สำนวน ของ ภาษาถิ่นโตเกียว

  • ภาษาถิ่นคันโตและโทโฮกุเดิมมีรูปประโยคที่ลงท้ายด้วย「べい」/「べえ」/「べ」 แต่ภาษาถิ่นโตเกียวใช้「~う」หรือ「~よう」 เช่น 「行くべい」=「行こ」,「これだべい」=「これだろ
  • ภาษาถิ่นโตเกียวใช้คำช่วย「へ」 (แสดงทิศทาง) เช่นเดียวกับภาษาถิ่นคิงกิ ต่างจากภาษาถิ่นโทโฮกุที่นิยมใช้คำช่วย「さ」
  • พบคำศัพท์ที่รับมาจากภาษาถิ่นคิงกิจำนวนมาก เช่น 「怖い」 "กลัว" 「ふすま」 "ประตูเลื่อนกรอบไม้กรุด้วยกระดาษอย่างหนา" 「うろこ」 "เกล็ด" 「つゆ(梅雨)」 "ช่วงฤดูฝนก่อนเข้าฤดูร้อน" 「塩辛い」 "เค็ม" 「つらら」 "แท่งน้ำแข็งตามชายคาบ้าน เกิดจากน้ำไหลลงมาแล้วแข็งตัว" 「けむり」 "ควัน" 「しあさって」 "วันมะเรื่อง (วันถัดจากวันมะรืน)"[11]
  • พบสำนวนภาษาสุภาพ(敬語)ที่รับมาจากภาษาถิ่นคิงกิจำนวนมาก เช่น กริยาถ่อมตัว「おる」, รูปปฏิเสธแบบสุภาพ「~ません」 รวมถึงเสียงสะดวก -u(ウ音便) เช่น 「ごきげんよう」 (มาจาก ごきげんよく), 「お寒(さむ)うございます」 (มาจาก お寒(さむ)くございます)
  • ประชากรในโตเกียวใช้สำนวนภาษาสุภาพ「~れる」「~られる」ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับถิ่นอื่น ๆ[12]
  • แม้ว่าปัจจุบันใช้กริยานุเคราะห์ปฏิเสธ「ない」หรือ「ねえ」 แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยใช้「ぬ」หรือ「ん」แบบเดียวกับภาษาถิ่นภาษาญี่ปุ่นตะวันตก และยังคงเหลือให้เห็นในสุภาษิต คำพังเพย จนถึงปัจจุบัน
  • 「~てしまう」กลายเป็น「~ちまう」「~ちゃう」 เช่น 「終(お)わってしまう」→「終(お)わっちまう」/「終(お)わっちゃう
  • พบการใช้ภาษาผู้หญิง「わ」「こと」「てよ」 ฯลฯ ตั้งแต่เข้าสู่ยุคเมจิ