คุโณปการ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

แนวทางเกี่ยวกับศาสนา

ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวอินเดีย Romila Thapar พระเจ้าอโศกเน้นความเคารพสำหรับอาจารย์สอนศาสนาทุกคน และประสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก อาจารย์สอนและลูกศิษย์ นายจ้างและลูกจ้าง ศาสนาของพระเจ้าอโศกเก็บตกจากทุกศาสนา พระองค์เน้นคุณธรรมข้ออหิงศา การเคารพต่ออาจารย์สอนทุกศาสนา เคารพอย่างเท่าเทียมกันสำหรับการศึกษาของแต่ละคัมภีร์ศาสนาอื่นๆและศรัทธาอย่างมีเหตุผล

การขยายตัวของพุทธศาสนาในโลก

จักรพรรดิ์อโศกทรงเชื่อว่าพุทธศาสนามีประโยชน์สำหรับมนุษย์ทุกคนเช่นเดียวกับสัตว์และพืชดังนั้นพระองค์จึงทรงสร้างจำนวนของ สถูป สังฆาราม วิหาร Chaitya และที่อยู่ของพระสงฆ์ ทั่วทั้งเอเชียใต้และเอเชียกลางตามบันทึก ในอโศกาวทานพระองค์ทรงสั่งให้สร้างสถูป 84000 แห่งเพื่อที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า อารยมันชุศรี มูลกัลป Aryamanjusrimulakalpa บันทึกไว้ว่าพระเจ้าอโศกทรงถวายรถม้าที่ประดับด้วยโลหะอันมีค่ามากในการเดินทางไปยังสถูปแต่ละแห่ง พระองค์ให้การบริจาคสำหรับวิหารและมัททะ Matha (มหาวิทยาลัยของฮินดู) พระองค์ทรงส่งพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือพระนางสังฆมิตตาเถรี Sanghamitra และพระราชโอรสคือพระมหินทเถระ Mahindra ไปเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา (ซึ่งรู้จักกันในสมัยนั้นว่าเกาะตัมพปัณณิ) พระเจ้าอโศกยังส่งพระภิกษุผู้เป็นสมณทูตที่สำคัญ เช่น

พระมัชฌันติกเถระ Madhyamik Sthavira เป็นหัวหน้าไปยังแคว้นแคชเมียร์ และอัฟกานิสถาน พระมหารักขิต Maharaskshit Sthavira ไปซีเรีย เปอร์เซีย หรืออิหร่าน อียิปต์ กรีก อิตาลี และตุรกี พระมัชฌิมะ Massim Sthavira ไปเนปาล ภูฏาน จีน และมองโกเลีย พระโสณะและพระอุตตระ Sohn Uttar Sthavira ไปกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (ชื่อในสมัยโบราณคือสุวรรณภูมิของพม่าและไทย) พระมหาธรรมรักขิต Mahadhhamarakhhita Sthavira ไปรัฐมหาราษฎร์ Maharashtra พระมหารักขิต และพระยะวะนะธรรมรักขิต  Maharakhhit Sthavira and Yavandhammarakhhita Sthavira ไปอินเดียใต้

พระเจ้าอโศกทรงเชิญชาวพุทธและผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธมาเพื่อประชุมเกี่ยวกับศาสนา พระองค์ทรงสร้างแรงบันดาลใจให้พระภิกษุรจนาคัมภีร์ทางศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงช่วยทุกประเภทในเรื่องนี้ พระเจ้าอโศกทรงช่วยพัฒนาวิหาร (ศูนย์กลางแห่งปัญญา) เช่นมหาวิทยาลัยนาลันทาและตักศิลา พระเจ้าอโศกยังทรงช่วยในการก่อสร้างสถูปสาญจี และวิหารมหาโพธิ พระเจ้าอโศกยังบริจาคแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธพระเจ้าอโศกทรงให้ความช่วยเหลือและทรงเคารพทั้งสมณและพราหมณ์ เจ้าอโศกยังทรงช่วยเหลืออุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ในปี 250 ก่อนคริสตกาลที่เมืองปาฏลีบุตร (ทุกวันนี้คือเมืองปัตนะ) ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้ที่เป็นครูฝ่ายจิตวิญญาณของพระเจ้าอโศก

พระราชโอรสของจักรพรรดิอโศกคือพระมหินทเถระ ยังได้ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการแปลคัมภีร์ภาษาดั้งเดิม(ภาษาบาลี)ไปสู่ภาษาที่เข้าใจกันได้ของประชาชนชาวศรีลังกาคือภาษาสิงหลเป็นที่ทราบกันดีว่า พระเจ้าอโศกส่งสมณทูตให้นำพระราชสาส์นจดหมายหรือบอกปากต่อปากไปยังประชาชนในที่ต่างๆ พระบรมราชโองการที่เป็นศิลาจารึกแผ่นที่ 6 เกี่ยวกับพระบรมราโชวาทเปิดเผยสิ่งนี้ มันถูกยืนยันในเวลาต่อมาว่า คำสอนแบบมุขปาฐะก็ได้รับเขียนการบันทึกขึ้น และเนื้อหาส่วนที่เป็นเรื่องราวของพระเจ้าอโศกสามารถที่จะอนุมานได้จากพระบรมราชองการศิลาจารึกแผ่นที่ 13 ได้เช่นเดียวกัน จารึกเหล่านั้นถูกมุ่งหมายถึงการเผยแผ่หลักธรรมวิชัยของพระองค์ซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาถึงชัยชนะที่สูงสุดและพระองค์ทรงประสงค์ที่จะเผยแพร่ไปยังทุกหนทุกแห่ง ซึ่งรวมไปถึงนานาอารยประเทศไกลออกไปจากอินเดีย นั่นก็เป็นที่ประจักษ์และปฏิเสธไม่ได้ถึงร่องรอยแห่งวัฒนธรรมที่ติดต่อผ่านกันโดยการใช้จารึกอักษรขโรษฐีและแนวคิดการสร้างจารึกน่าจะถูกส่งไปพร้อมด้วยจารึกนี้ซึ่งได้รับอิทธิพลของจักรวรรดิอะคีเมนิดจะเห็นได้จากบางส่วนแห่งการวางกฎเกณฑ์โดยพระเจ้าอโศกในจารึกของพระองค์ นี่แสดงให้เราเห็นว่าพระเจ้าอโศกได้ทรงติดต่อกับวัฒนธรรมอื่นๆจริงแท้ และเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานและแนวคิดใหม่ๆข้ามกำแพงแห่งแนวคิดของพระองค์เอง

ในอาณาจักรของชาวกรีก

ในพระบรมราชโองการ ของพระองค์พระเจ้าอโศกทรงตรัสถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีกได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและเป็นผู้รับการเผยแพร่จากทูตของพระองค์ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการบันทึกทางประวัติศาสตร์ของกรีกสำหรับเหตุการณ์นี้ในพระบรมราชโองการดังนี้:

สำหรับพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ชัยชนะที่ทรงถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ “ธรรมวิชัย” (ชัยชนะโดยธรรม) และธรรมวิชัยนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ทรงกระทำสำเร็จแล้วทั้ง ณ ที่นี้ (ในพระราชอาณาเขตของพระองค์เอง) และในดินแดนข้างเคียงทั้งปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน์ ในดินแดนอันเป็นที่ประทับแห่งกษัตริย์โยนก (Ionian Greek) พระนามว่าอันติโยคะ (Antiochus) และดินแดนต่อจากพระเจ้าอันติโยคะนั้นไป (คือในทางตะวันตกเฉียงเหนือ) อันเป็นที่ประทับแห่งกษัตริย์ ๔ พระองค์ พระนามว่า พระเจ้าตุรมายะ (หรือตุลมย -ทอเลมีที่ 2) พระเจ้าอันเตกินะ (Antigonos) พระเจ้ามคะ(Magas) และพระเจ้าอลิกสุนทระ (Alexander)[7]


