เหตุสงคราม ของ สงครามศาสนาของฝรั่งเศส

พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ทรงเริ่มนโยบายกดขี่โปรเตสแตนต์ใน ค.ศ. 1534 เมื่อกลุ่มโปรเตสแตนต์ติดโปสเตอร์ต่อต้านโรมันคาทอลิกในห้องพระบรรทมของพระองค์ ซึ่งทำให้พระเจ้าฟรองซัวกริ้วมาก ทำให้ฌ็อง กาลแว็ง (Jean Calvin) นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งนิกายคัลแวง ต้องหลบหนีไปสวิตเซอร์แลนด์ แต่นิกายคัลแวงเริ่มเป็นที่นับถือในบรรดาขุนนางชั้นสูงและปัญญาชน แม้จำนวนจะไม่มากแต่ด้วยอำนาจของกลุ่มคนเหล่านี้ทำให้โปรเตสแตนต์หรือที่ฝ่ายโรมันคาทอลิกตั้งฉายาให้ว่าอูเกอโนต์ เริ่มจะมีปากมีเสียงในสังคมและการเมือง

พระเจ้าอองรีที่ 2 สิ้นพระชนม์ระหว่างการประลองดาบในการทำสนธิสัญญากาโต-กังเบรซี พระเจ้าฟรองซัวที่ 2 พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ต่อมา พระเจ้าฟรองซัวทรงอภิเษกกับราชินีมารีที่เพิ่งหลบหนีมาจากสกอตแลนด์เพราะถูกอังกฤษโจมตีพระปิตุจฉาฟรองซัวดยุคแห่งกีส เข้ามามีอำนาจปกครองบ้านเมือง ตระกูลกีสเป็นตระกูลที่โรมันคาทอลิกที่เคร่งครัดและต่อต้านโปรเตสแตนต์อย่างรุนแรง ในปี ค.ศ. 1560 บรรดาขุนนางต้องการขับตระกูลกีสจากอำนาจ โดยการวางแผนล้มล้างที่เรียกว่า การคบคิดที่อังบัวส์ (The Conspiracy of Amboise) แต่ถูกจับได้ บรรดาผู้สมรู้ร่วมคิดจึงถูกกลาดล้าง โดยเฉพาะเจ้าชายแห่งกงเด (Prince of Condé) ตระกูลบูร์บงแต่ถูกปล่อยตัว

ปีเดียวกันพระเจ้าฟรองซัวส์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 ขึ้นครองราชย์แต่ยังพระเยาว์ พระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดีชีพระมารดาจึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระนางทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างตระกูลกีสผู้ฝ่ายโรมันคาทอลิกและตระกูลบูร์บงฝ่ายอูเกอโนต์ พระราชินีแคทเธอรินทรงให้เสรีภาพทางศาสนาแก่กลุ่มอูเกอโนต์โดยผ่านพระราชกฤษฎีกาแซงต์-เยอร์แมง ในค.ศ. 1562 เพื่อคานอำนาจตระกูลกีส ตระกูสกีสไม่พอใจและพยายามกดดันให้พระองค์ยกเลิกพระราชกฤษฎีกา

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม