อัครศาสนูปถัมภก ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

ศิลาแห่งกาลสี โองการของพระเจ้าอโศก, ซึ่งกล่าวถึงกษัตริย์กรีกทั้งหลายมีพระนามดังนี้ อันทิคัส ที่ 2 เธออส Antiochus II Theos, ปโตเลมี ที่ 2 แห่งอียิปต์Ptolemy II of Egypt, อันติโกนุส ที่ 2 โกนาอัส Antigonus II Gonatas, มาคัสแห่งไซรินี่ Magas of Cyrene และ อเล็คซานเดอร์ ที่ 2 แห่งอีปิรัส Alexander II of Epirus , ซึ่งเป็นผู้รับการเผยแผ่การสอนจากพระองค์

พระบรมราชโองการฉบับที่ 13 แห่งพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกบนศิลาจารึกสะท้อนถึงการสำนึกผิดที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอโศกทรงรู้สึกสำนึกผิดหลังจากการตรวจดูการทำลายล้างแคว้นกาลิงคะดังนี้

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกสำนึกผิดต่อผลของชัยชนะที่มีต่อแคว้นกาลิงคะ เพราะว่าในระหว่างการปราบปรามแคว้นที่ยังไม่เคยถูกพิชิตมาก่อนหน้านี้นั้น การสังหาร ความตาย และการจับประชาชนเป็นเฉลยศึกเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกโศกเศร้าพระทัยอย่างมากและเสียพระทัยอย่างมาก”

พระบรมราชโองการยังบอกกล่าวถึงระดับของความเศร้าโศกและความเสียใจอย่างมากมายอันเป็นผลมาจากการเข้าใจของพระเจ้าอโศกว่า บรรดาเพื่อนและครอบครัวของผู้ตายจะต้องทนทุกข์ทรมานมากเหมือนกัน ตำนานกล่าวว่า วันหนึ่งหลังจากสงครามจบลงพระเจ้าอโศกกล้าเสด็จออกไปเดินเตร่ในเมืองและพระองค์น่าจะทอดพระเนตรเห็นบ้านที่ถูกไฟไหม้และซากศพที่กระจัดกระจาย สงครามที่รุนแรงได้เปลี่ยนแปลงจักรพรรดิผู้เต็มไปด้วยความหึกเหิมให้มากลายเป็นจักรพรรดิผู้หนักแน่นมั่นคงและมุ่งสันติภาพ และพระองค์กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา

ตามที่ได้บันทึกในอินเดียวิทยาที่สำคัญกล่าวว่า ศาสนาส่วนตัวของพระเจ้าอโศกกลายมาเป็นศาสนาพุทธ ถ้าไม่ก่อนก็หลังสงครามแคว้นกลิงคะแน่นอน อย่างไรก็ตาม การบรรยายของ A. L. Bashamนักประวัติศาสตร์และนักอินเดียวิทยาบอกว่า ธรรมะที่เผยแผ่อย่างเป็นทางการโดยพระเจ้าอโศกไม่ใช่เป็นธรรมะในทางพระพุทธศาสนาเลย แม้กระนั้น การเผยแผ่ของพระองค์ก็นำไปสู่การขยายวงกว้างออกไปของพระพุทธศาสนาในจักรวรรดิโมริยะและอาณาจักรอื่นๆในยุคเดียวกับที่พระองค์ปกครอง และออกไปสู่ต่างประเทศมากมายจาก จากประมาณปี 250 ก่อนคริสตกาล บุคคลที่โดดเด่นในกรณีนี้คือพระโอรสของพระองค์พระนามว่า พระมหินทเถระ (Mahinda) และพระธิดาของพระองค์พระนามว่า สังฆมิตตาเถรี (สังฆมิตตา แปลว่า เพื่อนของสงฆ์) ผู้ที่สถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นในเกาะซีลอน (ทุกวันนี้คือประเทศศรีลังกา) คัมภีร์อรรถกถาสมันตปาสาทิกาบอกว่า เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง 2 องค์ผนวช พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกครองราชย์ได้ 6 ปี[5]

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใครไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริศา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ ศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาครั้งที่สามในศาสนาพุทธ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป เป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทานของฝ่ายมหายาน ในสมันตปาสาทิกา ทีปวงศ์ และมหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นับถือศาสนาเชนโดยการถวายถ้ำหลายแห่งให้แก่เชนศาสนิกเชนเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่งเป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41 ปี

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร