สาเหตุ ของ ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว

รอยโรคในสมอง

ภาวะบอดความเคลื่อนไหวเป็นความบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลัง คือไม่ได้เกิดแต่กำเนิด ที่เกิดจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตา และเพราะว่า เซลล์ประสาทของคอร์เทกซ์กลีบขมับกลาง (คือเขตสายตา MT) ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เคลื่อนไหว ดังนั้น MT จึงเป็นเขตที่ประมวลผลความเคลื่อนไหวในเปลือกสมอง ในกรณีของ LM รอยโรคที่เกิดขึ้นมีในทั้งสองซีกของสมอง และสมมาตรกัน ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีขนาดเล็กพอที่จะไม่ทำลายระบบทางสายตาอย่างอื่นๆ[7]

แต่ว่า รอยโรคในซีกเดียวของสมองบางกรณี ก็เข้าไปทำการรับรู้ความเคลื่อนไหวให้เสียหายเช่นกัน ภาวะบอดความเคลื่อนไหวโดยรอยโรคนั้นมีน้อย เพราะว่า ความเสียหายในสมองกลีบท้ายทอย มักจะทำระบบอื่นๆ เกี่ยวกับการเห็นให้เสียหายด้วย[5] ภาวะนี้มีปรากฏสืบเนื่องมาจาก traumatic brain injury (แผลบาดเจ็บในสมอง ตัวย่อ TBI) ด้วย[6]

การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กผ่านกะโหลก

ภาวะบอดความเคลื่อนไหวสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดได้โดยลำพังและชั่วคราว โดยเทคนิคการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กผ่านกะโหลก (transcranial magnetic stimulation ตัวย่อ TMS) ที่เขตสายตา MT (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตสายตา V5) ในบุคคลปกติ[8] ซึ่งทำที่พื้นผิวขนาด 1 ซม² ของกะโหลกที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของเขตสายตา V5. ด้วยพลัง TMS เป็นระยะเวลา 800 ไมโครวินาทีและตัวกระตุ้นทางตาที่ปรากฏเป็นระยะเวลา 28 มิลลิวินาทีเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 11 องศาต่อวินาที V5 จะระงับการทำงานเป็เวลา 20-30 มิลลิวินาที เทคนิคนี้ได้ผล -20 มิลลิวินาที และ +10 มิลลิวินาที ก่อนและหลังการเริ่มของตัวกระตุ้น ส่วนการเข้าไประงับเขตสายตา V1 ด้วยเทคนิคนี้เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะนี้ 60-70 วินาทีหลังการเริ่มของตัวกระตุ้น การใช้เทคนิคนี้กับ V1 จึงไม่มีประสิทธิภาพในการเหนี่ยวนำภาวะบอดความเคลื่อนไหวเท่ากับใช้กับ V5[8]

โรคอัลไซเมอร์

นอกจากปัญหาในด้านการทรงจำแล้ว คนไข้โรคอัลไซเมอร์อาจจะมีภาวะบอดความเคลื่อนไหวในระดับต่างๆ กัน[9] ซึ่งเพิ่มความงุนงงสับสนให้กับคนไข้ แม้ว่า เพแลคและฮอยต์จะได้ทำข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้โรคอัลไซเมอร์กรณีหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ทำเป็นจริงเป็นจังในเรื่องนี้[6]

ใกล้เคียง

ภาวะไม่รู้ใบหน้า ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว ภาวะไข้สูง ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส ภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ภาวะไม่มีแกมมาโกลบูลินในเลือดที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ ภาวะไม่ทนต่อฟรุกโทสกรรมพันธุ์ ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง ภาวะไม่รู้ ภาวะไตวาย