ในทางใต้ ก็เช่นเดียวกันพระมหากษัตริย์แคว้นโจฬะ แคว้น Pandyas และไกลออกไปถึงเกาะตัมพปัณณิ (ศรีลังกา) สถานที่นี้อยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ชาวกรีกคือ กัมโพชะ the Kambojas, the Nabhakas, the Nabhapamktis, the Bhojas, the Pitinikas, the Andhras and the Palidas

ทุกหนทุกแห่ง (ประชาชนเหล่านี้) พากันประพฤติปฏิบัติตามคำสอนธรรมของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ แม้ในถิ่นฐานที่ราชทูตของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพมิได้ไปถึงประชาชนทั้งหลายเมื่อได้ทราบถึงธรรมวัตร ธรรมวิธาน และธรรมานุศาสน์ของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพแล้ว ก็พากันประพฤติปฏิบัติตามธรรม และจักประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้นต่อไป

— โองการพระเจ้าอโศกแปลโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต) ฉบับธรรมเมกขสถูป ที่ ๑๓ พบที่สารนาถ[7]

มันไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลเกินกว่าที่จะจินตนาการว่า พระเจ้าอโศกได้รับจดหมายจากพระมหากษัตริย์ชาวกรีกและมีความคุ้นเคยสนิทสนมกับราชวงศ์ชาวกรีกอย่างไร บางทีพระองค์อาจจะรับรู้ได้จากจารึกของกษัตริย์อะคีเมนิด ที่ให้การแสดงทางการทูตของพระมหากษัตริย์ชาวกรีกในอินเดีย (เช่นเดียวกับราชทูตที่พระเจ้าอโศกทรงส่งไป) Dionysius ทุกรายงานว่าได้เป็นราชทูตชาวกรีกประจำอยู่ที่ศาลของพระเจ้าอโศกส่งไปโดยมหากษัตริย์พระนามว่า ปโตเลมีที่ 2 Ptolemy II Philadelphus ผู้ซึ่งถูกกล่าวถึงในโองการของพระเจ้าอโศกว่าเป็นผู้รับสมณทูตของพระเจ้าอโศกนักปรัชญาชาวกรีกบางคน เช่น Hegesias of Cyrene ผู้ที่อาจจะอาศัยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้ามาคัส Magas คนหนึ่งของผู้ที่น่าจะได้เป็นผู้รับสมณทูตจากพระเจ้าอโศก บางครั้งคิดว่าได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพุทธศาสนา

ชาวกรีกจะมีบทบาทอย่างแข็งขันในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา บางท่านในคณะทูตพระเจ้าอโศกเช่นพระธัมมรักขิตผู้ที่ถูกอธิบายในต้นฉบับภาษาบาลีเป็นผู้นำคณะสมณทูตพระภิกษุชาวกรีกทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ชาวกรีกบางคนมีบทบาทในการปกครองดูแลหน้าที่ชายแดนซึ่งแต่งตั้งโดยพระเจ้าอโศก จารึกรัฐ Girnar ของ Rudradamanบันทึกไว้ว่าในระหว่างการปกครองของพระเจ้าอโศก ผู้ว่าราชการรัฐชาวกรีกโยนกเป็นผู้รับผิดชอบรัฐ Girnar, คุชราต Gujarat การกล่าวถึงการปกครองคลองพระองค์ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ

ในฐานะผู้ปกครองดูแล

กองกำลังทางทหารของพระเจ้าอโศกมีความแข็งแกร่งมากแต่หลังจากการเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาของพระองค์พระองค์ก็ฟื้นฟูปรับปรุงความสัมพันธ์แบบมิตรภาพกับ 3 อาณาจักรทมิฬใหญ่ ทางภาคใต้ คืออาณาจักร Cheras, Cholas and Pandyas Tamraparni, and Suvarnabhumi. ในโองการของพระองค์บอกว่าพระองค์จัดสร้างตระเตรียมยาการรักษาสำหรับประชาชนและสัตว์ในอาณาจักรของพระองค์เองเช่นเดียวกับรัฐที่อยู่ใกล้เคียงเหล่านั้นด้วยพระองค์ยังสั่งให้ขุดและปลูกต้นไม้ตลอดแนวสองข้างถนนเพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป

ด้านสวัสดิภาพของสัตว์

ศิลาจารึกพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกได้บอกอย่างชัดเจนว่าการทรมานเบียดเบียนและสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งไม่ดีและสัตว์จะต้องไม่ถูกฆ่าเพื่อการบูชายัญ อย่างไรก็ตามพระองค์ไม่ห้ามฆ่าปศุสัตว์ทั่วไปและเนื้อสำหรับการบริโภคพระองค์สั่งห้ามการฆ่าสัตว์ 4 เท้าสำหรับกรณีที่ไม่เกิดประโยชน์และไม่บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดของสัตว์รวมไปถึงนกหลายชนิดปลาและวัวบางชนิด ยังสั่งห้ามการฆ่าแพะตัวเมียแกะและหมูที่ยังเลี้ยงลูกอ่อนอยู่ เช่นเดียวกับลูกอ่อนของสัตว์เหล่านั้นที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน พระองค์ยังสั่งห้ามการฆ่าปลาทุกชนิดและการตอนสัตว์ในระหว่างบางช่วงเวลาเช่นฤดูเข้าพรรษาและวันอุโบสถ

พระเจ้าอโศกยังสั่งห้ามการล่าสัตว์ของราชวงศ์และข้าราชการและให้เป็นเขตสงวนอภัยทานเพื่อให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ในเขตพระราชวัง เพราะพระองค์ทรงห้ามการล่าสัตว์ จึงมีการสร้างคลินิกสัตวแพทย์และจำกัดการบริโภคเนื้อในวันหยุดมากมาย จักรวรรดิเมารยะภายใต้การปกครองของพระเจ้าอโศกได้ถูกบรรยายให้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เล็กมากๆในประวัติศาสตร์โลกของของรัฐบาลที่ปฏิบัติต่อสัตว์ของตนในฐานะพลเมืองที่สมควรได้รับการคุ้มครองในฐานะประชาชนผู้อยู่อาศัย

ธรรมจักรของพระเจ้าอโศก

ธรรมจักรของพระเจ้าอโศก (วงล้อของพระเจ้าอโศก) เป็นการสื่อถึงพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร(เรียกว่าวงล้อแห่งธรรม) วงล้อมี 24 ซี่ ซึ่งแสดงถึงกฎ 12 ข้อของปฏิจจสมุปบาทฝ่ายอนุโลม(ตามลำดับ)และกฎ 12 ข้อของของปฏิจจสมุปบาทฝ่ายปฏิโลม (ทวนกลับ) วงล้อของพระเจ้าอโศกได้ดูแกะสลักไว้อย่างมากมายทั่วจักรวรรดิอโศก ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาวงล้อเหล่านั้นคือธรรมจักรที่มียอดเป็นสิงโตแห่งสารนาถและเสาศิลาของพระเจ้าอโศกซึ่งพบเห็นได้บ่อยที่สุดเพราะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์อยู่ตรงกลางของธงแห่งประเทศสาธารณรัฐอินเดีย (ใช้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1947) ซึ่งมันจะเป็นปรากฏสีน้ำเงินครามบนพื้นหลังสีขาว โดยแทนที่สัญลักษณ์วงล้อปั่นด้ายของธงรุ่นเก่า วงล้อธรรมจักรพระเจ้าอโศกยังสามารถพบเห็นได้บนฐานเป็นหลังของสิงโตรองรับซึ่งก็ถูกนำไปใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำชาติอินเดียด้วย

วงล้อธรรมจักรของพระเจ้าอโศกถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกในรัชกาลของพระองค์วงล้อธรรมจักรในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า ล้อ หรือ กระบวนการหมุนวน กระบวนการสื่อถึงวัฏจักรของเวลา เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตามเวลา

ไม่กี่วันก่อนที่ประเทศอินเดียจะได้รับอิสรภาพในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1947 การประชุมของสมาชิกผู้ก่อตั้งพิเศษได้ตัดสินใจว่าธงของประเทศอินเดียควรจะเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนและทุกชุมชนสังคม ธงสามสี สีเหลือง สีขาวและสีเขียว พร้อมด้วยธรรมจักรพระเจ้าอโศกได้ถูกเลือก

สถาปัตยกรรมหิน

พระเจ้าอโศกมักจะได้รับการเชื่อว่ายุคเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมหินในประเทศอินเดีย อาจจะเป็นไปได้ที่ได้เรียนรู้จากคำแนะนำในด้านเทคนิคการสร้างด้วยหินโดยชาวกรีกหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก่อนยุคของพระเจ้าอโศกการก่อสร้างอาจจะเป็นการก่อสร้างที่ใช้วัสดุที่ไม่คงทน เช่นไม้ไม้ไผ่ และหญ้าคาสำหรับมุม พระเจ้าอโศกอาจจะสร้างพระราชวังของพระองค์ขึ้นใหม่ไดเมืองปาฏลีบุตรขึ้นแทนที่วัสดุที่เป็นไม้ด้วยหิน และอาจจะได้รับการช่วยเหลือจากช่างฝีมือชาวต่างประเทศ พระเจ้าอโศกยังคิดค้นการใช้คุณสมบัติของหินที่คงทนถาวรสำหรับการเขียนพระบรมราชองการเช่นเดียวกับเสาศิลาพร้อมทั้งสัญลักษณ์ทางพระศาสนา

เสาศิลาของพระเจ้าอโศก (บาลี เป็น อโสกถมฺภ)

เสาศิลาของพระเจ้าอโศกเป็นชุดของเสา ที่กระจายอยู่ทั่วภาคเหนือของอนุทวีปอินเดียสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกในรัชกาลของพระองค์ในปีที่ 300 ก่อนคริสตกาล ในขั้นต้นน่าจะมีเสาอยู่หลายต้นของพระเจ้าอโศกถึงแม้ว่าจะเหลืออยู่เพียง 10 ต้นพร้อมกับจารึกที่เหลือรอด ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างสี่สิบห้าสิบฟุตและมีน้ำหนักถึงห้าสิบตัน เสาทุกต้นถูกเจาะสกัดขึ้นที่ Chunar ทางตอนใต้ของเมืองพาราณสีและถูกลากไปไกลหลายร้อยไมล์ไปยังที่ที่ประดิษฐานขึ้น เสาสิลาต้นแรกของพระเจ้าอโศกถูกค้นพบในปีคริตสศตวรรษที่ 16 โดย Thomas Coryat ในซากปรักหักพังของเมืองเดลีโบราณ วงล้อแสดงถึงเวลาแห่งพระอาทิตย์และกฎทางพระพุทธศาสนาขณะที่เครื่องหมายการยืนของสวัสติกะสำหรับการเต้นรำของจักรวาลรอบศูนย์กลางคงที่และป้องกันความชั่วร้าย

หัวเสาสิงโตของพระเจ้าอโศก (อโศกมุทรา)

ยอดเสาสิงโตของพระเจ้าอโศกเป็นประติมากรรมสิงโต 4 ตัวยืนหันหลังให้กัน ดั้งเดิมนั้นมันถูกวางอยู่บนยอดเสาศิลาพระเจ้าอโศกที่สารนาถ ทุกวันนี้อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ Uttar Pradesh ของอินเดียสักศิลาบางครั้งก็ถูกเรียกว่าคอลัมน์ของพระเจ้าอโศก ซึ่งมันก็ยังคงตั้งอยู่ ณ สถานที่เดิมของมัน แต่ว่าหัวเสาสิงโตตอนนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ what's up สิงโตนี้น้ำมาจากสารนาถซึ่งถูกใช้เป็นตราของประเทศอินเดียและวงล้อธรรมจักรของพระเจ้าอโศกจากฐานของมันถูกนำไปวางอยู่ตรงกลางของธงของประเทศอินเดีย

หัวเสาที่มีสิงโต 4 ตัว (เป็นสิงโตเอเชีย ในอินเดีย) ยืนหันหลังเข้าหากันติดตั้งอยู่บนลูกบาศก์ทรงกระบอกสั้น พร้อมด้วยรูปแกะสลักปฏิมากรรมของช้าง ม้ากำลังควบ วัว และสิงโต แยกออกจากกันโดยการแทรกด้วยล้อรถม้าแบบมีซี่วางอยู่เหนือดอกบัวที่เป็นรูประฆัง แกะสลักออกมาจากบล็อกเดี่ยวของหินทรายมันเงา ยอดเสาเชื่อว่าน่าจะถูกสวมวงล้อธรรม (ธรรมจักรที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดียในฐานะธรรมจักรของพระเจ้าอโศก) เสาศิลาแห่งสารนาถบันทึกหนึ่งในโองการของพระเจ้าอโศก การจารึกการระงับความแตกแยกกันในภายในองค์กรของชาวพุทธ ดังนี้ “ไม่มีใครจะทำให้เกิดการแตกแยกในคำสั่งของพระภิกษุสงฆ์ สัตว์สี่ชนิดในบนหัวเสาแห่งสารนาถเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายเรื่องต่างๆของชีวิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

  • ช้างแสดงถึงแนวคิดแห่งความเป็นพุทธะโดยการอ้างถึงพระสุบินของพระนางสิริมหามายาคือมีช้างเผือกเข้าไปในพระครรภ์ของพระนาง
  • วัวแสดงถึงความปรารถนาในช่วงพระชนม์ชีพที่เป็นเจ้าชายของพระพุทธเจ้า
  • ม้าแสดงถึงการเสด็จเดินทางออกจากการดำรงชีวิตที่หรูหรา (เสด็จออกผนวช)
  • สิงโตแสดงถึงความสำเร็จของพระพุทธเจ้า

นอกจากการตีความในเชิงศาสนาแล้ว ยังมีการตีความที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์แห่งเสาศิลาหลักที่สำคัญของพระเจ้าอโศกที่สารนาถ คือ สัญลักษณ์สิงโต 4 ตัวหมายถึงการปกครองของพระเจ้าอโศกแผ่ออกไปตลอดสี่ทิศ สัญลักษณ์วงล้อหมายถึงการปกครองโดยธรรมของพระองค์ (จกฺกวตฺติน) สัญลักษณ์สัตว์ 4 ชนิดหมายถึงดินแดนที่อยู่ติดต่อกันทั้ง 4 ของอินเดีย

การก่อสร้างที่ได้รับการเชื่อถือในยุคพระเจ้าอโศก

การบูรณะโดยชาวอังกฤษได้กระทำสำเร็จภายใต้การแนะนำจากท่านพระเวลิกามา ศรี สุมังคละ Weligama Sri Sumangala พระเถระชาวศรีลังกา

  • สถูปสาญจี มัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย
  • ธัมเมกขสถูป สารนาถ อุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
  • มหาโพธิวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
  • ถ้ำบาราบา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
  • มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิหาร (บางจุดเช่น สารีบุตรสถูป) รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
  • มหาวิทยาลัยตักสิลา (บางจุดเช่น ธัมมราชิกสถูปและกุนาลาสถูป) เมืองตักสิลา ประเทศปากีสถาน
  • Bhir Mound เมืองตักสิลา ประเทศปากีสถาน
  • บาร์ฮัตสถูป มัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย
  • Deorkothar Stupa มัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย
  • บุตคาราสถูป เมืองสวัต ประเทศปากีสถาน
  • Sannati Stupa การ์นาตากา ประเทศอินเดีย ทราบเพียงรูปสลักที่แสดงถึงประเจ้าอโศก
  • Mir Rukun Stupa เมือง Nawabshah ประเทศปากีสถาน


หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ ที่สารนาถ ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้นำมาใช้เป็นรูปตราแผ่นดิน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร