แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

จารึกพระนาม 𑀅 = อะ, 𑀲𑁄 = โส, 𑀓 = ก, (a - so - k )ในศิลาจารึกอักษรพราหมีในพระบรมราชโองการแห่งไมน่าร์เมืองมาสกี้ (Minor Rock Edicts) รัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียโองการแห่งกันดะฮาร์ของพระเจ้าอโศก, จารึกสองภาษา (ภาษากรีกและภาษาแอราเมอิก) โดยพระเจ้าอโศก, ถูกค้นพบที่ กันดะฮาร์ (พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอัฟกานิสถาน)

พระเจ้าอโศกเกือบจะถูกลืมโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษในช่วงต้น แต่เจมส์ปริ๊นเซส James Prinsep มีส่วนร่วมในการเปิดเผยแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์คนอื่นที่สำคัญคือนักโบราณคดีชาวอังกฤษ John Hubert Marshall ผู้เป็นอธิบดีแห่งกรมสำรวจโบราณสถานของอินเดีย ความสนใจหลักหลักของเขาคือสถูปสาญจี Sanchi และสารนาถ Sarnath รวมทั้งเมืองฮารับปา Harappa และโมเฮนโจดาโร Mohenjodaro เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม Sir Alexander Cunningham นักโบราณคดีชาวอังกฤษและวิศวกรกองทัพซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นบิดาแห่งการสำรวจโบราณคดีของอินเดียได้เปิดเผยชื่อสถานที่มรดกทางวัฒนธรรมเช่นสถูปบาร์ฮัต Bharhut สถูปสาญจี Sanchi และเจดีย์มหาโพธิ Mahabodhi Temple นักโบราณคดีชาวอังกฤษ Mortimer Wheeler ยังเปิดเผยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของพระเจ้าอโศกโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองตักสิลา Taxila

ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและการครองราชย์ของพระเจ้าอโศกมาจากแหล่งข้อมูลพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับพระองค์ โดยเฉพาะคัมภีร์สันสกฤตอโศกาวทาน(เรื่องราวของพระเจ้าอโศก)เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 2 และพงศาวดารบาลี 2 เล่มของประเทศศรีลังกาคือคัมภีร์ทีปวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์ (the Dipavamsaand Mahavamsa) ให้ข้อมูลที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบันเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก ข้อมูลเพิ่มเติมถูกเปิดเผยโดยศิลาจารึกที่เรียกว่า พระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศก Edicts of Ashoka เป็นการบันทึกที่น่าเชื่อถือในที่สุดถึงพระเจ้าอโศกกษัตริย์ตำนานชาวพุทธหลังจากการค้นพบบัญชีรายนามพระราชวงศ์ที่ปรากฏพระนามสำหรับลงพระนามในพระบรมราชโองการคือ ปริยทรรศี (Priyadarshi—พระองค์ผู้เป็นที่เคารพของทุก ๆ คนด้วยความรัก) อันเป็นพระนามที่ขึ้นต้นหรือพระนามสร้อยของพระเจ้าอโศกเมารยะ ซากโบราณสถานแห่งยุคของพระองค์ได้ถูกค้นพบที่ Kumhrar, Patna รวมไปถึงเสาศิลา 80 ต้นของหอประชุม (80-pillar hypostyle hall)

Edicts of Ashoka - พระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกเป็นจารึกมี 33 ชุด collection บนเสาศิลาของพระเจ้าอโศก Pillars of Ashoka เช่นเดียวกับบนแผ่นหินและบนผนังถ้ำ ซึ่งจารึกขึ้นในช่วงยุคของรัชกาลของพระองค์ จารึกเหล่านี้ถูกพบแพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศปากีสถานและประเทศอินเดียในทุกวันนี้ แสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีอยู่จริงครั้งแรกของพระพุทธศาสนา พระบรมราชโองการยังอธิบายรายละเอียดการออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางครั้งแรกผ่านการสนับสนุนจากหนึ่งในพระมหากษัตริย์ทรงอำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์ของชาวอินเดีย และแสดงข้อมูลที่มากมายของเจ้าหน้าที่ข้าราชการของพระเจ้าอโศกรวมไปถึงศีลธรรมคุณธรรมศีลธรรมทางศาสนาและพระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับสังคมและสวัสดิภาพความปลอดภัยของสัตว์

Ashokavadana – อโศกาวทานเป็นข้อความเกี่ยวกับตำนานของพระเจ้าอโศก ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตำนานถูกแปลเป็นภาษาจีนโดยหลวงจีนฟาเหียนในปี ค.ศ. 300 เป็นข้อความของนิกายหินยานเป็นหลัก โลกของตำนานคือเมืองมธุราและอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ ความสำคัญของข้อความที่รู้จักกันนิดหน่อยนี้ คือการบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และองค์กรคณะสงฆ์ การตั้งอุดมคติของชีวิตทางศาสนาสำหรับฆราวาส โดยการเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแสวงประโยชน์ทางศาสนา สิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดคือการเปลี่ยนศาสนาของพระเจ้าอโศกไม่ได้พูดถึงเกี่ยวกับสงครามแคว้นกาลิงคะ ซึ่งไม่เคยถูกบรรยายไว้ ที่น่าแปลกพอ ๆ กันคือการบันทึกการใช้อำนาจรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบที่แน่วแน่ ตำนานของ Veetashoka ให้ข้อมูลเชิงลึกถึงลักษณะของพระเจ้าอโศกแต่ไม่เป็นไปในทางเดียวกันกับบันทึกบาลีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

เหรียญเครื่องหมายหมัด(กำปั้น)ของพระเจ้าอโศก[6]เหรียญเงิน กษาปณ์ (karshapana) จักรวรรดิ์เมารยะ, ยุคของพระเจ้าอโศก 272-232 ก่อน ค.ศ., โรงงานเมืองมถุรา. ด้านหัว: สัญลักษณ์รวมไปถึงพระจันทร์และสัตว์ ด้านก้อย: สัญลักษณ์ ขนาด: 13.92 x 11.75 มม. น้ำหนัก: 3.4 ก.สัญลักษณ์คทางูไขว้บนเหรียญเครื่องหมายหมัด(กำปั้น)ของจักรวรรดิ์เมารยะในอินเดีย, ในศตวรรษที่ 3-2 ก่อน ค.ศ.

Mahavamsa - คัมภีร์มหาวงศ์ (มหาพงศาวดาร) เป็นบทกลอนทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาบาลีเป็นพงศาวดารของพระมหากษัตริย์แห่งศรีลังกา พงศาวดารนี้ครอบคลุมตั้งแต่ยุคการปรากฏขึ้นของกษัตริย์วิชัยแห่งแคว้นกาลิงคะ (รัฐโอริสสาโบราณ) ในปี 543 ก่อนคริสตกาลถึงการครองราชย์ของกษัตริย์มหาเสนา (134 - 361 ก่อนคริสตกาล) และคัมภีร์มหาวงศ์มักอ้างถึงราชวงศ์ของอินเดียบ่อย ๆ คัมภีร์มหาวงศ์ยังมีคุณค่าต่อนักประวัติศาสตร์ผู้ที่ต้องการวันที่และความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ร่วมยุคร่วมสมัยกันในอนุทวีปของชาวอินเดีย และเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญมากในการกำหนดช่วงยุคเวลาของพระเจ้าอโศก

Dwipavamsa - คัมภีร์ทีปวงศ์ (พงศาวดารแห่งเกาะ(ลังกา)ในภาษาบาลี) เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศศรีลังกาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เป็นพงศาวดารที่เชื่อกันว่าถูกรวบรวมขึ้นจากอรรถกถาและแหล่งข้อมูลอื่น ในราวคริตศตวรรษที่ 3-4 พระมหากษัตริย์พระนามว่า Dhatusena ในคริตศตวรรษที่ 4 รับสั่งให้สาธยายคัมภีร์ทีปวงศ์ในงานเทศกาลพระมหินทร์ (ภิกษุผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศก) Mahinda festival ที่จัดขึ้นทุกปีในเมืองอนุราธปุระ Anuradhapura

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ของเหรียญเครื่องหมายหมัด (กำปั้น) Punch-marked coins แห่งจักรวรรดิเมารยะในอินเดียมองดูเหมือนสัญลักษณ์คทางูไขว้มากอายุ 200-300 ก่อนคริสตกาล การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเหรียญให้ข้อมูลว่าสัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าอโศก เรียกสัญลักษณ์ส่วนพระองค์ (ส่วนตัว) นี้ว่า มุทรา (Mudra) สัญลักษณ์นี้ยังไม่ถูกใช้บนเหรียญเครื่องหมายหมัด (กำปั้น) ของกษัตริย์ก่อนยุคราชวงศ์เมารยะ แต่ถูกใช้บนเหรียญของยุคราชวงศ์เมารยะเท่านั้น พร้อมกับด้วยสัญลักษณ์เนินเขาโค้งสามเนิน Three arched-hill symbol สัญลักษณ์นกยูงบนเนินเขา peacock on the hill สัญลักษณ์สามเกลียว Triskelis และสัญลักษณ์เมืองตักสิลา Taxila mark

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร