ระบบการเขียน ของ ภาษาเขมรถิ่นไทย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

นักภาษาศาสตร์ได้คิดค้นระบบการเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยด้วยตัวอักษรไทยหลายระบบ โดยมีทั้งระบบของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท้ายที่สุดมีระบบราชบัณฑิตยสภา [6] ซึ่งดัดแปลงจากระบบก่อน ๆ เป็นมาตรฐานโดยปริยาย

พยัญชนะ

เสียงที่ใช้พูดกันในภาษาเขมรถิ่นไทย ไม่มีเสียงที่ใช้อักษรสูง จึงเลือกใช้พยัญชนะไทยที่เป็น อักษรกลาง และอักษรต่ำเท่านั้นที่ใช้ในการเขียน เสียงพยัญชนะในภาษาเขมรเหนือใช้อักษรไทยเขียนดังตารางต่อไปนี้

หน่วยเสียงอักษรไทยที่ใช้ตัวอย่างคำความหมาย
/k/การงาน
/kʰ/คัฮแห้ง
/ŋ/--
/c/จแก, คลาจสุนัข, กลัว
/cʰ/ชะพิธีทำบุญต่ออายุ
/s/ซีกิน
/ɲ/เญียด, จงัญญาติ, อร่อย (เสียงนาสิก ไม่ออกเสียง ย เหมือนไทย)
/d/ดัฮปลุก
/t/ต-
-ด
ตับ
-
ซุง
-
/tʰ/--
/n/--
/b/บัฮกระดก
/p/ป-
-บ
-
ซนาบ
-
ต้นกล้า
/pʰ/--
/f/--
/m/--
/j/--
/r/ร็วดวิ่ง
/l/--
/w/เว็ฮหลีก(ทาง)
/ʔ/อ-
-∅
-
ทะ
-
ถีบ
/h/ฮับเกือบ
  • บางหน่วยเสียงมีรูปพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายแตกต่างกันดังที่แสดงในตาราง โดยการใช้พยัญชนะเสียงก้องมาแทนพยัญชนะท้ายเสียงไม่ก้องนั้นนำแบบอย่างมาจากภาษาไทย
  • หน่วยเสียง /ʔ/ เมื่อเป็นพยัญชนะท้ายจะไม่มีรูปเขียน แต่ให้แสดงด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด

สระ

หน่วยเสียงอักษรไทยที่ใช้รหัสยูนิโคดตัวอย่างคำความหมาย
/a/อะ
อั
0E30
0E31
-
ปัฮ
-
โดน
/a:/อา0E32บาดใช่(คำตอบรับ)
/i/อิ0E34กริจ-
/i:/อี0E35--
/ɪ/อฺิ0E3A 0E34--
/ɪ:/อฺี0E3A 0E35กฺีเขา (บุรุษที่สาม)
/ɯ/อึ0E36--
/ɯ:/อื(อ)0E37--
/ɤ/อฺึ0E3A 0E36รฺึยจักจั่น
/ɤ:/อฺื(อ)0E3A 0E37 0E2Dลฺือบน
/u/อุ0E38--
/u:/อู0E39--
/ʊ/อุํ0E38 0E4D--
/ʊ:/อูํ0E39 0E4Dกูํวัว
/e/เอะ
เอ็
0E40 ต้น 0E30
0E40 ต้น 0E47
--
/e:/เอ0E40 ต้น--
/ɛ/แอะ
แอ็
0E41 ต้น 0E30
0E41 ต้น 0E47
--
/ɛ:/แอ0E41 ต้น--
/o/โอะ
(โอะลดรูป)
0E42 ต้น 0E30
(ไม่มีรูปสระ)
-
ชบ
-
หยุด
/o:/โอ0E42 ต้นโอยอะไร
/ɔ/เอาะ
อ็อ
0E40 ต้น 0E32 0E30
ต้น 0E47 0E2D
-
ซ็อด
-
เหมือน
/ɔ:/ออ0E2Dบอฮกวาด
/ɒ/เอาฺะ
อ็อฺ
0E40 ต้น 0E32 0E3A 0E30
ต้น 0E47 0E2D 0E3A
-
ม็อฺด
-
หมด
/ɒ:/ออฺต้น 0E2D 0E3Aตอฺต่อ
/ə/เออะ
เอิ็
0E40 ต้น 0E2D 0E30
0E40 ต้น 0E34 0E47 สะกด
-
เติ็ว
-
ไป
/ə:/เออ
เอิ
0E40 ต้น 0E2D
0E40 ต้น 0E34
--
/ʌ/เออฺะ
เอฺิ็
0E40 ต้น 0E2D 0E3A 0E30
0E40 ต้น 0E3A 0E34 0E47 สะกด
-
เบฺิ็ด
-
ปิด
/ʌ:/เออฺ
เอฺิ
0E40 ต้น 0E2D 0E3A
0E40 ต้น 0E3A 0E34
-
เบฺิก
-
เปิด
  • เสียงสระที่ไม่มีในภาษาไทย ใช้เครื่องหมายพินทุ " ฺ " และนิคหิต " ํ " กำกับเพื่อให้ออกเสียงต่างออกไป เช่น ซอฺ (ขาว), ละออฺ (สวย), เบฺิก (เปิด), ปเรอฺ (ใช้), กูํ (วัว), จูํ (ชั่ว)
  • รูปสระที่ซ้อนกันหลายตัวตามแนวดิ่ง ในการพิมพ์ทางคอมพิวเตอร์ ให้พิมพ์จากล่างขึ้นบน เช่นสระ /ʌ/ ที่มีตัวสะกด กดพยัญชนะต้น กดพินทุ ตามด้วย อิ แล้วตามด้วยไม้ไต่คู้