่สุดก็ต้องลาออกในปี ค.ศ. 1659 รัฐบาลผู้อารักขาจึงถูกยุบเลิก หลังจากนั้นบ้านเมืองก็เกิดความระส่ำระสาย จนจอร์จ มองค์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบอมาร์ลข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์มีความหวาดกลัวว่าบ้านเมืองจะกลายเป็นอนาธิปไตย[14] มองค์จึงยกทัพลงมานครลอนดอนและบังคับให้รัฐสภารัมพ์เรียกสมาชิกรัฐสภายาวกลับมาทำหน้าที่ตามเดิมยกเว้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1648 ระหว่างการยึดรัฐสภาของไพรด์ ในที่สุดรัฐสภายาวก็ยุบตัวเองหลังจากที่อยู่ในสมัยประชุมมากว่ายี่สิบปีโดยไม่มีการปิดประชุม และเปิดการเลือกตั้งทั่วไป[15] ก่อนที่รัฐบาลจะลาออกก็ได้ออกกฎการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเพื่อที่จะพยายามให้ได้เสียงข้างมากเป็นฝ่ายเพรสไบทีเรียน[16]

ถึงจะมีกฎเกี่ยวกับผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ก็ไม่มีผู้สนใจปฏิบัติตามข้อจำกัดที่มาจากฝ่ายนิยมกษัตริย์เท่าใดนัก ผลของการเลือกตั้งของสมาชิกรัฐสภาระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมและฝ่ายสภานิยมจีงมีจำนวนพอ ๆ กัน และทางศาสนาระหว่างอังกลิคันและเพรสไบทีเรียนก็เช่นกัน[16] สภาใหม่ที่รู้จักกันในชื่อรัฐสภาคอนเวนชันเริ่มสมัยประชุมแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1660 และไม่นานหลังจากนั้นก็ได้ข่าวการลงพระนามของพระเจ้าชาลส์ในสนธิสัญญาเบรดาที่ในข้อหนึ่งระบุว่าจะพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ที่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชบิดา รัฐสภาอังกฤษจึงอนุมัติให้ประกาศพระเจ้าชาลส์เป็นพระมหากษัตริย์และอัญเชิญพระองค์กลับมาจากการลี้ภัย พระองค์ทรงได้รับข่าวนี้ที่เบรดาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1660[17] ส่วนในไอร์แลนด์ก็มีการเรียกประชุมตอนต้นปีและในวันที่ 14 พฤษภาคม ไอร์แลนด์ก็ประกาศให้พระเจ้าชาลส์เป็นพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์[18]

พระเจ้าชาลส์จึงเสด็จกลับอังกฤษโดยเสด็จขึ้นฝั่งที่โดเวอร์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จมาถึงลอนดอนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันแรกของ “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” และเป็นวันเดียวกับวันครบรอบวันพระราชสมภพครบ 30 พรรษา แม้ว่าพระเจ้าชาลส์และรัฐสภาจะประกาศให้อภัยโทษแก่ผู้สนับสนุนครอมเวลล์ตามที่ระบุใน “พระราชบัญญัติการให้อภัยโทษแก่ผู้คิดร้ายต่อพระเจ้าชาลส์ที่ 1” (Act of Indemnity and Oblivion) แต่พระราชบัญญัติมิได้ให้อภัยโทษแก่ผู้เป็นปฏิปักษ์ 50 คนที่มีบทบาทในการปลงพระชนม์[19] ในที่สุด 9 คนในบรรดาผู้มีชื่อในรายนามผู้ปลงพระชนม์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 ก็ถูกประหารชีวิต[20] โดยการแขวนคอ ควักใส้และผ่าสี่ตามบทการลงโทษฐานกบฏต่อแผ่นดิน ผู้อื่นในรายการถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือถูกปลดจากหน้าที่ราชการตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วก็ถูกขุดร่างขึ้นมาลงโทษซึ่งรวมทั้งร่างของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์, เฮนรี ไอร์ตัน และจอห์น แบรดชอว์ (John Bradshaw) [21]

พระเจ้าชาลส์ทรงยอมยกเลิกระบบเจ้าขุนมูลนายต่าง ๆ ที่ได้รับการนำกลับมาใช้โดยพระราชบิดา เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลก็อนุมัติค่าใช้จ่ายให้แก่พระองค์เป็นจำนวน £1,200,000 ต่อปี ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการเก็บภาษีศุลกากรที่เก็บมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาล แต่เงินจำนวนที่ว่านี้ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายของพระองค์จนตลอดรัชสมัย จำนวนเงินดังกล่าวเป็นจำนวนที่ระบุไว้ว่าเป็นจำนวนสูงสุดเท่าที่จะทรงเบิกได้จากรัฐบาล แต่ตามความเป็นจริงแล้วรัฐบาลมีรายได้น้อยกว่าจำนวนที่ระบุมาก ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดการสร้างหนี้อย่างมหาศาลซึ่งเป็นผลให้รัฐบาลต้องพยายามหากลวิธีต่าง ๆ ในการหารายได้เพิ่มรวมทั้งการเรียกเก็บภาษีท้องถิ่น ภาษีที่ดิน และ ภาษีปล่องไฟเป็นต้น

ในครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1660 ความสุขของพระเจ้าชาลส์ในการที่ได้กลับมาครองราชบัลลังก์ก็ต้องมาหยุดชะงักลงเมื่อเฮนรี สจวต ดยุกแห่งกลอสเตอร์พระอนุชาองค์สุดท้องและเจ้าหญิงแมรีพระขนิษฐามาสิ้นพระชนม์ไม่นานจากกันนักด้วยฝีดาษ ในขณะเดียวกันแอนน์ ไฮด์บุตรสาวของอัครมหาเสนาบดีเอ็ดเวิร์ด ไฮด์ก็ประกาศว่ามีครรภ์กับเจ้าชายเจมส์พระอนุชา และทั้งสองได้ทำการแต่งงานกันอย่างลับ ๆ เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ผู้ไม่ทราบทั้งเรื่องการแต่งงานและการมีครรภ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอิร์ลแห่งแคลเรนดัน[22]

รัฐสภาคอนเวนชันถูกยุบเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1661 รัฐสภาที่สองของรัชสมัยก็เริ่มสมัยประชุม รัฐสภานี้เรียกว่า “รัฐสภาคาวาเลียร์” เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้นิยมกษัตริย์และเป็นอังกลิคัน จุดหมายก็เพื่อเพิ่มความมั่นคงและความมีอิทธิพลของอังกลิคันโดยการผ่านพระราชบัญญัติหลายฉบับ รวมทั้งฉบับสำคัญสี่ฉบับที่ได้แก่:

พระราชบัญญัติการชมรมและพระราชบัญญัติห้าไมล์บังคับใช้ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ พระราชบัญญัติทั้งสี่เรียกรวมกันว่า “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” ตามชื่อเอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอน แม้ว่าแคลเร็นดอนเองจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกพระราชบัญญัติก็ตาม และนอกจากนั้นก็ยังทำการปราศัยต่อต้านพระราชบัญญัติห้าไมล์เองอีกด้วย[24]

กาฬโรคและเพลิงไหม้

ดูบทความหลักที่ โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน และ อัคคีภัยครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666

ภาพวาดเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 โดยจิตรกรนิรนามแสดงเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในช่วงเย็นวันอังคาร โดยมองจากเรือที่อยู่ใกล้ ๆ อู่เรือแคเธอริน หอคอยลอนดอนอยู่ด้านขวาและสะพานลอนดอนอยู่ด้านซ้าย ในภาพจะเห็นมหาวิหารเซนต์พอลอยู่ท่ามกลางวงล้อมของเปลวเพลิงที่สูง

ในปี ค.ศ. 1665 พระเจ้าชาลส์ทรงต้องประสบวิกฤติการณ์สองอย่าง: โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตในช่วงที่สูงที่สุดในอาทิตย์ที่ 17 กันยายนเป็นจำนวนถึง 7,000 คน[25] พระเจ้าชาลส์และครอบครัวเสด็จหนีการระบาดของโรคจากลอนดอนไปประทับที่ซอลท์สบรีทางใต้ของอังกฤษในเดือนกรกฎาคม; ส่วนรัฐสภาย้ายไปตั้งอยู่ที่ออกซฟอร์ด[26] ความพยายามต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะหยุดยั้งการเผยแพร่ของโรคระบาดล้มเหลว โรคก็ยังระบาดอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป[27]จนกระทั่งเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่

นอกไปจากการระบาดของกาฬโรคแล้วลอนดอนก็ยังประสบความเสียหายอย่างหนักจากเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันว่า “เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน” ที่เริ่มเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1666 ซึ่งเป็นการหยุดยั้งการระบาดของกาฬโรคไปในตัว ไฟครั้งนี้ไหม้บ้านเรือนไปทั้งสิ้น 13,200 หลังและคริสต์ศาสนสถานอีก 87 แห่งรวมทั้งมหาวิหารเซนต์พอล[28] พระเจ้าชาลส์และพระอนุชาเจมส์ทรงบริหารและช่วยในการหยุดยั้งเพลิงไหม้ด้วยพระองค์เอง ประชาชนกล่าวหาว่านิกาย[[]]มีส่วนในการทำให้เกิดเพลิงไหม้[29] แต่อันที่จริงแล้วสาเหตุที่แท้จริงไฟเริ่มที่ร้านอบขนมปังที่ซอยพุดดิง[28]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าชาลส์ที่_2_แห่งอังกฤษ http://www.hbc.com/hbcheritage/history/ http://www.oxforddnb.com/public/themes/95/95647.ht... http://www.oxforddnb.com/view/article/5144 //doi.org/10.1093%2Fref:odnb%2F5144 http://www.gutenberg.org/etext/17221 http://www.british-history.ac.uk/report.asp?compid... http://www.british-history.ac.uk/report.asp?compid... http://www.british-history.ac.uk/report.aspx?compi... http://www.bl.uk/learning/histcitizen/trading/bomb... http://www.royal.gov.uk/HistoryoftheMonarchy/Kings...