โปรแกรมบำบัด ของ สติ_(จิตวิทยา)

Mindfulness-based stress reduction

Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) เป็นโปรแกรมบำบัดทางประชานและทางพฤติกรรม[39] พัฒนาโดย ศ. ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ซึ่งผสมผสานการฝึกสติ ความสำนึกในร่างกาย และโยคะ เพื่อช่วยให้มีสติเพิ่มขึ้น[27] เริ่มเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเจริญกรรมฐานเริ่มกลายเป็นประเด็นของงานวิจัยทางคลินิกมีกลุ่มควบคุม[40] ซึ่งแสดงว่า การเจริญสติอาจมีประโยชน์รวมทั้งช่วยลดความเครียด ช่วยผ่อนคลาย และช่วยเพิ่มคุณภาพของชีวิต แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันหรือรักษาโรค[41] แม้ว่า MBSR จะมีมูลฐานจากคำสอนทางศาสนา แต่โปรแกรมบำบัดไม่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเข้ามาเจือปน[42]

Mindfulness-based cognitive therapy

Mindfulness-based cognitive therapy (ตัวย่อ MBCT แปลว่าการบำบัดทางประชานอาศัยการฝึกสติ) เป็นการบำบัดทางจิตวิทยาเพื่อช่วยป้องกันการกลับไปเกิดภาวะซึมเศร้าอีกโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง (major depressive disorder)[43] เป็นการบำบัดที่ใช้วิธีการ cognitive behavioral therapy (ตัวย่อ CBT แปลว่า การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน) และเพิ่มกลยุทธ์ทางจิตเช่นการมีสติและการฝึกสติวิธีการทางประชานอาจรวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับความซึมเศร้า[44] ส่วนการมีสติและการฝึกสติจะช่วยให้มีสำนึกดีขึ้นเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ และช่วยให้ยอมรับได้ดีขึ้น แต่จะไม่เข้าไปยึดหรือมีปฏิกิริยา[45]

MBCT เหมือนกับ CBT ตรงที่มีรากฐานทางทฤษฎีว่า เมื่อคนที่มีประวัติความซึมเศร้าเกิดความทุกข์ก็จะกลับไปมีกระบวนการทางประชานอัตโนมัติที่สามารถจุดชนวนภาวะซึมเศร้า[46] จุดมุ่งหมายของ MBCT ก็เพื่อจะระงับกระบวนการอัตโนมัติเหล่านั้นแล้วสอนให้คนไข้ให้ลดปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่กำลังปรากฏและให้ยอมรับแล้วสังเกตสิ่งเร้าโดยไม่มีการตัดสิน[46] วิธีเช่นนี้ช่วยให้คนไข้สามารถสังเกตกระบวนการอัตโนมัติเหล่านี้ที่กำลังเป็นไป แล้วเปลี่ยนปฏิกิริยาของตนให้กลายเป็นการพิจารณาแทนงานวิจัยแสดงหลักฐานสนับสนุน MBCT ในบุคคลที่ได้เกิดภาวะซึมเศร้าแล้ว 3 ครั้งหรือมากกว่านั้น คือสามารถลดระดับการกลับเกิดภาวะซึมเศร้าอีกได้ถึง 50%[47]

Acceptance and commitment therapy

Acceptance and commitment therapy (ตัวย่อ ACT แปลว่า การบำบัดโดยการยอมรับและการให้สัญญา)เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมทางคลินิก (clinical behavior analysis) อย่างหนึ่ง[48] ที่ใช้ในจิตบำบัด (psychotherapy)เป็นวิธีการรักษาพยาบาลทางจิตวิทยาที่ใช้วิธีผสมผสานการยอมรับและการมีสติที่ต่างจากวิธีอื่น ๆ[49] ร่วมกับการให้สัญญาและกลยุทธ์การเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทางความคิดในยุคต้น ๆ วิธีการอย่างนี้เรียกว่า "comprehensive distancing (การออกตัวห่างอย่างสมบูรณ์)"[50] เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980[51][52]

Dialectical behavior therapy

การฝึกสติเป็นแบบฝึกหัด "หลัก" ใช้ใน Dialectical behavior therapy (ตัวย่อ DBT แปลว่า การบำบัดพฤติกรรมแบบวิภาษวิธี) คิดค้นเพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (borderline personality disorder)ตามผู้ค้นคิด DBT เป็นการบำบัดแบบวิภาษวิธี[53]เพราะว่าเป็น "การทำให้สภาพที่เป็นเรื่องตรงข้ามกันลงรอยกัน โดยกระบวนการสังเคราะห์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง"ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักกรรมฐานของชาวพุทธนิกายเซน ผู้ค้นคิดกล่าวว่า

การที่ DBT เน้นความสมดุลกันระหว่างความยอมรับกับความเปลี่ยนแปลง มีกำเนิดมาจากประสบการณ์ของดิฉันเองในการศึกษากรรมฐานและเรื่องของสภาพจิตใจตามหลักโลกตะวันออกหลักของ DBT เกี่ยวกับการสังเกต การมีสติ และการหลีกเลี่ยงการตัดสิน ล้วนแต่สืบเนื่องมาจากการศึกษาและการปฏิบัติกรรมฐานของนิกายเซน[53]:20-21

Mode Deactivation Therapy

Mode Deactivation Therapy (ตัวย่อ MDT แปลว่า การบำบัดยับยั้งฤทธิ์ตัวรูปแบบ) เป็นระเบียบวิธีการพยาบาลรักษาที่สืบเนื่องมาจากหลัก cognitive behavioral therapy (ตัวย่อ CBT แปลว่า การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน)และรวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ จาก Acceptance and commitment therapy, Dialectical behavior therapy, และเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับสติ[54] เทคนิคทางสติรวมทั้งการฝึกหายใจเข้าออกอย่างง่าย ๆ เพื่อช่วยให้คนไข้มีความสำนึกถึงและสามารถยอมรับโดยไม่มีการตัดสิน ถึงความคิดความรู้สึกที่ทำให้ไม่สบายใจทำให้ทุกข์ใจ ดังที่เกิดอยู่ในขณะปัจจุบันผลงานวิจัยที่พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2014 ได้แสดงว่า MDT เป็นวิธีที่ได้ผลในการบำบัดเด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ที่มีปัญหาทางใจหรือความเจ็บแค้นทางใจที่ซับซ้อน[55]

โปรแกรมอื่น ๆ

ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา มีงานวิจัยที่แสดงหลักฐานสนับสนุนการบำบัดโดยใช้สติ สำหรับอาการโรคทางกายและทางจิตเวช ที่น่าสนใจรวมทั้งความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain)[56]ความเครียด[6]โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า[57]การติดสารเสพติด[58]และพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่กลับเป็นซ้ำ[59]

งานที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2009 ทบทวนสาระสำคัญของวิธีการบำบัดแบบใช้สติ โดยเฉพาะในการบำบัดครอบครัว (family therapy)[60]และเริ่มต้นโดยกล่าวถึงรหัสยลัทธิและเน้นคุณค่าของการบำบัดโดยใช้สติ

Morita therapy (การบำบัดแบบโมะริตะ)

แพทย์จิตเวชชาวญี่ปุ่น Shoma Morita ผู้ได้ฝึกกรรมฐานแบบเซน เป็นผู้พัฒนาการบำบัดแบบโมะริตะ โดยอาศัยหลักการมีสติและความไม่ติดข้องและเริ่มตั้งแต่การสร้างการบำบัดแบบเกสทัลท์ (Gestalt therapy) ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1940 การฝึกสติก็เป็นส่วนสำคัญของทฤษฎีและข้อปฏิบัติ[61]

Adaptation Practice (วิธีการปรับตัว)

Adaptation Practice (วิธีการปรับตัว) มีการพัฒนาในปี ค.ศ. 1977 เป็นโปรแกรมสร้างวินัยตนที่มีการฝึกสติ ที่สามารถช่วยเผชิญปัญหาทางจิตและอารมณ์จากระดับที่น้อยที่สุด ไปจนถึงระดับที่รุนแรงที่สุด รวมทั้งโรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาการตื่นตระหนก (panic) โรคย้ำคิดย้ำทำ และความผิดปกติของการรับประทาน[62][63]

Hakomi therapy (การบำบัดแบบฮาโกะมิ)

Hakomi therapy (การบำบัดแบบฮาโกะมิ) เป็นวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาเชิงร่างกาย (somatic psychology) ที่คิดค้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยมาจากหลักการฝึกสติและอหิงสา

จิตวิทยาเชิงบวก

นักวิชาการหลักในสำนักจิตวิทยาเชิงบวกเสนอว่า การมีสติเป็นองค์สำคัญที่พบในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีหลักฐานแสดงว่าสามารถเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีหรือความสุขในชีวิตและแนะนำแบบฝึกหัดจิตต่าง ๆ การเจริญสติ การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน (CBT) และถ้าจำเป็น ยา (โดยเฉพาะประเภท selective serotonin reuptake inhibitors ซึ่งให้กับคนไข้โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคจิตอื่น ๆ)[64]

Mindfulness relaxation (การผ่อนคลายโดยมีสติ)

Mindfulness relaxation (การผ่อนคลายโดยมีสติ) เป็น "กรรมฐาน" ที่ใช้วิธีหายใจ การจินตนาภาพตามแนะนำ (guided imagery) และเทคนิคอื่น ๆ เพื่อผ่อนคลายทั้งกายและจิตใจ เพื่อช่วยลดความเครียด[65]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สติ_(จิตวิทยา) http://www.amazon.com/Essentials-Mahamudra-Looking... http://www.askdoctork.com/mindfulness-meditation-r... http://www.baojournal.com/IJBCT/IJBCT-9_1/A01.pdf http://christiansimplicity.com/christian-mindfulne... http://franticworld.com/what-can-mindfulness-do-fo... http://www.gestalttheory.com/concepts http://www.huffingtonpost.com/ira-israel/types-of-... http://www.ingentaconnect.com/content/imp/jcs/2007... http://www.irishtimes.com/newspaper/health/2011/06... http://www.mindfullivingprograms.com/whatMBSR.php