การรับรู้และประวัติศาสตร์ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

การใช้แหล่งข้อมูลทางพระพุทธศาสนาในการประติดประต่อพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมีอิทธิพลอย่างมากต่อการรับรู้ถึงพระองค์ รวมไปถึงการตีความคำสั่งสอนของพระเจ้าอโศก นักวิชาการก่อนหน้านั้นยกย่องพระเจ้าอโศกในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ชาวพุทธที่สำคัญผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและรับภาระอย่างกระตือรือร้นในการช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา

นักวิชาการชื่อ Romila Thappar เขียนเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก ว่า พวกเราต้องการเห็นพระองค์ทั้งในฐานะรัฐบุรุษในบริบทของการสืบทอดและการคงไว้ซึ่งอาณาจักรในยุคประวัติศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงและในฐานะบุคคลที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการเผยแผ่ของ จริยธรรมทางสังคม โองการของพระเจ้าอโศกเป็นแหล่งข้อมูลแหล่งเดียวเท่านั้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและแหล่งข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าพระเจ้าอโศกเป็นชาวพุทธ ในพระบรมราชองการของพระองค์ พระเจ้าอโศกทรงแสดงออกถึงการสนับสนุนศาสนาใหญ่ใหญ่ทั้งหมดในยุคของพระองค์ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเชน และศาสนาอาชีวก Ajivikaism ในพระบรมราชโองการของพระองค์ที่ส่งไปยังพื้นที่ที่มีประชากรขนาดใหญ่ โดยทั่วไปพระองค์มุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางศีลธรรมที่สมาชิกของทุกศาสนายอมรับได้ และ Amartya Sen เขียนไว้ว่า จักรพรรดิชาวอินเดียพระนามว่าอโศกในปีที่ 300 ก่อนคริสตกาล นำเสนอจารึกทางการเมืองจำนวนมากในการสนับสนุนความอดทนและเสรีภาพของแต่ละบุคคล ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐและในความสัมพันธ์ของประชาชนที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามพระบรมราชโองการได้ระบุชี้ชัดลงไปว่าพระองค์เป็นชาวพุทธ ในพระบรมราชโองการหนึ่งบรรยายพิธีกรรมที่เล็กน้อยของพระองค์และพระองค์ทรงห้ามการบูชายัญด้วยสัตว์ตามคัมภีร์พระเวท ข้อมูลที่หนักแน่นเหล่านี้ทำให้เห็นว่าพระองค์อย่างน้อยก็ไม่ได้มองไปที่แนวทางตามคัมภีร์พระเวท นอกจากนั้นโองการจำนวนมากก็ได้แสดงถึงความเป็นชาวพุทธของพระองค์ หนึ่งในพระบรมราชโองการพระเจ้าอโศกทรงประกาศพระองค์เองว่าเป็นอุบาสก upasaka และในที่อื่นๆพระองค์แสดงให้เห็นถึงความสนิทสนมใกล้ชิดโดยข้อความทางพระพุทธศาสนา พระองค์สร้างศิลาจารึกเรียกว่าเสาอโศก ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสังเวชนียสถาน แต่ไม่ปรากฏว่าพระองค์ทำอย่างนั้นในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอื่น พระองค์ยังใช้คำว่าธรรมะ dhamma สำหรับการสั่งสอนอันจะนำไปสู่คุณภาพของจิตใจเพื่อจะรองรับการกระทำที่ประกอบด้วยศีลธรรม นี่เป็นการใช้คำของชาวพุทธอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างไรก็ตามพระองค์ใช้คำในด้านเชิงจิตวิญญาณมากกว่าวินัยที่เข้มงวด Romila Thappar เขียนว่าธรรมะของพระองค์ไม่ได้ส่งมาจากแรงบันดาลใจจากพระเจ้า ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการปฏิบัติตามพันธสัญญาจากสวรรค์ สวรรค์ ธรรมะของพระองค์สอดคล้องกับด้วยคุณธรรมแบบมีเหตุผลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตรรกะทางธรรมของพระองค์มุ่งประสงค์ไปที่ความเต็มใจปฏิบัติตามระเบียบวินัยของประชาชนในความปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ที่ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยกัน


ตำนานอโศก

จนกระทั่งจารึกของพระเจ้าอโศกถูกค้นพบและถูกถอดรหัส เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกอยู่บนฐานข้อมูลเชิงตำนานของพระชนม์ชีพของพระองค์และไม่เคร่งครัดตามความจริงทางประวัติศาสตร์ ตำนานเหล่านั้นถูกพบในแหล่งข้อมูลต้นฉบับทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นทำนองเดียวกับข้อความของอโศกาวทาน อโศกาวทานเป็นชุดย่อยของชุดใหญ่ของตำนานในติวิยาวทาน (Divyavadana)ต่อไปนี้คือตำนานเล่าเรื่องในอโศกาวทานเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก:

