ข้อมูลทั่วไปของสภาแห่งชาติลาว ของ สภาแห่งชาติลาว

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปกครองตามระบอบประชาธิปไตยประชาชน (สังคมนิยม - คอมมิวนิสต์) แบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีองค์กรแห่งสิทธิอำนาจสูงสุด คือ “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” “สภาแห่งชาติ” เป็น “องค์กรนิติบัญญัติ” และเป็นองค์กรบริหารอำนาจสูงสุด ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการต่างขึ้นตรง ได้รับแต่งตั้ง และต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาแห่งชาติ โดยอำนาจสูงสุดในการบริหารงานของประเทศ (อำนาจในการเลือกตั้ง) ยังเป็นของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน[1]

การประชุมสมัชชาใหญ่ สมาชิกสภาแห่งชาติลาว ชุดแรก‎

ประธานประเทศ” ดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของรัฐ และมีองค์กรบริหารหลักของรัฐ 4 องค์กร คือ สภาแห่งชาติ คณะรัฐบาล ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน“สภาแห่งชาติ” ถือเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชน เป็นองค์การตัวแทนแห่งสิทธิ อำนาจ และ ผลประโยชน์ของประชาชน เป็นองค์การอำนาจแห่งรัฐ และเป็นองค์การนิติบัญญัติที่มี สิทธิพิจารณาข้อตัดสินใจหรือปัญหาสำคัญของชาติ รวมทั้ง ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐบาล ศาลประชาชน และ องค์การอัยการประชาชน[2]ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติเพื่อเป็นตัวแทนแห่งสิทธิ อำนาจ และคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของชาติ สังคม และส่วนรวมการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติปฏิบัติตามหลักการเสมอภาพ ลงคะแนนโดยตรงและลับ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเสนอถอดถอนผู้แทนของตนได้ หากประพฤติตนไม่สมเกียรติ ศักดิ์ศรี และขาดความไว้วางใจจากประชาชน[3] โดยบริหารงานตามหลักการประชาธิปไตยประชาชนแบบรวมศูนย์อำนาจ[4]สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมี “รัฐธรรมนูญ” เป็นกฎหมายพื้นฐานแห่งรัฐ การดำเนินงานของสภาแห่งชาติปฏิบัติตาม “กฎหมายว่าด้วยสภาแห่งชาติ” และการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติปฏิบัติตาม “กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ”

สภาแห่งชาติมีคณะสมาชิกผู้ทำงานประจำคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะประจำสภาแห่งชาติ” ประธานและรองประธานสภาแห่งชาติเป็นประธานและรองประธานคณะประจำสภาแห่งชาติโดยตำแหน่งตามลำดับ หัวหน้าคณะกรรมาธิการทุกคณะและหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติประกอบกันเป็น “กรรมการคณะประจำสภาแห่งชาติ” มีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของสภาแห่งชาติในระหว่างที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดการประชุม

สภาแห่งชาติมีหน่วยงานฝ่ายเลขานุการและสำนักงาน คือ “ห้องว่าการสภาแห่งชาติ” “หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ” เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติทำหน้าที่บังคับบัญชาพนักงานสูงสุดของสภาแห่งชาติ สภาแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีที่ตั้งอยู่ที่ลานธาตุหลวง กรุงเวียงจันทน์ สภาแห่งชาติชุดปัจจุบันเป็นสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีสมาชิกจำนวน 115 ท่าน เพศหญิง 39 ท่าน จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 สังกัดพรรคประชาชนปฏิวัติลาวจำนวน 113 ท่าน สมาชิกอิสระ (มิได้สังกัดพรรคการเมืองใด) 2 ท่าน โดยมีท่านทองสิง ทำมะวง เป็นประธานสภาแห่งชาติ ท่านนางปานี ยาท่อตู้ และท่านไซสมพอน พมวิหาน เป็นรองประธานสภาแห่งชาติ มีคณะกรรมาธิการ

ทั้งหมด 6 คณะ ประกอบด้วย

  1. คณะกรรมาธิการกฎหมาย
  2. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ แผนงาน และการเงิน
  3. คณะกรรมาธิการวัฒนธรรม - สังคม
  4. คณะกรรมาธิการกิจการชนเผ่า
  5. คณะกรรมาธิการป้องกันชาติ - ป้องกันความสงบ
  6. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ

ซึ่งได้รับการแต่งตั้งในวาระการประชุมปฐมฤกษ์ระหว่างวันที่ 8 - 17 มิถุนายน 2549

หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ (เทียบเท่าตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการวุฒิสภา) ปัจจุบัน คือ ท่านทองเติน ไซยะเสม มีรองหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ จำนวน 3 ท่านซึ่งได้รับการแต่งตั้งในวาระการประชุมปฐมฤกษ์ด้วย มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 76 คน (จำนวนไม่แน่นอนเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีการย้าย โอน ข้ามระหว่างหน่วยงานบ่อย รวมทั้ง อาจได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติด้วย)

คณะรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว ชุดแรก ในปี ค.ศ. 1975

สภาแห่งชาติลาวได้รับการช่วยเหลือประจำจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ตามโครงการเสริมสร้างสภาแห่งชาติเข้มแข็ง - UNDP ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเหลือทั้งในด้านองค์ความรู้ การจัดการ งบประมาณรวมทั้ง มีเจ้าหน้าที่มาเป็นที่ปรึกษาประจำด้วย ซึ่งเป็นโครงการที่ทำให้ระบบการปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่สภาแห่งชาติลาว ตลอดจน สิ่งอำนวยความสะดวกของสภาแห่งชาติพัฒนาและเป็นระบบมากขึ้น

การพัฒนาและการคัดเลือกบุคลากรนั้น สภาแห่งชาติลาวพิจารณาคัดเลือกบุคลากรโดยการสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการพิจารณาประวัติและผลการเรียนแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องจบตรงกับสาขาที่จะรับสมัครนั้นนอกจากจบตรงตามสาขาแล้วก็จะพิจารณาความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ของสภาแห่งชาติลาวสามารถใช้คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี นอกจากนี้ พนักงานรัฐกร[5]ลาวยังได้รับทุนอบรมและทุนการศึกษาต่อจากต่างประเทศ อาทิ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ไทย (ในอดีตมีอดีตสหภาพโซเวียต-รัสเซียด้วย) จำนวนมาก จึงทำให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ต่างประเทศจำนวนมากและมักจะสามารถสื่อสารได้มากกว่า 2 ภาษาด้วย

ใกล้เคียง

สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว) สภาแห่งรัฐ (ฝรั่งเศส) สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน สภาแห่งรัฐ (อังกฤษ) สภาแห่งรัฐ สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย) สภาแห่งรัฐ (เนเธอร์แลนด์) สภาแห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูติมอร์ สภาแห่งชาติแห่งสหภาพพม่า สภาแห่งชาติลิเบีย