การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ของ ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย[2][59] และในบางครั้งถูกใช้เป็นยาต้านโพรโทซัว (เมโทรนิดาโซล สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโพรโตซัวบางสายพันธุ์ และในบางครั้งก็อาจถูกนำมาใช้เป็นยาต้านปรสิตได้เช่นกัน เมื่อพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือมีอาการที่อาจบ่งบอกได้ว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ยังไม่สามารถจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคได้ จะมีการให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เรียกว่า การให้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (empiric therapy) เพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุทั้งหมด[60] อย่างไรก็ตาม การให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotic) จะขึ้นอยู่อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยและผลการจรวจทางห้องปฏิบัติการในแต่ละวัน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายวันในการระบุเชื้อสาเหตุที่แน่ชัดได้[59][60]

เมื่อทราบถึงสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคดังข้างต้นแล้ว แบบแผนการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะถูกปรับเปลี่ยนให้จำเพาะเจาะจงกับเชื้อสาเหตุนั้นๆมากขึ้น โดยทั่วไปมักเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อที่แคบลง (narrow-spectrum antibiotic) ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนแบบแผนการรักษานี้จะขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้ ราคา ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกในการใช้ยานั้น การระบุชนิดของเชื้อก่อโรคที่จำเพาะถือเป็นจุดสำคัญในการรักษา เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์ จากการที่ต้องได้รับการรักษายาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างหรือหลายชนิดร่วมกัน อีกทั้งยังช่วยลดความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเสี่ยงจากการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย[60] ในอีกกรณีหนึ่ง การมีการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน เป็นการรักษาอีกหนึ่งทางเลือกโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด[61]

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกัน (prophylactic) เฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียสูง เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ เพื่อป้องกันโรคปอดบวม), ผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด[59] อาจการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการผ่าตัดเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณแผล และมีการใช้ในทางทันตกรรมเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดและการเกิดภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยที่มีนิวโตรฟิลในเลือดต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ป่วยมะเร็ง[62][63]

โดยยาปฏิชีวนะต่างชนิดหรือต่างกลุ่มกันจะมีข้อบ่งใช้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกันออกไป ดังแสดงในตารางต่อไปนี้[64]

ตัวอย่างขอบเขตการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ
ตารางแสดงขอบเขตการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ
แบคทีเรียแกรมบวกรูปทรงกลม/รีแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งแบคทีเรียกลุ่มแอนแอโรบ
MRSAMSSAStreptococcusE. coli และ KlebsiellaProteusPseudomonasESCAPPM†
เพนิซิลลิน
อะม็อกซีซิลลิน
ฟลูคลอกซาซิลลิน
เซฟาโซลิน
คลินดามัยซินคลินดามัยซิน
ไรแฟมพิซินและกรดฟูซิดิค
แวนโคมัยซิน, ไทโคพลานิน, ไลนิโซลิด และแดพโตมัยซิน
เมโทรนิดาโซล
ไตรเมโทพริม
ซิโปรฟลอกซาซิน
เจนตามัยซิน, โทบรามัยซิน และแอซทรีโอแนม
มอกซิฟลอกซาซินมอกซิฟลอกซาซิน
เซฟูรอกซิม
เซฟไตรอะโซน
เซฟตาซิดิม
เซฟิซิม
อะม็อกซีซิลลิน/กรดคลาวูลานิกAMX/CLV
ไทคาร์ซิลลิน/กรดคลาวูลานิก, ปิปเปอราซิลลิน/ทาโซแบคแตมTIC/CLV, PPR/TZB
อีมิพีแนม‡, มีโรพีแนม
เออร์ตาพีแนมเออร์ตาพีแนม
หมายเหตุ:
  • ESCAPPM คือ Enterobacter spp., Serratia spp., Citrobacter freundii, Aeromonas spp., Proteus spp., Providencia spp. และ Morganella morganii
  • ‡ ใช้สำหรับจุลชีพที่ผลิตเอนไซม์ ESBL ซึ่งส่วนใหญ่มักดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มีวงบีตาแลคแตม (beta-lactam ring)
  • ยาปฏิชีวนะที่ทำสัญลักษณ์ตัวหนาจะออกฤทธิ์ครอบคลุม Enterococcus Faecalis ซึ่งข้อมูลมนตารางนี้จะไม่ครอบคลุมแบคทีเรียจำพวก Atypical bacteria
  • ความไวต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียในพื้นที่นั้นๆ

การบริหารยา

การบริหารยาปฏิชีวนะนั้นสามารถกระทำได้หลายช่องทาง โดยปกติแล้วมักใช้การบริหารยาโดยการรับประทานทางปาก แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่ายิ่ง ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง จะบริหารยาให้แก่ผู้ป่วยด้วยวิธีการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือการฉีดอื่น[2][60] ในกรณีที่ตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้ออยู่ในบริเวณที่ยาปฏิชีวนะสามารถแพร่กระจายเข้าไปได้โดยง่าย อาจบริหารยาปฏิชีวนะนั้นๆได้ด้วยการใช้ในรูปแบบยาใช้ภายนอก อาทิ การใช้ยาหยอดตาหยอดลงเยื่อบุตาในกรณีเยื่อบุตาอักเสบ หรือการใช้ยาหยอดหู ในกรณีติดเชื้อแบคทีเรียในหูหรือหูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis externa) ยาใช้ภายนอกในรูปแบบยาทาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ไม่รุนแรง เช่น สิวอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (acne vulgaris) และเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)[65] โดยประโยชน์จากการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบยาใช้ภายนอก ได้แก่ บริเวณที่เกิดการติดเชื้อจะมีความเข้มข้นของยาสูงและมีความสม่ำเสมอ, ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดพิษหรืออาการไม่ประสงค์บางอย่างจากการใช้ยา, และปริมาณยาที่ต้องใช้ในการรักษาลดลง นอกจากนี้ยังลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดได้อีกด้วย[66] นอกจากนี้ การทายาปฏิชีวนะชนิดทาในกรณีแผลผ่าตัดนั้นก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อในแผลผ่าตัดได้[67] อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเด็นที่กังวลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใช้ภายนอก เนื่องจากอาจมีการดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือดได้ในบางกรณี, ปริมาณยาที่ใช้ในแต่ละครั้งนั้นยากที่จะกำหนดให้แม่นยำได้ และอาจทำให้เกิดภาวะภูมิไวเกิน หรือผื่นแพ้สัมผัสได้[66]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาปฏิชีวนะ http://www.abc.net.au/news/2016-06-10/superbug-fea... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.agr.gc.ca/eng/abstract/?id=275870000006... http://www.achaogen.com/plazomicin/ http://www.audible.com/pd/ref=sr_1_1?asin=B002VA8L... http://adc.bmj.com/content/100/7/615 http://www.cbsnews.com/news/superbugs-could-kill-m... http://www.cctv-america.com/2016/05/19/uk-study-wa... http://www.drugs.com/monograph/metronidazole.html http://www.drugs.com/monograph/rifampin.html