รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง
รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง

รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง หรือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ตลอดจนถึงพื้นที่ส่วนเหนือของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด โดยได้รับสัญญาสัมปทานในการดำเนินการตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการเปิดให้บริการจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการในรูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล มีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าว อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จากนั้นไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ก่อนมุ่งหน้าลงทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ แล้วเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรง อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ระยะทางรวม 30.4 กิโลเมตรเส้นทางสายนี้เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2543 โดยเป็นการรวมเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองช่วงรัชโยธิน - ศรีเอี่ยม และสำโรง - ศรีสำโรง ให้เป็นเส้นทางเดียวกัน แต่ได้ถูกนำออกไปเมื่อครั้งปรับปรุงแผนแม่บทปี พ.ศ. 2547 และนำกลับมาอีกครั้งในการปรับปรุงแผนแม่บท พ.ศ. 2549 โดยพิจารณาแยกเส้นทางออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรกให้เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนักไปจนถึงสถานีสำโรง และใน พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับปรุงเส้นทางสายสีเหลืองให้เป็นรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ก่อนปรับปรุงใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2553 โดยลดเส้นทางเหลือเพียงช่วงลาดพร้าว - สำโรง และให้ดำเนินการเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย[1]ปัจจุบัน โครงการฯอยู่ในระหว่างการก่อสร้างตลอดจนถึงการทดสอบการเดินรถในบางช่วง คาดว่าจะเปิดให้บริการทั้งเส้นทางได้ในเดือนปีพ.ศ. 2567โดยไม่รวมโครงการส่วนต่อขยายจำนวน 2 สถานีที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจาดำเนินการกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง

เว็บไซต์ เว็บไซต์โครงการ
ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน บีทีเอสกรุ๊ป
ขบวนรถ อัลสตอม อินโนเวีย โมโนเรล 300 (4 ตู้ต่อขบวน)
รูปแบบ รางเดี่ยว
แผนการเปิด พ.ศ.2567
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง

 สีน้ำเงิน  พหลโยธิน – รัชดาภิเษก
ลาดพร้าว
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
 สีเทา  สังคมสงเคราะห์ – ศรีวรา
ลาดพร้าว 83
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
 สีส้ม  รามคำแหง 34 – ศรีบูรพา
แยกลำสาลี
 สีน้ำตาล  สนามกีฬาคลองจั่น
ศรีกรีฑา
 สุวรรณภูมิ  รามคำแหง – ทับช้าง
 สีแดงอ่อน  รามคำแหง / รถไฟตอ.
หัวหมาก
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศูนย์ซ่อมบำรุงเทพรัตน-ศรีเอี่ยม
 สีเงิน  เทพรัตน 25 – เปรมฤทัย
ศรีเอี่ยม
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สำโรง
 สุขุมวิท  แบริ่ง – ปู่เจ้า
เจ้าของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
จำนวนสถานี 23
ระบบ รถไฟฟ้ามหานคร
สถานะ กำลังก่อสร้าง
ความเร็ว 80 km/h (50 mph)
ลักษณะทางวิ่ง ทางยกระดับ
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
ระยะทาง 32 กิโลเมตร
ปลายทาง
จำนวนทางวิ่ง 2
ผู้ดำเนินงาน บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2596)

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง http://www.fs-yellow-brown-pink.com http://www.mrta-yellowline.com http://www.youtube.com/watch?v=c_uxEa4dOE4 http://www.btsgroup.co.th/th/our-business/mass-tra... http://www.mrta.co.th/Brochure/brochure_Yellow.pdf http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_bro... http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok... http://www.otp.go.th https://www.bangkokbiznews.com/business/926908 https://www.facebook.com/CRSTECONYL/?ref=br_rs