การสิ้นพระชนม์และมรดก ของ พระเจ้าอโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกครองราชย์เป็นระยะเวลาประมาณ 36 ปีและสิ้นพระชนม์ในปี 232 ก่อนคริสตกาล ตำนานรัฐกล่าวว่า ในระหว่างพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระสรีระของพระองค์ได้ไหม้เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ ราชวงศ์เมารยะคงอยู่แค่ 52 ปี จนกระทั่งจักรวรรดิของพระองค์ขยายออกไปเกือบครอบคลุมชมพูทวีปทั้งหมด พระเจ้าอโศกทรงมีพระมเหสีหลายพระองค์และมีพระโอรสหลายพระองค์ แต่พระนามของพระองค์เหล่านั้นส่วนมากก็หายไปตามกาลเวลา พระอัครมเหสี ของพระองค์ผู้ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระบรมราชินีสำหรับการเคียงคู่ราชบัลลังก์ของพระองค์พระนามว่า อสันธิมิตรา ผู้ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีพระโอรส

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุมากขึ้น พระองค์ดูเหมือนจะตกอยู่ในมนต์สะกดของพระมเหสีสาวผู้มีอายุน้อยที่สุดพระนามว่า ติษยรักษา มีคนพูดว่า พระนางมีเสน่หาในพระโอรสของพระเจ้าอโศกพระนามว่า พระเจ้ากุณาล ผู้เป็นอุปราชในเมืองตักษศิลาและเจ้าชายก็มีความชอบธรรมในการขึ้นครองบัลลังก์ แต่ก็ต้องมาถูกทำให้พระเนตร (ตา) บอดเพราะโดนอุบายเล่ห์เหลี่ยม เจ้าหน้าที่เพฌชฆาตไว้ชีวิตเจ้าชายกุณาล และเจ้าชายกลายมาเป็นนักขับร้องเพลงและอยู่ร่วมกับองค์หญิงผู้เป็นที่รักพระนามว่ากาญจนมาลา ในเมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกทรงได้ยินเสียงเพลงของเจ้าชาย และทรงตระหนักว่า ความโชคร้าย (ที่ต้องตาบอดและกลายมาเป็นนักร้อง) ของเจ้าชายกุณาล อาจเป็นผลมาจากการที่พระองค์สั่งให้ลงโทษอันเกิดจากความผิดในอดีตของจักรพรรดิอย่างพระองค์เอง พระองค์สั่งประหารพระมเหสีสาวติษยรักษา และกลับมาแต่งตั้งเจ้าชายกุนนลาในตำแหน่งผู้พิพากษา ในอโศกาวทานบรรยายว่า เจ้าชายกุณาลได้ให้อภัยแก่ติษยรักษา และได้บรรลุความเห็นแจ้ง (ปัญญา) ด้วยการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ในขณะที่พระองค์อ้างว่าพระเจ้าอโศกทรงให้อภัยแก่พระนางเหมือนกัน พระเจ้าอโศกไม่ทรงตอบสนองด้วยการให้อภัยไร ๆ เลย พระเจ้ากุณาลได้รับการสือทอดทอดรัชกาลโดยพระเจ้าสัมประติ พระโอรสของพระองค์

ประวัติศาสตร์ช่วงสมัยของพระเจ้าอโศกเมารยะอาจจะหายไปไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เหมือนกันเวลาที่ผ่านเลยไปแล้ว พระองค์ก็ไม่เหลือบันทึกของรัชกาลของพระองค์ไว้ในเบื้องหลังเลย บันทึกเหล่านี้ได้มาจากจารึกเสาศิลาและจารึกแผ่นหินพร้อมด้วยกิจกรรมอันมากมายและการสอนที่พระองค์ต้องการที่จะให้เป็นสื่อไปถึงอาณาประชาราษฎร์ภายใต้พระนามของพระองค์ ภาษาที่ใช้ในการจารึกคือภาษาปรากฤต เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในยุคนั้น โดยใช้อักษรพราหมีในการเขียน

ในปี 185 ก่อนคริสตกาลประมาณ 50 ปีหลังจากพระเจ้าอโศกสิ้นพระชนม์ พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์เมารยะพระองค์สุดท้ายพระนามว่า พระเจ้าพฤหัทรถ ถูกลอบสังหารโดยนายพลผู้เป็นเสนาบดีของกองทัพแห่งราชวงศ์เมารยะ ปุษยมิตร ศุงคะ ในขณะที่พระองค์กำลังดำเนินตรวจทหารองครักษ์กองเกียรติยศเดินสวนสนาม ปุษยมิตร ศุงคะ แห่งราชวงศ์ศุงคะได้สถาปนาจักรวรรดิศุงคะในปี 185 - 75 ก่อนคริสตกาลและปกครองเพียงแค่ส่วนเมื่อเทียบกับราชวงศ์เมาระยะ คือส่วนมากของดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจักรวรรดิเมารยะ (ปัจจุบันนี้คือประเทศอัฟกานิสถานและประเทศปากีสถาน) ต่อมากลายเป็นอาณาจักรอินโดกรีก พระเจ้าอโศกเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดีย มีการพิจารณาว่าพระองค์เป็นหนึ่งในผู้ปกครองแบบอย่างผู้สูงส่ง ผู้เป็นอมตะตลอดกาล

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร