สัทวิทยา ของ ภาษาเขมรถิ่นไทย

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาเขมรถิ่นไทย[4]
ประเภทเสียงตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปากริมฝีปาก
กับฟัน
ปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิกmnɲŋ
เสียงกักไม่ก้องไม่พ่นลมptckʔ
พ่นลม
ก้องbd
เสียงเสียดแทรกfsh
เสียงลิ้นรัวr
เสียงข้างลิ้นl
เสียงกึ่งสระwj


  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียง /k/ ในตำแหน่งท้ายพยางค์มีเสียงย่อย 2 เสียง คือ [k] และ [ʔ] เช่น /tɨk/ 'น้ำ' อาจออกเสียงเป็น [tɨk] หรือ [tɨʔ]
  • หน่วยเสียง /c/ และ /cʰ/ ในบางตำรากล่าวว่าเป็นหน่วยเสียง /t͡ɕ/ และ /t͡ɕʰ/
  • หน่วยเสียง /f/ เป็นหน่วยเสียงที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน

สระ

สระเดี่ยว

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาเขมรถิ่นไทย[5]
ประเภทสระหน้าสระกลางลิ้นสระหลัง
สระสูงi, iːɨ, ɨːu, uː
สระกึ่งสูงɪ, ɪːɤ, ɤːʊ, ʊː
สระกลางe, eːə, əːo, oː
สระกึ่งต่ำɛ, ɛːʌ, ʌːɔ, ɔː
สระต่ำa, aːɒ, ɒː

สระประสม

หน่วยเสียงสระประสมภาษาเขมรถิ่นไทยมี 6 หน่วยเสียง[5] ได้แก่ /iə/, /iːə/, /ɨə/, /ɨːə/, /uə/ และ /uːə/ โดยหน่วยเสียง /ɨːə/ จะปรากฏเฉพาะในคำยืมภาษาไทย เช่น /kɨːək/ 'รองเท้า'