ชื่อ ของ ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นภาคพายัพมีชื่อเรียกหลายชื่อ โดยภาษาจากตระกูลภาษาไทต่าง ๆ มีชื่อเรียกซึ่งคล้ายคลึงหรือไม่เหมือนกัน

  • ในภาษาถิ่นพายัพเอง มักเรียกว่า "กำเมือง" (รูปปริวรรต: คำเมือง) อันแปลว่า "ภาษาของเมือง" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "ภาษาล้านนา" ส่วนชาวยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกภาษาของตนว่า "ภาษาลาว"[3]
  • ภาษาไทยมาตรฐาน เรียกว่า "ภาษาถิ่นพายัพ", "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ภาษาเหนือ" หรือ "ภาษายวน" ในอดีตเรียก "ลาวเฉียง" หรือ "คำเฉียง"[4]
  • ภาษาลาว เรียกว่า "ภาษายวน" (ลาว: ພາສາຍວນ, รูปปริวรรต: พาสายวน) หรือ "ภาษาโยน" (ลาว: ພາສາໂຍນ, รูปปริวรรต: พาสาโยน)
  • ภาษาไทลื้อ เรียกว่า "ก๋ำโย่น" (ไทลื้อ: ᦅᧄᦍᦷᧃ, รูปปริวรรต: คำโยน)
  • ภาษาไทใหญ่ เรียกว่า "กว๊ามโย๊น" (ไทใหญ่: ၵႂၢမ်းယူၼ်း, รูปปริวรรต: ความโยน)

นอกจากภาษากลุ่มไทดังกล่าวแล้ว ภาษาอังกฤษ เรียกภาษาถิ่นพายัพว่า "Northern Thai"

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาไทยถิ่นเหนือ http://rb-social.blogspot.com/2011/08/8-2_30.html http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=n... http://www.jipathaphan.com/index.php?lay=show&ac=a... http://www.oceansmile.com/K/Ratburi/ThaiYeun.htm http://www.teawtourthai.com/saraburi/?id=1454 http://kwannthp.wordpress.com/2011/12/22/%E0%B8%9B... http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43030 http://art-culture.chiangmai.ac.th/ http://hic.arts.chula.ac.th/index.php/tai-yuen http://library.tru.ac.th/il/lpcul23.html