คณะกรรมการการเลือกตั้ง ของ สภาแห่งชาติลาว

คณะกรรมการการเลือกตั้งของ สปป.ลาว เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นชั่วคราวเพื่อจัดการเลือกตั้ง ก่อนวัน (ที่คาดว่าจะมีการ) เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 120 วัน และอายุการหรือวาระของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะสิ้นสุดลงหลังการประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดใหม่ (เมื่อได้จัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อย รวมทั้ง รายงานผลการเลือกตั้งต่อสภาแห่งชาติชุดเก่า และสภาแห่งชาติชุดเก่าได้รับรองผลการเลือกตั้งนั้นแล้ว) คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมติของกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค[56] และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ประธานสภาแห่งชาติ โดยตำแหน่ง ประธานคณะประจำสภาแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ และมีผลภายหลังประกาศรัฐดำรัสของประธานประเทศคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ในการเตรียม จัดตั้ง ปฏิบัติ แบ่งภาระความรับผิดชอบ จัดตั้งองค์กรและบุคลากรช่วยดำเนินงาน เพื่ออำนวยการและควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นองค์กรกลางที่เข้ามาประสานงานให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์การจัดตั้งพรรค องค์การจัดตั้งรัฐ องค์การจัดตั้งมหาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกันในการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อเป็นการรับประกันว่าการเตรียมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติจะเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประธานคณะประจำสภาแห่งชาติจะแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง จำนวนประมาณ15 - 17 คน[57] ประกอบด้วยประธาน 1 คน และรองประธาน 2 - 3 คน[58] คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่างๆ ทั้งด้านการอำนวยการและการจัดการ งบประมาณ การรักษาความสงบ การประสานงาน งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ งานมวลชนและชุมชนสัมพันธ์ อาทิ ประธานสภาแห่งชาติ รองประธานประเทศ รองประธานสภาแห่งชาติ หัวหน้ากรรมาธิการ (ที่เกี่ยวข้อง) หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ ประธานคณะกำกับและตรวจสอบกลางแห่งรัฐ ประธานศูนย์กลางสหพันธ์แม่หญิงลาว หัวหน้าคณะโฆษณาและอบรมศูนย์กลางพรรค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ (ทั้งนี้อาจมีหน่วยงานอื่นเพิ่มเติมอีกตามความเหมาะสม) โดยองค์ประกอบและลักษณะการดำเนินงานสะท้อนให้เห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งของลาวมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสภาแห่งชาติอย่างยิ่ง นอกจากกรรมการส่วนใหญ่จะมาจากสภาแห่งชาติแล้ว พนักงานผู้ปฏิบัติงาน (ในองค์กรชั่วคราวนี้) ส่วนใหญ่ยังมาจากสภาแห่งชาติด้วย (ประกอบกับพนักงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น) [59]

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (สมาชิกสภาแห่งชาติ) ของ สปป.ลาว ประกอบด้วย[60] ดังนี้

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ
  2. คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับแขวง กำแพงนคร และเขตพิเศษ
  3. คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับเมือง
  4. คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง

องค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนั้น ให้มีตัวแทนจากคณะพรรค ฝ่ายอำนาจการปกครอง (เจ้าแขวง เจ้าเมือง นายบ้าน) และองค์การจัดตั้งมหาชนด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ ระดับแขวงกำแพงนคร เขตพิเศษ และระดับเมืองจะต้องมีผู้แทน (ตัวแทน) จากสภาแห่งชาติหรือห้องว่าการสภาแห่งชาติด้วยเสมอ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนี้สามารถจัดองค์กรและแต่งตั้งบุคลากรเพื่อช่วยการดำเนินงานตามความเหมาะสม

องค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนั้น ให้มีตัวแทนจากคณะพรรค ฝ่ายอำนาจการปกครอง (เจ้าแขวง เจ้าเมือง นายบ้าน) และองค์การจัดตั้งมหาชนด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ ระดับแขวงกำแพงนคร เขตพิเศษ และระดับเมืองจะต้องมีผู้แทน (ตัวแทน) จากสภาแห่งชาติหรือห้องว่าการสภาแห่งชาติด้วยเสมอ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนี้สามารถจัดองค์กรและแต่งตั้งบุคลากรเพื่อช่วยการดำเนินงานตามความเหมาะสม

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ระดับชาติ) มีอำนาจหน้าที่[61] ดังนี้

  1. แนะนำต่อแขวง กำแพงนคร และเขตพิเศษ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งตามระดับขั้นนั้น[62]
  2. จัดการศึกษาอบรมเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองให้ประชาชนเพื่อยกระดับความเข้าใจต่อสิทธิประชาธิปไตยของประชาชน รวมทั้ง เพื่อสร้างเอกภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการเลือกตั้งให้ประสบความสำเร็จด้วยดี
  3. จัดตั้งการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สนับสนุน และประชาสัมพันธ์กระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งรวมทั้ง แนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเคารพกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ตลอดจน กฎหมายเกี่ยวข้องอื่น
  4. จัดเตรียมและจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
  5. ตรวจสอบ ค้นคว้า และพิจารณา (ประวัติ) แบบคำร้องขอสมัครรับเลือกตั้ง เพื่ออนุมัติและประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
  6. ตรวจสอบ ค้นคว้า และพิจารณาแก้ไขข้อร้องเรียนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง (อันอาจเกิดจากความบกพร่องหรือผิดพลาด) เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  7. “ชี้นำ นำพา” และติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับต่างๆ
  8. รวบรวมและประกาศผลการเลือกตั้ง
  9. ออกใบรับรอง (ชั่วคราว) ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติ
  10. สรุป ประเมินผล และ “ถอดบทเรียน” เกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมทั้ง ประกาศเกียรติคุณต่อองค์การจัดตั้ง[63] และบุคคลที่มีผลงาน (ช่วยเหลือการเลือกตั้ง) ดีเด่น
  11. รายงานผลการเลือกตั้งและผลการจัดการเลือกตั้งต่อที่ประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดใหม่

การเลือกตั้งของลาวครั้งล่าสุด

การเลือกตั้งของลาวครั้งล่าสุดเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,748,936 คน (ผู้หญิง1,410,412 คน) จากประชากรลาวประมาณ 5 ล้าน 8 แสนคนเศษ (สำรวจเมื่อตุลาคม 2548) แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 17 เขต (16 แขวง และ 1 นครหลวง) จำนวนหน่วยเลือกตั้งรวม 5,127 หน่วยเลือกผู้แทนจำนวน 115 ท่าน จากผู้สมัครรับเลือกตั้ง 175 ท่าน (สมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว 173 ท่าน ผู้สมัครอิสระ 2 ท่าน ผู้สมัครหญิง 39 ท่าน)

ใกล้เคียง

สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว) สภาแห่งรัฐ (ฝรั่งเศส) สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน สภาแห่งรัฐ (อังกฤษ) สภาแห่งรัฐ สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย) สภาแห่งรัฐ (เนเธอร์แลนด์) สภาแห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูติมอร์ สภาแห่งชาติแห่งสหภาพพม่า สภาแห่งชาติลิเบีย