ประวัติและความเป็นมา ของ สภาแห่งชาติลาว

ประเทศลาว

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ:
ระบบการปกครองของ
ประเทศลาว



ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ประชาชนลาวผู้รักชาติได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชจาก ลัทธิล่าอาณานิคมฝรั่งเศสผู้รุกราน โดยความร่วมมือกันของหลายฝ่าย กลุ่มหนึ่งที่สำคัญ คือ “แนวลาวอิสระ” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มเป็น “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” ได้นำไปสู่การปลดปล่อยเอกราชลาวอย่างสมบูรณ์[6] พร้อมกับการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้นในที่ประชุมใหญ่ผู้แทนประชาชนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2518 ซึ่งสภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในโอกาสนั้นด้วย

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 45 ท่าน[7] ท่านสมเด็จเจ้าสุพานุวง ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภา ท่านสีสมพอน ลอวันไซ ท่านสีทน กมมะดำ ท่านไฟด่าง ลอเวียยาว เป็นรองประธานสภา และท่านคำสุก แก้วลา เป็นรองประธานและเลขาธิการสภาประชาชนสูงสุด

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วยคณะประจำสภาประชาชนสูงสุด และคณะกรรมาธิการ 3 คณะ คือ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการรัฐบัญญัติและกฎหมายเลือกตั้ง คณะกรรมาธิการแผนการและการเงิน

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการสร้างความสามัคคีของชนชั้นและเผ่าชนต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ขณะนั้นมีความแตกแยกสูง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ยุทธศาสตร์ 2 ด้าน คือ “ปกป้องรักษา” และ “สร้างประเทศชาติ”

ไฟล์:7conference.jpgการประชุมใหญ่สมัยสามัญ ครั้งที่ 7 วันที่ 12-14 มีนาคม ค.ศ. 2001 ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ได้ทำหน้าทปลุกระดมประชาชนให้เกิดความสามัคคีปรองดองภายในชาติปกป้องรักษาผลของการปฏิวัติ ความเป็นเอกราชของชาติไว้ให้มั่นคง พร้อมกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคม“ลบความเจ็บปวด” จากบาดแผลสงคราม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของปวงชนลาวทุกเผ่าชน[8] ให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ยังได้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาและรับรองแผนพัฒนาเศรษฐกิจ - สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1[9] พิจารณาและรับรองกฎหมายใหม่ อาทิ กฎหมายว่าด้วยสภารัฐมนตรีและคณะกรรมการปกครองท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนข้อพิจารณาหรือปัญหาอื่นๆ ของประเทศวันที่ 26 มีนาคม 2532 สภาประชาชนสูงสุด (ชุดใหม่) ชุดที่ 2 จึงได้รับการเลือกตั้งขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปทั่วทั้งประเทศ สภาชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิก 79 ท่าน[10] ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภา มีคณะประจำ สภาประชาชนสูงสุด 5 ท่าน และมีคณะกรรมาธิการอีกจำ นวนหนึ่ง อาทิ คณะกรรมาธิการกฎหมาย คณะกรรมาธิการเลขานุการ คณะกรรมาธิการวัฒนธรรม - สังคม คณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และห้องว่าการสภาแห่งชาติ[11] รวมทั้งมีการจัดตั้งสภาประชาชนระดับแขวงและสภาประชาชนระดับเมืองด้วย

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 2 มีผลงานสำคัญ คือ การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ฉบับแรกจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุม ครั้งที่ 6 สมัยสามัญ ของสภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 14สิงหาคม 2534 นอกจากนี้ สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 2 ยังได้รับรองกฎหมายใหม่จำนวนมากถึง 22 ฉบับตลอดจนได้เพิ่มภารกิจการปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มความร่วมมือกับองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ภูมิภาค และรัฐสภาประเทศพันธมิตร เพื่อให้ประชาคมโลกได้รู้จักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมากขึ้น

นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้รับการพิจาณาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภา (IPU) อย่างสมบูรณ์ในที่สุดในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 83 ณ กรุงนิโคเซีย ประเทศไซปรัส พร้อมกันนี้ยังได้รับสถานภาพให้เป็นผู้สังเกตการณ์องค์การรัฐสภาอาเซียน (AIPO) [12] รวมทั้งการจัดตั้งสมาคมมิตรภาพรัฐสภาลาว - ญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งด้านการต่างประเทศวันที่ 20 ธันวาคม 2535 สภาชุดที่ 3 ได้รับการเลือกตั้งขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนนามจาก “สภาประชาชนสูงสุด” เป็น “สภาแห่งชาติ” เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจและทำหน้าที่ในฐานะองค์การนิติบัญญัติตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหมวดว่าด้วยสภาแห่งชาติ และสภาแห่งชาติ ชุดที่ 3 นี้ เป็นสภาชั้นเดียวหรือสภาเดี่ยวโดยมิได้มีสภาแห่งชาติระดับท้องถิ่น (ระดับแขวงและระดับเมือง) อีกต่อไป

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดของสภาแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 17 เขต คือ 16 แขวง กับ 1 นครหลวงเวียงจันทน์[13] รวมหน่วยเลือกตั้งทั้งหมด 5,127 หน่วย มีจำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 2,748,936 คน เพื่อเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจำนวน 115 ท่าน จากจำนวนผู้ลงสมัครทั้งหมด 175 ท่าน ในจำนวนนี้เป็นผู้สมัครหญิง 39 ท่าน เป็นผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคประชาชนปฏิวัติลาว 2 ท่าน

ใกล้เคียง

สภาแห่งชาติ (ประเทศลาว) สภาแห่งรัฐ (ฝรั่งเศส) สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน สภาแห่งรัฐ (อังกฤษ) สภาแห่งรัฐ สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย) สภาแห่งรัฐ (เนเธอร์แลนด์) สภาแห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูติมอร์ สภาแห่งชาติแห่งสหภาพพม่า สภาแห่งชาติลิเบีย