สถานการณ์ในปัจจุบัน ของ ภาษาถิ่นโตเกียว

การปนกันของภาษาถิ่นย่านยามาโนเตะและชิตามาจิ การอพยพของคนถิ่นเดิมเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโตและการทิ้งระเบิดโตเกียว การอพยพเข้ามาของคนต่างถิ่นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาษาถิ่นโตเกียวให้กลายเป็นภาษาใกล้สูญ ปัจจุบัน "ภาษาถิ่นเขตอภิมหานครโตเกียว"(首都圏方言)ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ผสมผสานระหว่างภาษากลาง (ภาษาถิ่นโตเกียว) กับภาษาถิ่นในภูมิภาคคันโตได้เข้ามามีอิทธิพลในโตเกียวเป็นอย่างมาก เช่น

  • ใช้คำแสดงทัศนภาวะ (modality) 「~じゃん・~じゃんか」 มีความหมายเหมือน「~じゃないか」ในภาษาถิ่นโตเกียว มาจากภาษาถิ่นภูมิภาคชูบุและเข้ามาในโตเกียวผ่านทางโยโกฮามะ[13]
  • ใช้「違(ちが)かった」「違(ちが)くて」แทนการใช้「違(ちが)った」「違(ちが)って」 มาจากภาษาถิ่นโทโฮกุตอนใต้และคันโตตอนเหนือ[13]
  • ใช้「みたく」แทนการใช้「みたいに」เช่น「神様(かみさま)みたく尊敬(そんけい)する」 = 神様(かみさま)みたいに尊敬(そんけい)する」 "นับถือเหมือนเทพเจ้า" มาจากภาษาถิ่นโทโฮกุและคันโตตอนเหนือ[13]