หลักวิธีการเขียนบทความสามก๊ก ของ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสามก๊ก

หลักวิธีการเขียนบทความในสามก๊ก เป็นการกำหนดทิศทางของบทความเพื่อให้ทุก ๆ คนที่สนใจร่วมเขียนบทความในสามก๊กเช่นบทความตัวละครสามก๊ก สามารถเขียนบทความที่มีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนและสมบูรณ์ จนถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพและบทความคัดสรรของวิกิพีเดียไทย เช่นกวนอู หรือการเขียนบทความสงครามในสามก๊ก เช่นศึกเซ็กเพ็ก ศึกทุ่งพกบ๋อง หรือการเขียนบทความกลศึกสามก๊ก เช่นกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์ลูกโซ่ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ ซึ่งต้องมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ การเขียนบทความในสามก๊กในวิกิพีเดีย ควรมีหลักการและเนื้อหาในการเขียนดังนี้

เหตุการณ์

การเขียนเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสามก๊กซึ่งเป็นวรรณกรรม ให้ผู้เขียนเขียนโดยยึดเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นหลักเช่นคำสาบานในสวนท้อ ซึ่งเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏในสามก๊ก การร่วมสาบานเป็นพี่น้องระหว่างเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ซึ่งจากหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ระบุว่าไม่มีเหตุการณ์นี้จริง ให้ผู้เขียนบทความสามก๊กเขียนในลักษณะของการเขียนในส่วนวรรณกรรมและเพิ่มเติมในส่วนของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ตัวละคร

  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความตัวละครในสามก๊ก เช่น กวนอู (จีนตัวย่อ: 关羽; จีนตัวเต็ม: 關羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งซวงตี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งเหี่ยงตี่
    • การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร เช่น
      • จิวยี่ (อังกฤษ: Zhou Yu; จีน: 周瑜; พินอิน: Zhōu Yú) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู มีกำเนิดในครอบครัวขุนนางเก่า ชื่อรองกงจิ้น ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหารและศิลปะแขนงต่าง ๆ
    • การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร ถ้าไม่มีการกำหนดปี พ.ศ. ให้พิจารณาจัดเป็นตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ เช่น
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความตัวละครในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น กวนอูมีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • ประวัติ
    • ลักษณะนิสัย (ถ้ามี)
    • ครอบครัว
    • อาวุธ (ถ้ามี)
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความตัวละครสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความตัวละครสามก๊ก
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:ตัวละครในสามก๊ก
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น กวนอู มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:ตัวละครในสามก๊กหมวดหมู่:จ๊กก๊กหมวดหมู่:เทพเจ้าจีนหมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 2หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้น
  8. โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครในสามก๊กที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความตัวละครไปยังบทความตัวละครเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น en:Guan Yues:Guan Yufr:Guan Yu

ศึกสงคราม

  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความศึกสงครามในสามก๊ก ศึกผาแดง (อังกฤษ: Battle of Red Cliffs; จีน: 赤壁之戰) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก (Battle of Chìbì) ศึกเปี๊ยะเชี๊ยะหรือ ศึกชื่อปี้ เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในสมัยยุคสามก๊ก ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 751 โดยฝั่งหนึ่งเป็นกองทัพพันธมิตรของเล่าปี่และซุนกวนทางตอนใต้ และอีกฝั่งคือทัพของโจโฉทางตอนเหนือ ซุนกวนและเล่าปี่นั้นได้ชัยชนะเหนือโจโฉ ทำให้ความพยายามในการยึดดินแดนทางใต้ของโจโฉต้องล้มเหลวลง โดยจุดแตกหักเกิดขึ้น ณ ตำบลที่เรียกว่า "เซ็กเพ็ก" ริมแม่น้ำแยงซีเกียง ศึกผาแดงนี้นับว่าเป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสามก๊กและประวัติศาสตร์จีน
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความศึกสงครามในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เล่าปี่ต้องทิ้งเมืองซินเอี๋ยและอ้วนเซีย อพยพราษฎรจำนวนมาก เพื่อหนีการตามล่าจากโจโฉไปอยู่ที่เมืองแฮเค้าของเล่ากี๋ จากนั้นจึงส่งขงเบ้งไปเป็นทูตเจรจาขอให้ซุนกวนร่วมกันต้านโจโฉ ขณะที่โจโฉสามารถยึดเกงจิ๋วที่เดิมเป็นของเล่าเปียวได้สำเร็จ เพราะชัวมอคิดทรยศยอมยกเมืองให้โจโฉ ซึ่งภายหลังโจโฉก็สั่งสังหารเล่าจ๋องและชัวฮูหยินเสีย และประหารชัวมอและเตียวอุ๋น ตามแผนของจิวยี่ แม่ทัพใหญ่ฝ่ายง่อก๊ก เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • จุดเกิดของศึกสงคราม
    • ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ (ถ้ามี)
    • ศึกสงครามในสามก๊ก (ถ้ามี)
    • ผลของศึกสงคราม (ถ้ามี)
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความศึกสงครามสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความศึกสงครามสามก๊ก
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:สงครามสามก๊ก
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น ศึกเซ็กเพ็ก มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:สงครามสามก๊กหมวดหมู่:พ.ศ. 751 เป็นต้น
  8. โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความศึกสงครามสามก๊ก สำหรับบทความศึกสงครามที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความศึกสงครามไปยังบทความศึกสงครามเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น de:Schlacht von Chibien:Battle of Red Cliffsfr:Bataille de la Falaise rougeid:Pertempuran Chibi

กลศึก

  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความกลศึกในสามก๊ก เช่น กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (จีนตัวย่อ: 走为上; จีนตัวเต็ม: 走為上; พินอิน: Zǒu wéi shàng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุก ๆ ด้านไม่มีช่องโหว่ให้พลิกเอาชัยชนะแม้แต่น้อย ขึนนำกำลังเข้าต่อสู้ก็มีแต่สูญเสีย การถอยหนีย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความกลศึกในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น กลศึกยุทธ์หลบหนี ตามคัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้นมิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึกที่มักจะพบเห็นเสมอ นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวว่า "การพ่ายแพ้หมายถึงความล้มเหลวในทุก ๆ ด้าน การยอมสงบศึกหมายถึงการล้มเหลวในบางด้าน แต่การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย" ดังนั้นการถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ลำเขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็กเป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • ตัวอย่างกลยุทธ์
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความตัวละครสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความตัวละครสามก๊ก
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:กลศึกสามก๊ก
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น กวนอู มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:กลศึกสามก๊ก เป็นต้น
  8. โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความตัวละครไปยังบทความตัวละครเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น zh:走為上計

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา