การปฏิบัติ ของ สติ_(จิตวิทยา)

ตามนักวิชาการท่านหนึ่ง การปฏิบัติรวมทั้งการเจริญกรรมฐานทั้งแบบรูปนัยและอรูปนัย และแบบฝึกหัดอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกรรมฐาน[34] การปฏิบัติโดยรูปนัย เป็นการฝึกรักษาความใส่ใจที่ร่างกาย ลมหายใจ หรือความรู้สึก หรืออะไรก็ได้ที่มาปรากฏในแต่ละขณะ[34] ส่วนการปฏิบัติโดยอรูปนัย เป็นการฝึกสติในชีวิตประจำวัน[34] ส่วนแบบการฝึกที่ไม่เป็นกรรมฐานมีการใช้ในวิธีบำบัดแบบ "Dialectical Behavior Therapy" และ "Acceptance and Commitment Therapy"[34]

สติกรรมฐาน

สติกรรมฐานฝึกได้โดยหลับตา นั่งขัดสมาธิบนเบาะ หรือบนเก้าอี้ มีหลังตั้งตรง[35] ให้ใส่ใจที่การเคลื่อนไหวของท้องเมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออก[3] หรือที่ลมหายใจเมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออกผ่านรูจมูก[36] ถ้าเกิดความคิดอย่าง ๆ อื่น ให้กลับไปใส่ใจที่ลมหายใจให้สังเกตเมื่อใจไปที่อื่น แต่โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสินในขั้นเบื้องต้นให้เริ่มฝึก 10 นาทีต่อวันเมื่อปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ จะง่ายขึ้นที่จะรักษาความใส่ใจที่ลมหายใจ[27] ในที่สุด ก็จะสามารถขยายความใส่ใจไปที่ความคิด ความรู้สึก และการกระทำได้ด้วย[36]

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดที่มีชื่อเสียงเริ่มโดย ดร. คาแบต-ซินน์ ในโปรแกรม MBSR ก็คือ การมีสติรับรู้รสชาติของลูกเกด[37][38][note 7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สติ_(จิตวิทยา) http://www.amazon.com/Essentials-Mahamudra-Looking... http://www.askdoctork.com/mindfulness-meditation-r... http://www.baojournal.com/IJBCT/IJBCT-9_1/A01.pdf http://christiansimplicity.com/christian-mindfulne... http://franticworld.com/what-can-mindfulness-do-fo... http://www.gestalttheory.com/concepts http://www.huffingtonpost.com/ira-israel/types-of-... http://www.ingentaconnect.com/content/imp/jcs/2007... http://www.irishtimes.com/newspaper/health/2011/06... http://www.mindfullivingprograms.com/whatMBSR.php