พระราชประวัติ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

พระราชสมภพ

พระเจ้าอโศกเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพินทุสาร Bindusara กับพระนางสุภัทรางคี Subhadrangī มีพระราชโอรสธิดา 11 พระองค์ พระเจ้าอโศกเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้าจันทรคุปต์ประสูติในครอบครัวที่ต่ำต้อย พระองค์ถูกทอดทิ้งและเป็นลูกเลี้ยงเติบโตในครอบครัวอื่น แล้วพระองค์ได้รับการฝึกฝนอบรมและคำสอนของ ชานัคยาหรือจาณักยะ Chanakya จาก Arthashastra ผู้มีชื่อเสียง ถึงจุดสูงสุดสามารถสร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณได้ พระเจ้าจันทรคุปต์ผู้เป็นพระอัยกาเจ้า (ปู่) ของพระเจ้าอโศกทรงละทิ้งทั้งหมดและมาบวชเป็นนักบวชในศาสนาเชน ตามบันทึกของ Appian นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันว่า พระเจ้าจันทรคุปต์พระอัยกาของพระเจ้าอโศกได้ผูกมิตรกับพระเจ้าเซลลูคัส I นิเคเตอร์ Seleucus ด้วยการแต่งงานกับพระธิดาของพระเจ้า Seleucus ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า พระเจ้าอโศกมีพระอัยยิกา (ย่า) เป็นชาว Seleucid กรีก ต้นฉบับข้อมูลทางโบราณ Puranic ของอินเดีย บทว่าด้วย Pratisarga Parva แห่ง Bhavishya Purana บรรยายว่า พระเจ้าจันทรคุปต์แต่งงานกับเจ้าหญิงชาวยะวะนะหรือโยนก (Yavana) (ชาวอินเดียเรียกพวกกรีกว่า "ชวนะ" หรือ ยวนเยาวนะ ต่อมากลายเป็น "โยนก" เพี้ยนมาจากคำ Ionia)[4] ผู้เป็นธีดาของพระเจ้าเซลิวคัส (Seleucus)

บันทึกโบราณของศาสนาพุทธศาสนาฮินดูและศาสนาเชนให้เรื่องราวชีวประวัติที่แตกต่างกัน ข้อความในอวทานบรรยายว่าราชมารดาของพระองค์คือพระนางสุภัทรางคี Subhadrangī ตามบันทึกในอโศกาวทานพระนางเป็นลูกสาวของ Brahmin มาจากเมืองจำปา Champa พระนางตั้งชื่อให้พระองค์ว่า อโศก แปลว่า ผู้ไม่เศร้าโศก ในคัมภีร์ Divyāvadāna บอกเล่าเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน แต่ให้พระนามของพระราชินีว่า Janapadakalyānī พระเจ้าอโศกมีพี่น้องพี่อายุมากกว่าหลายพระองค์ ทั้งหมดเป็นพี่ชายครึ่งหนึ่งของพระองค์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีพระองค์อื่นของ Bindusara พระบิดา พระเจ้าอโศกได้รับการฝึกฝนทางทหารในพระราชวัง

ขึ้นสู่อำนาจ

จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278

ข้อความในพุทธศาสนาอธิบายว่า พระเจ้าอโศกไปปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกบฏอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่ชั่วร้ายให้สงบลง เหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าพินทุสาร บันทึกของนักบวชลามะชื่อ Taranatha บอกว่า ชานัคยา Chanakya หัวหน้าที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร ทำลายล้างขุนนางและกษัตริย์ของเมือง 16 เมืองและตั้งพระเจ้าอโศกเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านั้นทั้งหมดระหว่างดินแดนจากฝั่งทะเลตะวันออกกับฝั่งทะเลตะวันตก นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า นี่เป็นข้อบ่งชี้ถึงการพิชิตที่ราบเดคคาน(Deccan) ของพระเจ้าพิทุสาร ในขณะที่คนอื่น ๆ พิจารณาว่าเป็นการปราบปรามการจลาจล ตามดังกล่าวนี้ พระเจ้าอโศกถูกส่งไปประจำการอยู่ที่เมืองอุชเชน Ujain เมืองหลวงของ มัลวา Malwa ในฐานะเจ้าเมือง

เมื่อพระเจ้าพินทุสารสวรรคตในปี 272 ก่อนคริสตกาลก็นำไปสู่สงครามแย่งชิงราชบัลลังก์ของรัชทายาท ตามที่บันทึกใน Divyavadana พระเจ้าพินทุสารต้องการที่จะให้พระโอรสองค์โตของพระองค์พระนามว่า สุสิมะ Susima เป็นรัชทายาทของพระองค์ แต่พระเจ้าอโศกได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอำมาตย์รัฐมนตรีของพระราชบิดาของพระองค์ เพราะบรรดารัฐมนตรีที่ปรึกษาเห็นว่าพระเจ้าสุสิมะ Susima เป็นคนหยิ่งและไม่สุภาพต่อพวกเขา รัฐมนตรีชื่อ Radhagupta ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญในการขึ้นครองบัลลังก์ของพระเจ้าอโศก คัมภีร์อโศกาวทานบันทึกว่า Radhagupta ได้เสนอมอบช้างหลวงแก่พระเจ้าอโศกเพื่อเป็นพาหนะนั่งไปสู่สวนแห่งศาลาทองคำสถานที่ซึ่งพระเจ้าพินทุสารกำหนดเลือกผู้สืบทอดราชบัลลก์ ต่อมาพระเจ้าอโศกได้กำจัดองค์รัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎมณเฑียรบาลลงจากบัลลังก์ โดยการหลอกล่อองค์รัชทายาทให้เข้าไปยังหลุมเป็นหลุมที่เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ส่วน Radhagupta นั้น อโศกาวทานบันทึกว่า ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีที่สำคัญโดยพระเจ้าอโศกในฐานะที่ครั้งหนึ่งได้ให้การช่วยเหลือพระองค์ในการขึ้นครองบัลลังก์ คัมภีร์ทีปวงศ์ Dipavansa และคัมภีร์มหาวงศ์ Mahavansa ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกได้สังหารพี่น้องไป 99 พระองค์ เหลือไว้เพียงแค่คนเดียว ชื่อว่า วิทาโศก หรือ ทิสษา Vitashoka or Tissa แม้ว่าเรื่องนั้นยังไม่ชัดเจนที่จะพิสูจน์ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ (บันทึกดังกล่าวเต็มไปด้วยองค์ประกอบทางตำนาน) พิธีราชาภิเษกมีขึ้นเมื่อ 269 ปีก่อน ค.ศ. สี่ปีหลังจากการสำเร็จรัชกาลของพระองค์เพื่อขึ้นครองบัลลังก์

รัฐตำนานชาวพุทธบอกว่า พระเจ้าอโศกเป็นคนอารมณ์ร้อนและเป็นคนโหดร้าย พระองค์สร้างนรกอโศก Ashoka's Hell หรือเรียกว่า นรกาลัย และสร้างห้องทรมานอันซับซ้อนให้เป็นเหมือนนรกบนสวรรค์เรียกว่า "Paradisal Hell" อันมีความแตกต่างระหว่างภายนอกอันสวยงามกับการกระทำข้างในที่ดำเนินการโดยเพชฌฆาตผู้ที่พระองค์แต่งตั้ง Girikaa เพราะเหตุนี้ทำให้พระองค์ได้รับนามว่า จัณฑาโศก (Caṇḍa Aśoka) แปลว่า อโศกพูดผู้ดุร้าย ในภาษาสันสกฤต ศาสตราจารย์ Charles Drekmeier อ้างว่า ตำนานของชาวพุทธโน้มเอียงออกไปทางแนวละครเป็นการใส่สีใส่ไข่ที่พระพุทธศาสนาใส่เข้าไปให้แก่พระองค์ อันได้แก่ ความโหดร้ายที่ผ่านมาของพระเจ้าอโศกและศรัทธาที่แก่กล้าของพระองค์หลังจากการเปลี่ยนศาสนาจึงดูเกินจริง เมื่อขึ้นครองราชย์ พระเจ้าอโศกทรงแผ่ขยายจักรวรรดิของพระองค์ออกไปกว้างขวางในอีกแปดปีข้างหน้า จากแคว้นอัสสัมในตะวันออกไปจนถึงบาลูจิสถาน Balochistan ทางตะวันตก จากหุบเขา Pamir Knot ในอัฟกานิสถานทางเหนือไปจนถึงคาบสมุทรภาคใต้ของอินเดีย ยกเว้นรัฐทมิฬนาฑูและรัฐเกรละในปัจจุบันนี้ซึ่งถูกปกครองโดย 3 อาณาจักรทมิฬโบราณ

การพิชิตรัฐกาลิงคะ

ในขณะที่ช่วงต้นของการครองราชย์ของพระเจ้าอโศกเห็นได้ชัดว่าค่อนข้างกระหายเลือด พระองค์กลายมาเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหลังจากการพิชิตแคว้นกาลิงคะทางชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ปัจจุบันนี้คือรัฐโอริสสาและทางตอนเหนือของอันตรประเทศ Andhra Pradesh แคว้นกลิงคะเป็นรัฐที่หยิ่งทรนงบนอำนาจอธิปไตยและประชาธิปไตยของพวกเขาพร้อมด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐสภาและสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นรัฐที่ค่อนข้างเป็นที่หลีกเลี่ยงของชาวอินเดีย (ภารตะ) โบราณ รัฐนั้นรับแนวคิดของ Rajdharma ซึ่งเป็นแนวคิดการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำ รัฐนั้นถูกปลูกฝังอยู่ภายใต้ด้วยแนวคิดแห่งความกล้าหาญและธรรมะ สงครามแคว้นกาลิงคะเกิดขึ้นเป็นเวลา 8 ปี หลังจากการราชาภิเษกของพระองค์ จากจารึกในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของพระองค์ ทำให้พวกเราถึงรู้ว่าการรบมีขนาดใหญ่โตและทำให้มีทหารและราษฎรผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านตายมากกว่า 1 แสนคน มากกว่า 150,000 คนถูกเนรเทศ เมื่อพระองค์เสด็จเดินผ่านทุ่งของแคว้นกาลิงคะ หลังจากการพิชิตของพระองค์ ความดีใจแห่งชัยชนะของพระองค์ก็มลายหายไป เพราะจำนวนของซากศพที่กองระเกะระกะและความสะอื้นจากความสูญเสีย

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร