นิยาม ของ สติ_(จิตวิทยา)

ลักษณะนิสัย สภาวะ และข้อปฏิบัติ

คำว่า mindfulness มีความหมายหลายอย่างขึ้นอยู่กับนักวิชาการที่ทำงานศึกษา และขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้สติมีนักวิชาการบางท่านที่ใช้ mindfulness หมายถึงสภาวะของจิต ในขณะที่คนอื่นหมายถึงทักษะและเทคนิคในการปฏิบัติ[7][8]

แต่ว่า ยังสามารถแยกแยะคำว่า mindfulness โดยเป็นสภาวะ หรือเป็นลักษณะนิสัยได้อีกด้วย[9] สำหรับนักวิชาการท่านหนึ่ง แม้ว่า mindfulness ดั้งเดิมจะหมายถึงความเชื่อและคำสอนทางศาสนาที่มีจำกัดในกลุ่มบุคคล โดยเป็น "สมรรถภาพที่พัฒนาได้โดยคนบางคนเพียงเท่านั้น"[10] นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้แปลความหมายให้กลายเป็นสิ่งที่วัดได้ และมีนิยามทางการปฏิบัติที่ทำได้จริง ๆ[1][note 1]

นักวิชาการท่านหนึ่งเสนอความหมายของคำว่า mindfulness 3 อย่างคือ[1]

  1. ลักษณะนิสัย ลักษณะแนวโน้มเฉพาะตน (ที่ดำรงอยู่ได้ค่อนข้างนาน)[1] คือ เป็นความโน้มน้าวในบุคคลที่จะเข้าไปและดำรงอยู่ในภาวะที่มีสติ[11]
  2. สภาพ หรือผลที่เกิดขึ้น (คือ ความสำนึกที่เกิดขึ้นจากการฝึกสติ)[1] คือ การมีความสำนึกต่อขณะปัจจุบัน[11]
  3. การปฏิบัติ การฝึกสติ การเจริญสติ (mindfulness meditation)[note 2]

นิยามต่าง ๆ

ลักษณะนิสัย (trait)
  • "ลักษณะอย่างหนึ่งของใจที่ปรากฏพร้อมกับกิจกรรม (ทางใจ) ที่ทำให้ลักษณะนั้นเจริญขึ้น แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกิจกรรม"[7][15]
สภาพ
  • "ความสำนึกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ปรุงแต่ง ไม่ได้ทำการตัดสิน ที่มีศูนย์อยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถยอมรับความคิด ความรู้สึก หรือความรู้สึกทางประสาทสัมผัส โดยใส่ใจว่าเป็นเช่นนั้นเอง"[16]
การเจริญ/ข้อปฏิบัติ

Mindfulness เป็นวิธี

  • การใส่ใจที่มีกำเนิดมาจากการเจริญกรรมฐานของโลกตะวันออก[17]
  • "การใส่ใจอย่างเฉพาะเจาะจง ที่มีจุดมุ่งหมาย ที่มีในขณะปัจจุบัน และโดยไม่มีการตัดสิน"[18]
  • "การย้ายความใส่ใจของตนอย่างสิ้นเชิงมายังประสบการณ์ปัจจุบันโดยขณะ"[18]

แบบจำลองมีสององค์

ในปี ค.ศ. 2004 นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้กล่าวถึงมติที่มีในกลุ่มนักจิตวิทยาคลินิกเกี่ยวกับนิยามของ mindfulness ที่นำไปปฏิบัติได้และตรวจสอบได้[16] แล้วเสนอแบบจำลองมีองค์ประกอบสองอย่าง คือ

องค์แรกเป็นการควบคุมการใส่ใจโดยตนเอง ไว้ที่ประสบการณ์ในปัจจุบันซึ่งจะช่วยเพิ่มการรับรู้สภาพจิตใจต่าง ๆ ในขณะปัจจุบันส่วนองค์ที่สองเป็นการถือเอาทัศนคติเกี่ยวกับประสบการณ์ในขณะปัจจุบันของตนเป็นทัศนคติที่มีองค์ประกอบเป็นความอยากรู้อยากเห็น มีใจเปิดกว้าง และความยอมรับ[16]:232

องค์ประกอบแรกคือการควบคุมการใส่ใจเป็น "การย้ายความสำนึกมายังประสบการณ์ปัจจุบัน โดยสังเกตและใส่ใจในอารมณ์ (สิ่งที่รับรู้) เช่นความคิด ความรู้สึก ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส โดยขณะ โดยการควบคุมการใส่ใจ"ส่วนองค์ประกอบที่สองคือทัศนคติต่อประสบการณ์ เป็นการรักษาความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นกับสิ่งที่รับรู้ในแต่ละขณะและกับว่า ใจได้ย้ายอารมณ์ไปอยู่ที่ไหนและอย่างไร เมื่อมีการใส่ใจไปในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ประเด็นผู้ฝึกจะได้คำแนะนำไม่ให้พยายามเพื่อที่จะได้สภาวะใดสภาวะหนึ่ง (เช่น ความผ่อนคลาย)แต่ให้เพียงแค่สังเกตอารมณ์แต่ละอารมณ์ที่มากระทบกระแสของจิต[16]:233

แหล่งที่มา

WikiPedia: สติ_(จิตวิทยา) http://www.amazon.com/Essentials-Mahamudra-Looking... http://www.askdoctork.com/mindfulness-meditation-r... http://www.baojournal.com/IJBCT/IJBCT-9_1/A01.pdf http://christiansimplicity.com/christian-mindfulne... http://franticworld.com/what-can-mindfulness-do-fo... http://www.gestalttheory.com/concepts http://www.huffingtonpost.com/ira-israel/types-of-... http://www.ingentaconnect.com/content/imp/jcs/2007... http://www.irishtimes.com/newspaper/health/2011/06... http://www.mindfullivingprograms.com/whatMBSR.php