งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ของ สติ_(จิตวิทยา)

ระดับการมีสติ

การเจริญสติโดยเปรียบเทียบแล้วเป็นงานศึกษาแนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาของชาวตะวันตก นักวิจัยพยายามที่จะกำหนดนิยามและวัดผลที่ได้จากการเจริญสติ ผ่านงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่วัดตัวแปรตาม (คือผล) ต่าง ๆแต่ว่า การวัดผลมาจากการรายงานตนของผู้ร่วมการทดลอง เป็นการวัดผลของสติที่เป็นอัตวิสัยเพราะเหตุนี้ จึงมีวิธีการวัดสติหลายอย่าง เป็นชุดคำถามที่ใช้ถามผู้ร่วมการทดลอง ที่คำตอบจะรวมกันแปลเป็นระดับผลมีวิธีการวัดอย่างน้อย 12 อย่างที่กล่าวถึงในเว็บไซต์ Mindfulness Research Guide (แนะแนวงานวิจัยเกี่ยวกับสติ)[66]มีตัวอย่างเหล่านี้คือ

  • Mindful Attention Awareness Scale (MAAS);
  • Freiburg Mindfulness Inventory;
  • Kentucky Inventory of Mindfulness Skills
  • Cognitive and Affective Mindfulness Scale.[67]

โดยใช้วิธีการวัดเหล่านี้ ซึ่งช่วยแสดงความเปลี่ยนแปลงระดับการมีสติแบบแจ้งเองโดยใช้การวัดข้อมูลทางจิตวิทยาอื่น ๆ เช่นความเป็นอยู่ที่ดีที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being)และโดยใช้การวัดข้อมูลอื่น ๆ เช่นสุขภาพและสมรรถภาพความสามารถนักวิจัยได้ตรวจสอบธรรมชาติและผลของการมีสติผลงานวิจัยสามารถจำแนกเป็นสองพวกคือ เกี่ยวกับการลดความเครียด และเกี่ยวกับการเพิ่มสภาพจิตที่ดี

ผลของการเจริญสติ

งานวิจัยเกี่ยวกับสติได้ดำเนินไปแล้วประมาณ 20-30 ปี โดยมีความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในทศวรรษที่แล้ว[68][69]

ผลทั่วไป

งานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ปี ค.ศ. 2013 ที่ใช้ข้อมูลจากงานวิจัย 209 งานที่มีผู้ร่วมการทดลอง 12,145 คน พบว่า MBT มีอิทธิผลเล็กน้อยในงานแบบ pre-post studiesดีกว่าวิธีการรักษาบางอย่าง (รวมทั้งการให้การศึกษาเกี่ยวกับจิต การบำบัดสนับสนุน การผ่อนคลาย การจินตนาภาพ และการบำบัดด้วยศิลปะ)แต่ไม่มีอิทธิผลยิ่งกว่า CBT ทั่วไป[70] งานวิเคราะห์พบว่า MBT มีอิทธิผลในการรักษาโรคจิตมากกว่าโรคกายว่า MBT มี "ผลดียิ่งและมีนัยสำคัญทางคลินิกในการรักษาโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า" และสามารถดำรงผลดีไว้ได้ในช่วงที่ติดตามผลผลเช่นนี้เหมือนกับงานวิเคราะห์อภิมานที่ได้ทำมาก่อน ๆ[57]แต่นักวิจัยยอมรับว่า งานวิจัยมีความต่างกันมากมายรวมทั้งแบบ วิธีการรักษาพยาบาล (intervention) ผู้ร่วมการทดลอง ผล และคุณภาพของงานและดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ข้อสรุปของงานวิเคราะห์อาจจะเกินความจริง[71]

มีงานศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับอิทธิผลของวิธีการเจริญ "กรรมฐาน" ต่าง ๆ (รวมทั้งท่องมนตร์ [mantra], Transcendental Meditation, และการเจริญสติ) เป็นงานศึกษาที่ออกทุนให้ทำโดยสำนักงานวิจัยและคุณภาพของการรักษาพยาบาลสุขภาพ (Agency for Healthcare Research and Quality) สหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2014[72] เป็นการปริทัศน์แหล่งอ้างอิง 17,801 งาน แล้วสรุปโดยอาศัยผลงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) ที่ให้การรักษาตามมาตรฐานทั่วไปกับกลุ่มควบคุม มีผู้ร่วมการทดลองรวมกัน 2,993 คนงานสรุปว่า "โปรแกรมการเจริญกรรมฐาน โดยเฉพาะโปรแกรมการเจริญสติ จะลดผลลบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากความเครียดทางใจ"[72]:vii มีการประเมินว่า

  1. "โปรแกรมการเจริญสติช่วยปรับปรุงอารมณ์ลบได้หลายด้าน รวมทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และความเครียดที่ (คนไข้)รู้สึกว่ามี ... ผลที่ได้มีนัยสำคัญสำหรับโรควิตกกังวล และเกือบไม่มีนัยสำคัญสำหรับโรคซึมเศร้า โดยวัดหลังจากเสร็จการรักษา และผลที่ได้ก็ยังดำรงความสำคัญที่ 3-6 เดือนหลังอยู่ได้ ทั้งสำหรับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า"[72]:130
  2. มี "ตัวบ่งชี้ที่เล็กน้อยแต่คงเส้นคงวาว่า อารมณ์เชิงลบทั้งหมดดีขึ้น (สำหรับคนไข้)ในโปรแกรมการเจริญสติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม"[72]:131 และแม้ว่าผลจะเล็กน้อย แต่ว่า "พอเทียบได้กับผลที่คาดหวังจากการใช้ยาลดความซึมเศร้า (antidepressant) ในกลุ่มคนไข้ที่รับการรักษาในระดับปฐมภูมิ (primary care)"[72]:131
  3. แต่ว่า MBT "ไม่ได้แสดงผลที่เหนือกว่า" เมื่อเทียบกับการบำบัดรวมทั้งการออกกำลังกาย โยคะ, progressive muscle relaxation (การผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ), CBT และการให้ยา[72]:131
  4. ส่วน MBSR มีผลเล็กน้อยต่อระดับความเจ็บปวดโดยทั่วไป และเป็นเหตุให้มี "การลดระดับความปวดท้องอย่างมีนัยสำคัญที่ 30% วัดที่สองเดือน และสามารถดำรงอยู่ได้ที่หกเดือน"[72]:133
  5. "ไม่มีผล หรือว่ามีหลักฐานไม่พอ สำหรับผลของโปรแกรมกรรมฐานต่อพื้นอารมณ์ที่ดี การใส่ใจ การใช้สารเสพติด นิสัยการรับประทาน การนอนหลับ และน้ำหนัก"[72][note 8]

กลไกทางประสาท

ในปี ค.ศ. 2011 National Center for Complementary and Alternative Medicine (ศูนย์การแพทย์เติมเต็มและทางเลือกแห่งชาติ) ซึ่งเป็นส่วนของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) ได้พิมพ์ผลงานวิจัยหนึ่งที่มีการถ่ายภาพทางสมองด้วย MRI ของผู้ร่วมการทดลอง 16 คน 2 อาทิตย์ก่อนและหลังที่ผู้ร่วมการทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการเจริญสติ (mindfulness meditation ตัวย่อ MM)ที่ทำโดยนักวิจัยที่ Massachusetts General Hospital (โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์), Bender Institute of Neuroimaging (สถาบันการสร้างภาพประสาทเบ็นเดอร์) ใน เยอรมนี, และ University of Massachusetts Medical School (คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์)นักวิจัยสรุปว่า

..ผลที่ได้ต่อไปนี้อาจจะเป็นกลไกทางสมองที่เป็นเหตุสัมพันธ์กับความดีขึ้นทางสุขภาพใจที่อาศัยการเจริญสติ[74]

ผลระงับปวดได้ของ MM เกิดจากกลไกทางสมองหลายอย่างรวมทั้งการทำงานของ anterior cingulate cortex และ ventromedial prefrontal cortex[75] นอกจากนั้นแล้ว การฝึก MM แม้ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ สามารถเพิ่มปริมาณเนื้อเทาในฮิปโปแคมปัสและในสมองกลีบข้าง[76] การเปลี่ยนแปลงทางประสาทอื่น ๆ ที่เกิดจาก MM อาจเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการใส่ใจ[77]

มะเร็ง

ตามข้อมูลจาก American Cancer Society (สมาคมมะเร็งอเมริกัน)

... หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้แสดงว่าการเจริญกรรมฐานมีอิทธิผลในการรักษามะเร็งหรือว่าโรคอะไร ๆ (ทางกาย) อย่างอื่น[78]

การติดสารเสพติด

นอกจากใช้ลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า งานวิจัยยังแสดงอิทธิผลของ MM ในการลดความรู้สึกอยากต่อสารเสพติดโดยรู้กันมาก่อนแล้วว่า การติดสารเสพติดจะลดการทำงานของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าที่ปกติทำให้สามารถเลื่อนการสนองความสุขในระยะสั้น เพื่อประโยชน์ที่จะได้ในระยะยาว และเพิ่มกำลังของระบบลิมบิกและส่วนสมองรอบระบบลิมบิกซึ่งเป็นส่วนสมองที่ตอบสนองต่อความสุขระยะสั้น

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 พบว่าการเจริญสติของผู้สูบบุหรี่เป็นเวลา 2 อาทิตย์โดยเป็นเวลารวมกัน 5 ช.ม. สามารถลดการสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และลดความอยากสูบบุหรี่ แม้แต่สำหรับผู้สูบบุหรี่ผู้ร่วมการทดลองแต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่การสร้างภาพในสมองของผู้ฝึก MM แสดงการทำงานในระดับสูงขึ้นของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการควบคุมตนเองได้มากขึ้น[79]

แต่ว่างานปริทัศน์เป็นระบบในปี ค.ศ. 2009 เกี่ยวกับการใช้ MM เป็นส่วนในการรักษาการติดสารเสพติด (substance use disorders ตัวย่อ SUDs) พบว่า[80]

  • ข้อมูลที่แสดงอิทธิผลที่ชัดเจนยังไม่มี
  • งานวิจัยต่าง ๆ ที่ทำในเรื่องนี้มีความจำกัดเกี่ยวกับระเบียบวิธี (คือระเบียบวิธียังไม่ดีพอ)
  • ไม่มีความชัดเจนว่า ผู้ติดสารเสพติดประเภทไหนจะได้ประโยชน์สูงสุดจาก MM

การสร้างนิสัยใหม่

การฝึกสติอาจจะช่วยให้เริ่มรู้เห็นลักษณะนิสัยทางจิตใจของตน อาศัยความสำนึกที่พัฒนาขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง[81] ช่วยให้สามารถทำการตอบสนองแบบใหม่ ๆ แทนที่จะมีการตอบสนองตามนิสัย[81] MM สามารถเป็น "จุดยืนหยัดทางจิตใจ ในการแยกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น จากอารมณ์ความรู้สึกที่สัมพันธ์ (กับประสบการณ์) และช่วยทำให้มีปฏิกิริยาที่ฝึกไว้ดีหรือมีสติ ต่อสถานการณ์ที่เกิดมีขึ้น"[27][80]

การควบคุมการใส่ใจ

การฝึกสติสามารถช่วยเพิ่มทักษะในการควบคุมการใส่ใจหรือสมาธิ[82]

ทิศทางสำหรับอนาคต

งานวิจัยโดยมากเกี่ยวกับสติต้องอาศัยเทคโนโลยีคือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยสร้างภาพสมองที่มีประโยชน์ในการศึกษาสาขานี้เช่น เป็นเรื่องที่น่าสนใจถ้าสามารถใช้ fMRI แบบเวลาจริงเพื่อแสดงการทำงานในสมอง เพื่อสามารถให้ฟี้ดแบ็กกับผู้ร่วมโปรแกรม MM ทันทีและช่วยในการสอนและอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้สอนกรรมฐานได้ง่ายขึ้น และช่วยประเมินสภาพจิตใจในช่วงการเจริญกรรมฐาน[83] เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นในอนาคต จะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงานวิจัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: สติ_(จิตวิทยา) http://www.amazon.com/Essentials-Mahamudra-Looking... http://www.askdoctork.com/mindfulness-meditation-r... http://www.baojournal.com/IJBCT/IJBCT-9_1/A01.pdf http://christiansimplicity.com/christian-mindfulne... http://franticworld.com/what-can-mindfulness-do-fo... http://www.gestalttheory.com/concepts http://www.huffingtonpost.com/ira-israel/types-of-... http://www.ingentaconnect.com/content/imp/jcs/2007... http://www.irishtimes.com/newspaper/health/2011/06... http://www.mindfullivingprograms.com/whatMBSR.php