1) หนึ่งของเรื่องที่พูดถึงกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพระชนม์ชีพในอดีตชาติของพระเจ้าอโศก คือ เมื่อพระองค์เป็นกุมารน้อย นามว่า ชะยะ (Jaya) ในขณะนั้น ชยกุมารกำลังเล่นอยู่ที่ริมถนน พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง กุมารก็หยิบดินเต็มกำมือใส่ในชามขอทาน (บาตร) ของพระพุทธเจ้าถวายเป็นทานเพื่อประกาศความปรารถนาของตนที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่และเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า กล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์ การแย้มนั้น ได้ส่องสว่างทั่วจักรวาลพร้อมด้วยรัศมีแห่งแสงสว่าง รัศมีแห่งแสงสว่างเหล่านั้นมีแล้วก็กล่าวถึงการเข้าไปสู่อุ้มพระหัตถ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า มีความหมายว่าชยกุมารนี้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต พระพุทธเจ้าได้ทรงหันไปตรัสกับพระอานนท์ศิษย์ของพระองค์ และตรัสพยากรณ์ว่ากุมารนี้จะได้เป็นจักรพรรดิทรงธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ปกครองจักรวรรดิจากเมืองหลวงปาฏลีบุตร

2) เรื่องราวอื่น ๆ มุ่งพรรณนาพระเจ้าอโศกในแบบคนชั่วร้ายเพื่อถ่ายทอดความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของเขาให้เป็นคนดีเมื่อรับเอาพระพุทธศาสนา เริ่มต้นโดยระบุว่าความน่าเกลียดทางร่างกายของพระเจ้าอโศกทำให้พระองค์ไม่เป็นที่ชอบพระทัยของพระราชบิดาคือพระเจ้าพินทุสาร พระเจ้าอโศกต้องการที่จะเป็นพระมหากษัตริย์และดังนั้นพระองค์จึงกำจัดองค์รัชทายาทโดยการล่อลวงให้เข้าไปสู่หลุมที่เต็มด้วยถ่านเพลิง พระองค์กลายเป็นผู้ที่รู้จักในชื่อ จัณฑาโศก พระเจ้าอโศกผู้ดุร้าย เพราะธรรมชาติที่ดุร้ายและอารมณ์ที่ดุร้ายของพระองค์ กล่าวกันว่าจะต้องมีการอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีเพื่อทดสอบความจงรักภักดี แล้วมี 500 คนเสียชีวิตเพราะความล้มเหลว กล่าวกันว่าพระองค์ได้ให้เผาฮาเร็มทั้งหมดอันนำไปสู่ความตายเมื่อผู้หญิงบางคนในนั้นได้ดูถูกพระองค์ พระองค์อาจจะได้รับความสุขที่ซาดิสจากการมองดูคนอื่นที่ทุกข์ทรมาน และนี่ พระองค์สร้างพระองค์ห้องทรมานที่ลึกลับซับซ้อนและน่ากลัวของพระองค์เอง อันเป็นสถานที่ซึ่งพระองค์ทรงหัวเราะขบขันจากการมองดูการทรมานคน เรื่องราวเล่าต่อว่าเป็นอย่างไรหลังจากพบปะกับพระภิกษุสงฆ์ผู้เคร่งศาสนาคือพระเจ้าอโศกก็เปลี่ยนแปลงไปสู่พระเจ้าอโศกผู้เคร่งศาสนา หลวงจีนนักเดินทางชาวจีนผู้ได้ไปเยี่ยมเยียนประเทศอินเดียในปีคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ พระถังซัมจั๋งหรือเสวียนจั้งได้บันทึกในบันทึกความทรงจำของเขาว่าเขาได้ไปเยี่ยมเยียนสถานที่เป็นห้องทรมานซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่

3) เรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันนำไปสู่จุดอวสานแห่งช่วงเวลาของพระเจ้าอโศกในโลก กล่าวกันว่าพระเจ้าอโศกพระราชทานงบประมาณในท้องพระคลังเพื่อภิกษุสงฆ์ อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีของพระองค์เห็นว่า ความผิดปกติพระองค์อาจจะนำไปสู่ความตกต่ำของจักรวรรดิและ ดังนั้นจึงได้งดการเข้าถึงสมบัติในท้องพระคลังผลก็คือพระเจ้าอโศกได้เริ่มพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนตัวของพระองค์อย่างเป็นประจำและในท้ายที่สุดพระองค์ไม่ทรงเหลืออะไรไว้และเสด็จสวรรคตอย่างสงบ

ณ จุดนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่า Ashokavadana เป็นข้อความทางพุทธศาสนาในตัวเอง พยายามที่จะได้รับการเปลี่ยนศาสนาเป็นชาวพุทธใหม่ ๆ โดยอาศัยตำนานเหล่านี้ทั้งหมด ความจงรักภักดีต่อพระพุทธศาสนาและความจงรักภักดีต่อพระสงฆ์ถูกเน้นหนัก ตำราดังกล่าวเพิ่มความเข้าใจว่าอโศกเป็นพระมหากษัตริย์ที่เหมาะสำหรับชาวพุทธที่สมควรได้รับความชื่นชมและการเลียนแบบ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร