เบื้องหลัง ของ สงครามอิรัก–อิหร่าน

ความขัดแย้งอิรัก-อิหร่าน

อิหร่านและอิรักมีความขัดแย้งกันจากปัญหาเชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของอิรักมีเชื้อสายอาหรับใช้ภาษาอารบิก ในขณะที่ส่วนน้อยมีเชื้อสายเปอร์เซียใช้ภาษาเปอร์เซีย คนเชื้อสายเปอร์เซียในอิรักมีสถานะเป็นรองเชื้อสายอาหรับอยู่เสมอและมักถูกกดขี่โดยคนเชื้ออาหรับ ทำให้ชาวอิรักเชื้อสายเปอร์เซียเหล่านี้เกิดความคับแค้นใจต่อชาวอิรักเชื้อสายอาหรับ ปัญหาเช่นนี้เกิดในอิหร่านเช่นกัน ประชากรของอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซียกับอาหรับอย่างละครึ่ง แต่ชนชั้นปกครองในอิหร่านเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อสายเปอร์เซีย ฉะนั้นในอิหร่านเองก็มีความไม่พอใจของคนเชื้อสายอาหรับต่อคนเชื้อสายเปอร์เซีย

คนอิหร่านเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศในจังหวัดฆูเซสถานติดกับพรมแดนอิรัก ซึ่งจังหวัดฆูเซสถานนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน ขณะเดียวกัน อิรักก็พยายามอ้างอยู่เสมอว่าจังหวัดดังกล่าวเป็นดินแดนของอิรัก ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า จังหวัดอราเบแซน ทหารของสองประเทศมักมีการปะทะกันย่อม ๆ อยู่เสมอในจังหวัดนี้

นอกจากนี้ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า "ชาวเคิร์ด" เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอารยัน ไม่มีประเทศเป็นของตนเองแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของอิรัก, อิหร่าน, ตุรกี และสหภาพโซเวียต ชาวเคิร์ดได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้นในอิหร่าน ชาวเคิร์ดได้ก่อจลาจลขึ้นในอิหร่านในปี 1930 และถูกรัฐบาลอิหร่านปราบปรามอย่างรุนแรง ชาวเคิร์ดจำนวนมากหลบหนีเข้าไปยังอิรัก การปราบปราบอย่างรุนแรงทำให้ชาวเคิร์ดหมดหวังที่จะตั้งรัฐอิสระของตนในอิหร่าน และตั้งเป้าหมายที่จะตั้งรัฐอิสระขึ้นในอิรักแทน จนกระทั่งในปี 1969 ชาวเคิร์ดในอิรักกลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน, การทูต และด้านอื่น ๆ แก่ชาวเคิร์ดในอิรัก ต่อมาในปี 1974 รัฐบาลอิรักเข้าประนีประนอมกับรัฐบาลอิหร่านเนื่องจากเห็นว่าขณะนั้นอิหร่านเป็นชาติแข็งแกร่งและยังเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวกลายเป็น "สนธิสัญญาแอลเจียร์ ค.ศ. 1975" ที่ทางอิหร่านจะยุติให้การสนับสนุนแก่ชาวเคิร์ดแลกกับการที่อิรักเสียส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบแก่อิหร่าน

จากสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อิหร่านไม่ได้มีส่วนแก้ปัญหาชาวเคิร์ดในอิรักเลย แต่อิรักกลับต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งแก่อิหร่าน อิรักมองว่าสนธิสัญญาดังกล่าวหาความเป็นธรรมไม่ได้

จุดยืนของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาถือเป็นมิตรประเทศของประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติ แม้กระทั่งหลังการปฏิวัติอิหร่านแล้ว รัฐบาลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ก็ยังคงมองอิหร่านเป็นปราการเพื่อต่อต้านอิรักและสหภาพโซเวียต สหรัฐมีการเจรจาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับรัฐบาลเฉพาะกาลของอิหร่าน มีการอนุมัติความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างสองประเทศในปี 1979 ทั้งสหรัฐและอิหร่าน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน ขาดสะบั้นลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน และอิหร่านยังกล่าวหาสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารอิหร่านในปี 1953 สหรัฐได้ตัดทางการทูตเป็นการตอบโต้ ในขณะที่บรรดาผู้นำของอิหร่านรวมทั้งรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีต่างเชื่อทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าสหรัฐให้ "ไฟเขียว" แก่ซัดดัม ฮุสเซน ในการบุกอิหร่าน และยังสงสัยว่าสหรัฐจะใช้อิรักเป็นหมากในการแก้แค้นเรื่องวิกฤตตัวประกัน ตามบันทึกของประธานาธิบดีคาร์เตอร์เองก็ได้ระบุในไดอารีของเขาว่า "พวกผู้ก่อการร้ายอิหร่านกำลังจะทำเรื่องบ้า ๆ อย่างฆ่าตัวประกันชาวอเมริกันถ้าพวกเขาถูกบุกโดยอิรัก ที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นเชิดของอเมริกา"

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามอิรัก–อิหร่าน http://www.aljazeera.com/indepth/opinion/2011/02/2... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/325644/K... http://www.ft.com/cms/s/0/52add2c4-30b4-11e1-9436-... http://www.iranchamber.com/history/articles/arming... http://www.iranchamber.com/history/iran_iraq_war/i... http://www.kentimmerman.com/tdl.htm http://www.majalla.com/eng/2012/03/article55230108 http://www.nytimes.com/2003/03/14/world/threats-an... http://www.parstimes.com/history/national_security... http://www.sptimes.com/2007/06/25/Worldandnation/I...