การแบ่งกลุ่มยาปฏิชีวนะ ของ ยาปฏิชีวนะ

ตำแหน่งเป้าหมายในการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะในระดับโมเลกุล

โดยปกติแล้วการแบ่งกลุ่มยาปฏิชีวนะนั้นจะแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์, โครงสร้างทางเคมี หรือขอบเขตการออกฤทธิ์ โดยมีเป้าหมายการออกฤทธิ์มุ่งไปที่การขัดขวางการทำงานในระดับเซลล์หรือการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย[16] ซึ่งเป้าหมายเหล่านั้นอาจเป็นผนังเซลล์ (กลุ่มเพนิซิลลิน และกลุ่มเซฟาโลสปอริน) หรือเยื่อหุ้มเซลล์ (พอลีมิกซิน) หรือรบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นของแบคทีเรีย (กลุ่มไรฟามัยซิน, กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน, กลุ่มควิโนโลน, และกลุ่มซัลโฟนาไมด์) โดยที่ออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งดังข้างต้นนั้นจะมีคุณสมบัติเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย (กลุ่มแมโครไลด์, กลุ่มลินโคซาไมด์ และเตตราไซคลีน) จะเป็น ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรีย (bacteriostatic antibiotic) ยกเว้นกลุ่มอะมิโมไกลโคไซด์ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย[99] นอกเหนือไปจากนี้มักเป็นการแบ่งตามความจำเพาะในการออกฤทะกับเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ (Narrow-spectrum antibiotics) จะหมายถึงยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อแบคทีเรียกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาทิ แบคทีเรียแกรมลบ หรือแบคทีเรียแกรมบวก เป็นต้น ในขณะที่ ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotics) จะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียได้หลายกลุ่ม นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มดังข้างต้น ได้มีการคิดค้นพัฒนายาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากย้อนไปในอดีตราว 40 กว่าปีที่แล้วตั้งแต่ที่มีการค้นพบสารประกอบกลุ่มใหม่ที่มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ก็ไม่ได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นเท่าใดนัก จนกระทั่งในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 2000 และต้นคริสต์ทศวรรตที่ 2010 ได้มีการพัฒนาคิดค้นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ขึ้นได้สำเร็จและถูกนำมาใช้ทางคลินิกมากถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไลโปเพปไทด์ (เช่น แดพโตมัยซิน), กลุ่มไกลซิลไซคลีน (เช่น ไทกีไซคลีน), กลุ่มออกซาโซลิไดโอน (เช่น ไลนิโซลิด), และ กลุ่มลิปิอาร์มัยซิน (เช่น ฟิแดกโซมัยซิน)[100][101]

ทั้งนี้ การแบ่งยาปฏิชีวนะตามกลไกการออกฤทธิ์โดยสังเขปแล้วสามารถแบ่งได้ตามตารางต่อไปนี้:

การแบ่งยาปฏิชีวนะตามกลไกการออกฤทธิ์
ชื่อสามัญทางยาชื่อการค้าข้อบ่งใช้อาการไม่พึงประสงค์[102]กลไกการออกฤทธิ์[102]
อะมิโนไกลโคไซด์
อะมิกาซิน[103]Amikinการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบอย่างรุนแรง ได้แก่ Escherichia coli และ Klebsiella. โทบรามัยซิน ออกฤทธิ์ต่อ Pseudomonas aeruginosa ได้ดีมาก. นีโอมัยซิน สามารถใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องได้. ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน (ยกเว้นสายพันธุ์ที่เจริญได้ทั้งที่มีและไม่มีออกซิเจน; Facultative anaerobe) เนติลมัยซิน สามารถออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อเจนตามัยซินและโทบรามัยซินได้ดี[104]ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน โดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้การแปรรหัสพันธุกรรมผิดพลาด และได้โปรตีนที่ไม่สามารถทำงานได้[106]
เจนตามัยซินGaramicina
กานามัยซินKantrex
นีโอมัยซินNeosporin
เนติลมัยซินNetromicina
สเตรปโตมัยซิน
โทบรามัยซินNebcin
พาโรโมมัยซินHumatin
เอนซามัยซิน
เกลดานามัยซินใช้ในการทดลอง: ยาปฏิชีวนะยับยั้งเนื้องอก
  • มีอาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย
  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดผิดปกติ, เกิดพิษต่อตับและไต แต่สามารถผันกลับมาเป็นปกติได้[107]
เกลดานามัยซินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Hsp90 (Heat Shock Protein 90) โดยจะเข้าจับกับ ADP/ATP-binding pocket ของโปรตีนแปลกปลอม และขัดขวางการวมตัวกันของ Hsp23 ไปเป็น 90/90- Imph Trimer ซึ่งจะส่งผลต่อการก่อตัวของ HER-2 oncogene ส่วนเฮอร์บิมัยซินจะออกฤทธิ์ลดการเกิดปฏิกิริยาฟอสโฟริเลชันของหมู่ไทโรซีนและลดการทำงานของ Cox-2 แบบจำเพาะเจาะจงโดยไม่มีผลต่อ Cox-1.[108]
เฮอร์บิมัยซินHerbamicina A
คาร์บาซีเฟม
ลอราคาร์เบฟLorabidการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบหายใจส่วนบนและการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
คาร์บาพีแนม
เออร์ตาพีแนมInvanzฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ จึงนิยมใช้สำหรับการให้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (empiric therapy) (Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อเมทิซิลลินจะดื้อต่อยากลุ่มนี้ด้วย) การใช้อีมิพีแนมร่วมกับซิลาสเตตินจะช่วยลดการที่อีมิพีแนมถูกทำให้หมดฤทธิ์โดยเอนไซม์ในร่างกายมุนษย์และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อไต ในกลุ่มนี้เออร์ตาพีแนมจะออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอีได้ดีที่สุด[110]ออกฤทธิ์โดยอาศัยวงบีตา-แลคแตม: ยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรียโดยการยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
โดริพีแนมFinibax
อีมิพีแนม
อีมิพีแนม/ซิลาสเตตินPrimaxina
มีโรพีแนมMerrem
เซฟาโลสปอริน (รุ่นที่ 1)
เซฟาดรอกซิลDuricefเนื่องจากยาทุกชนิดในกลุ่มเซฟาโลสปอรินนี้มีวงบีตา-แลคแตม จึงมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Bacteriacidal agents) เช่นเดียวกันกับกลุ่มเพนิซิลลิน โดยจะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวกได้ดี เช่น สกุลโปรตีอัส, Escherichia coli และสกุลเคลบซิลลาออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาอื่นในกลุ่มบีตา-แลคแตม โดยจะรบกวนการสร้างเปบทิโดไกลแคน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ยากลุ่มนี้มีความไวต่อเอนไซม์บีตาแลคตาเมสต่ำ
เซฟาโซลินAncef
เซฟาโลตินKeflin
เซฟาเลกซินKeflex
เซฟราดีนVeracef
เซฟาโลสปอริน (รุ่นที่ 2)
เซฟาคลอร์Ceclorมีประสิทธิภาพมากกว่าเพนิซิลลินในการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่ง แต่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากันในการต้านแบคทีเรียแกรมบวกรูปวงกลม[111] โดยยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อต่อไปนี้ได้ดี แบคทีเรียแกรมบวกรูปวงกลม, Haemophilus influenzae, Enterobacter, Neisseria, Proteus, Escherichia coli และ Klebsiellaออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาอื่นในกลุ่มบีตา-แลคแตม โดยจะรบกวนการสร้างเปบทิโดไกลแคน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
เซฟาแมนโดลMandol
เซโฟซิตินMefoxitin
เซฟโปรซิลCefzil
เซฟูรอกซิมCeftina, Zinnat
เซฟาโลสปอริน (รุ่นที่ 3)
เซฟิซิมSupraxเซฟาโลสปอรินกลุ่มนี้จะใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียยที่รุนแรงอันเนื่องมาจากเชื้อสาเหตุเป็นเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มบีตา-แลคแตม เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ใช้เป็นยาป้องกันการจิดเชื้อแบคทีเรียก่อนการทำศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือการผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง หรืออุ้งเชิงกรานออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาอื่นในกลุ่มบีตา-แลคแตม โดยจะรบกวนการสร้างเปบทิโดไกลแคน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
เซฟดิเนียร์Omnicef
เซฟดิตอเรนMeiact
เซโฟเพอราโซนCefobid
เซฟโฟแทกซิมClaforan
เซฟโปดอกซิมVantin
เซฟตาซิดิมFortaz
เซฟติบูเตนCedax
เซฟติซอกซีมCefizox
เซฟไตรอะโซนRocephin
เซฟาโลสปอริน (รุ่นที่ 4)
เซฟีพิมMaxipimeออกฤทธิ์ครอบคลุมสกุล Pseudomonas มากขึ้น รวมถึงแบคทีเรียแกรมบวกด้วย
  • เช่นเดียวกันกับเซฟาโลสปอรินอื่นๆ
รบกวนการสร้างเปบทิโดไกลแคน
เซฟาคลิดีนCefclidin
เซฟาโลสปอริน (รุ่นที่ 5)
เซฟโตบิโพรลZevteraมีฤทธิ์ต้าน Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อเมทิซิลลินได้ดี
  • เช่นเดียวกันกับเซฟาโลสปอรินอื่นๆ
รบกวนการสร้างเปบทิโดไกลแคน
ไกลโคเปปไทด์
ไทโคพลานินTargocidใช้สำหรับผู้ป่วยในระยะวิกฤติที่แพ้ต่อยากลุ่มบีตา-แลคแตมเป็นอาการข้างเคียงที่ผันกลับมาเป็นปกติได้:
แวนโคมัยซินVancocin
แมโครไลด์
อะซิโทรมัยซินZitromax, Sumamed, Zitrocinการติดเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตคอกคัส, ซิฟิลิส, การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ, การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลไมโคพลาสมา, โรคไลม์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยจับกับหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย
คลาริโทรมัยซินKlaricid
ดิริโทรมัยซินDynabac
อิริโทรมัยซินEritocina, Eritroped
ร็อกซิโทรมัยซินRoxitrol
โทรลีแอนโดมัยซิน(TAO)
เทลิโทรมัยซินKetekปอดบวมการมองเห็นผิดปกติ, เกิดพิษต่อตับ[112]
สเปคติโนมัยซินTrobicinAntimetabolite, มะเร็ง และหนองใน[113]
มอนอแบคแตม
แอซทรีโอแนมAzactamการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดใช้ออกซิเจน เช่น วงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอี และสกุลเยอซิเนีย, สกุลเพลสสิโอโมแนส, สกุลแอโรโมแนส, และสกุลไนซีเรีย[114] ไม่มีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกรูปทรงกลม, แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน และสกุลอซีเนโตแบคเตอร์[110]ผื่น, ผลการตรวจการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ. สามารถใช้ยานี้ได้อย่างปลอดภัยในผู้ที่แพ้เพนิซิลลิน[110]เช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มบีตา-แลคแตม: ยับยั้งการสร้างเปบทิโดไกลแคนของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์, จับกับเอนไซม์ Penicillin-binding protein 3 (PBP3) ในแบคทีเรียแกรมลบ[110]
เพนิซิลลิน
อะม็อกซีซิลลินNovamox, Amoxilใช้รักษาโณคที่เกิดจากการติดเชื้อได้อย่างหลากหลายขึ้นกับชนิดของยา เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตคอกคัส, ซิฟิลิส, โรคไลม์ช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มบีตา-แลคแตม: ยับยั้งการสร้างเปบทิโดไกลแคนของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์
แอมพิซิลลินUnasayn
อะโซลซิลลินSecuropen
คาร์เบนิซิลลินPyopen
คลอกซาซิลลินAnaclosil
ไดคลอกซาซิลลินDicloran
ฟลูคลอกซาซิลลินFloxapen
เมซโลซิลลินBaypen
เมทิซิลลินStaphcillin
นาฟซิลลินNallpen
ออกซาซิลลินProstafilina
เบนซิลเพนิซิลลิน (G)
ปิปเปอราซิลลินPipracil
ไทคาร์ซิลลินTimentin
พอลิเพปไทด์
แบซิทราซินการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา, หู, กระเพาะปัสสาวะ โดยปกติมักบริหารยาโดยการทาหรือหยอดลงบนบริเวณที่ติดเชื้อโดยตรง พบเห็นการบริหารยาโดยการฉีดได้น้อยมากเกิดพิษต่อไตและระบบประสาท หากบริหารยาโดยการฉีดยับยั้งการสร้างเปบทิโดไกลแคนของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์[115]
โคลิสตินรบกวนการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ (permeability) ของเซลล์แบคทีเรีย โดยเข้าจับกับเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย
พอลีมิกซิน บี
ควิโนโลน
ซิโปรฟลอกซาซินCipro, Ciproxin, Ciprobayการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ, ต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, โรคปอดอักเสบชุมชน, ท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อสกุลไมโคพลาสมา, และหนองใน ยากลุ่มนี้มีผลต่อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนน้อยมาก[110]คลื่นไส้ (น้อยมาก), เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง (น้อยมาก)[110]ยับยั้งเอนไซม์ Topoisomerase, DNA gyrase และเอนไซม์อื่นอีกหลายชนิด, ยับยั้งการถ่ายแบบดีเอ็นเอและการถอดรหัสพันธุกรรม
อีนอกซาซินEnoxin
กาติฟลอกซาซินTequin
ลีโวฟลอกซาซินTavanic
โลมิฟลอกซาซินLoflox
มอกซิฟลอกซาซินAvelox
นอร์ฟลอกซาซินNoroxin
ออฟลอกซาซินOcuflox
โทรวาฟลอกซาซินTrovan
ซัลโฟนาไมด์
เมฟีไนด์การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ (ยกเว้นซัลฟาซีตาไมด์ และเมฟีไนด์) ; เมฟีไนด์ใช้เป็นยาทาแผลไฟไหม้ยับยั้งการสังเคราะห์กรดโฟลิก ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ
พรอนโตซิล (ยาเก่า)
ซัลฟาซีตาไมด์
ซัลฟาเมไทโซล
ซัลฟานิลาไมด์ (ยาเก่า)
ซัลฟาซาลาซีน
ซัลฟาฟูราโซล
ไตรเมโทพริม
ไตรเมโทพริม/ซัลฟาเมโทซาโซล (โคไตรมอกซาโซล หรือ แบคตริม)
เตตราไซคลีน
เดเมโคลไซคลีนซิฟิลิส หรือการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียสกุลคลามัยเดีย, สกุลไมโคพลาสมา และสกุลสกุลริคเค็ทเซีย รวมไปถึงสิวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียโดยการเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย[116]
ดอกซีไซคลีนVibramicina
มิโนไซคลีนMinocin
ออกซิเตตราไซคลีนTerramicina
เตตราไซคลีนSumycin
เอมเฟนิคอล
คลอแรมเฟนิคอลChloromycetinมีประสิทธิภาพในการต้านแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจนการเกิดพิษองยาจะสัมพันธ์กับขนาดยา โดยอาจเกิดการกดไขกระดูก นำไปสู่การเกิดโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อได้ [117]แต่ส่วนใหญ่สามารถผันกลับเป็นปรกติได้หลังการหยุดใช้ยาเข้าจับกับหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรียแบบผันกลับได้ ส่งผลให้การสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียหยุดชะงักและสิ้นสุดลงเร็วกว่าปกติ[104]
อื่นๆ
อาร์สเฟนามินSalvarsanการติดเชื้อแบคทีเรียชั้นสไปโรคีท (เลิกใช้แล้ว)เกิดพิษจากสารหนูปลดปล่อยอนุภาค RAs (OH)2, ออกมา ซึ่งอนุภาคนี้จะก่อให้เกิดพิษต่อแบคทีเรีย Treponema pallidum
คลินดามัยซินCleocinการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน, สิวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, ใช้ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียของงแผนก่อนทำการผ่าตัด, และใช้กรณีติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อเมทิซิลลิน (MRSA)[118]มักพบการเกิดอาการท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium difficile ซึ่งมักนำไปสู่การเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ Pseudomembranous colitis (PMC)[119]ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย[120]
ลินโคมัยซินLincocinสิวอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียของแผลหลังการผ่าตัด, โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในไฟลัมแอคติโนมัยสีท, สกุลไมโคพลาสมา และสกุลพลาสโมเดียมบางสายพันธุ์ลำไส้ใหญ่อักเสบ ซึ่งในบางรายอาการอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้เช่นเดียวกับกลุ่มแมโครไลด์ โดยจะเข้าจับกับหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย เพื่อยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
อีแทมบูทอลMyambutol (ตัวย่อ: EMB)ยาต้านวัณโรค[121]ส่วนใหญ่มักเกิดภาวะเส้นประสาทตาอักเสบ[122] ดังนั้นจึงห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปียับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
ฟอสโฟมัยซินMonurolการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะอาการไม่พึงประสงค์น้อย ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้, อาเจียนยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
กรดฟูซิดิคFucidinโดยส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวก เช่น สกุลสแตฟฟิโลคอคคัส, สกุลสเตรปโตคอกคัส และสกุลโครีนีแบคทีเรียมดีซ่าน, ปัสสาวะสีน้ำตาลคล้ำ ทั้งนี้อาการผิดปกติดังกล่าวสามารถกลับคืนเป็นปกติได้หลังจากหยุดใช้ยายับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน โดยขัดขวางกระบวนการการนำสารตัวกลางที่ใช้ในการต่อลำดับกรดอะมิโนกลับมาใช้ใหม่ (Elongation factor)
ฟูราโซลิโดนFuroxoneท้องเสีย และลำไส้เล็กอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโปรโทซัว, อหิวาตกโรค และเจียอาร์ไดอาซิสอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยคือ สั่น, ไม่สบายท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, เส้นประสาทอักเสบ (neuritis)สร้างการเชื่อมโยงข้าม (cross-link) กับดีเอ็นเอของแบคทีเรีย
ไอโซไนอะซิดLaniazidยารักษาวัณโรคชาตามมือ-เท้า, ตับอักเสบ, คลื่นไส้, อาเจียน, ผื่นยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย
ไลนิโซลิดZyvoxidการติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียแกรมบวกที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่นปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องผูก, ปฏิกิริยาการแพ้ยา, ตับอ่อนอักเสบ, และมีการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ทรานซามิเนส โดยความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใช้ยาในขนาดสูงหรือต่อเนื่องนานเกินไปยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับไรโบโซม
เมโทรนิดาโซลFlagyl หรือ Flegylโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโทซัว และเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งรวมถึง Bacteroides fragilis, สกุลฟูโซแบคทีเรียม, สกุลเวอิลโลเนลลา, Clostridium difficile และ C. perfringens, สกุลยูแบคทีเรียม, สกุลเพพโทคอคคัส, สกุลไกอาร์เดีย และสกุลเปปโตสเตรปโตคอกคัส ปัสสาวะสีแดง, การรับรสผิดปกติ, การใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบได้[104]ยับยั้งการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกของแบคทีเรีย โดยทำให้เกิดการแตกออกของดีเอ็นเอ [123][124][125]
มูพิโรซินBactrobanออกฤทธิ์กว้าง โดยที่ความเข้มข้นต่ำจะออกฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แต่จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเมื่อมีความเข้มข้นสูงแบคทีเรียดื้อต่อยานี้ได้ง่ายยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย
ไนโตรฟูรานโทอินMacrodantina, Macrobidoโดยทั่วไปใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่มักมีอาการคลื่นไส้, อาเจียน พบการเกิดอาการทางระบบหายใจที่เกี่ยวเนื่องกับการแพ้ยาได้บ้างเล็กน้อย[126], เกิดพิษต่อระบบทางเดินหายใจ[127][128]สร้างความเสียหายแก่ดีเอ็นเอ โดยเฉพาะในรูปที่ถูกรีดิวซ์จะออกฤทธิ์ได้ดี[126][129]
พลาเทนซิมัยซินอยู่ในระหว่างการศึกษาทางคลินิก ซึ่งพบว่าออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อเมทิซิลลิน (MRSA) ในหนูทดลองได้ดี[130]ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากกำลังอยู่ในขั้นการศึกษาทางคลินิกยับยั้งเอนไซม์ beta-ketoacyl synthases I/II (FabF/B) ซึ่งเป็นเอนไซม์หลักที่ทำหน้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์กรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย[131]
ไพราซินาไมด์ตัวย่อ: PZAยารักษาวัณโรค[132]ปวดตามข้อ แต่ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรง,[133][134] ตับอักเสบ[135], คลื่นไส้, อาเจียน, เบื่ออาหาร, ผื่น[132]ยับยั้งเอนไซม์ Fatty acid synthase (FAS) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์แบคทีเรีย[136]
ควินูปริสติน/ดาลโฟปริสตินSynercidสกุลสแตฟฟิโลคอคคัส และ Enterococcus faecium ที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน[137][138]ปวดในข้อ, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, ผื่น, คัน, ปวดศีรษะ,หลอดเลือดดำอักเสบ, ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง[139] นอกจากนี้ยังส่งผลยับยั้งการทำงานของระบบเอนไซม์ไซโทโครม P450 (CYP 450)[137]ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยยาทั้งสองจะเสริมฤทธิ์กัน[140] ดาลโฟปริสติน จะเข้าจับกับยูนิตย่อย 23 เอสของหน่วยย่อย 50 เอสบนไรโบโซมของแบคทีเรีย ส่งผลให้รูปร่างของไรโบโซมเปลี่ยนไป และช่วยให้ควินูปริสตินเข้าจับกับหน่วยย่อย 50 เอสบนไรโบโซมได้มากขึ้น ซึ่งจะยับยั้งการต่อสายพอลิเปปไทด์[140]
ไรแฟมพิซิน หรือ ไรแฟมพินRifaldinรักษาโรคเรื้อน, วัณโรค และโรคลีเจียนเนลโลสิส โดยใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น ยกเว้นในกรณีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ Haemophilus influenzae ชนิด บี และไข้กาฬหลังแอ่น ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว[141]คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย หรือ ไม่อยากอาหาร น้ำปัสสาวะและเหงื่อเป็นสีแดงออกส้ม ตับอักเสบ และยังอาจก่อให้เกิดการแพ้ยาได้[141]ขัดขวางการสร้างอาร์เอ็นเอของแบคทีเรีย[141] ผ่านการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ DNA-dependent RNA polymerase ของแบคทีเรีย[142]
ทินิดาโซลFasigyn, Simplotan, Tindamaxท่อปัสสาวะอักเสบ, ภาวะช่องคลอดอักเสบ, บิดมีตัว และเจียอาร์ไดอาซิส[143][144]ง่วงซึม, ปวดศีรษะ, มึนงง หากรับประทานพร้อมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดกลุ่มอาการคล้ายปฏิกิริยาจากยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram-like Reaction) ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น[143]ปลดปล่อยอนุมูลอิสระที่เป็นพิษต่อเซลล์ปรสิต[143]
ชื่อสามัญทางยาชื่อการค้าข้อบ่งใช้อาการไม่พึงประสงค์[102]กลไกการออกฤทธิ์[102]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาปฏิชีวนะ http://www.abc.net.au/news/2016-06-10/superbug-fea... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.agr.gc.ca/eng/abstract/?id=275870000006... http://www.achaogen.com/plazomicin/ http://www.audible.com/pd/ref=sr_1_1?asin=B002VA8L... http://adc.bmj.com/content/100/7/615 http://www.cbsnews.com/news/superbugs-could-kill-m... http://www.cctv-america.com/2016/05/19/uk-study-wa... http://www.drugs.com/monograph/metronidazole.html http://www.drugs.com/monograph/rifampin.html