บทสรุป ของ สงครามตีเมืองทวาย

สยามไม่ประสบความสำเร็จในการนำชายฝั่งตะนาวศรี ซึ่งประกอบด้วยเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี กลับมาครอบครองอีกครั้งดังเช่นที่เคยเป็นในสมัยอยุธยา เทือกเขาตะนาวศรีเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นการติดต่อขนส่งระหว่างชายฝั่งตะนาวศรีและที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลางเป็นไปอย่างลำบาก สยามจึงเข้าควบคุมทวาย มะริด และตะนาวศรีได้ยาก อีกทั้งอาณาจักรพม่ายุคราชวงศ์โก้นบองมีนโยบายเข้าควบคุมพม่าตอนล่างอย่างมั่งคง[1] ไม่ยินยอมให้สยามเข้ามามีอำนาจในชายฝั่งตะนาวศรี เมืองทวายเป็นฐานให้แก่ทัพพม่าในการเข้าโจมตีสยามอีกครั้งในสงครามพม่าตีเมืองถลางในพ.ศ. 2352

หลังจากสงครามตีเมืองทวาย ชายฝั่งตะนาวศรีอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าอย่างถาวร จนกระทั่งสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Burmese War) พม่าจึงสูญเสียชายฝั่งตะนาวศรีให้แก่จักรวรรดิอังกฤษไปในพ.ศ. 2369 การที่พม่าสามารถรักษาหัวเมืองมะริดตะนาวศรีไว้ได้ จึงมีชาวไทยในพม่าอาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรีของพม่าจนถึงปัจจุบัน

แมงจันจาอดีตเจ้าเมืองทวาย หรือ"พระยาทวาย"ตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงเทพฯต่อมา จนกลายเป็นหัวหน้าชุมชนชาวทวายในกรุงเทพฯที่ตำบลคอกกระบือ[6] (ปัจจุบันคือบริเวณวัดบรมสถล แขวงยานนาวา) ต่อมาในพ.ศ. 2359 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เชลยสงครามชาวพม่าแหกคุกและก่อการกบฏ พระยาทวายแมงจันจาถูกจับว่ามีส่วนรู้เห็นในการกบฏครั้งนี้และถูกประหารชีวิตไปในที่สุด[7]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว