หน้าที่ของธาตุอาหาร ของ สารอาหารสำหรับพืช

ธาตุอาหารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างๆกัน[5]

มหาสารอาหาร

คาร์บอน

คาร์บอนทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช เช่น แป้ง และ เซลลูโลส. พืชได้รับคาร์บอนมากจากการสังเคราะห์แสงโดยรับ คาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ และส่วนหนึ่งก็ถูกแปลงเป็นคาร์โบไฮเดรตสำหรับสะสมพลังงาน

ไฮโดรเจน

ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างน้ำตาลและการเติบโตของพืช. พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำ

ออกซิเจน

ออกซิเจนเป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการหายใจ. กระบวนการหายใจ สร้างสารให้พลังงาน ATP จากการใช้น้ำตาลที่ได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสง

พืชสร้างออกซิเจนขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อที่จะสร้างน้ำตาล แต่พืชก็ใช้ออกซิเจนในการกระบวนการหายใจเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็น ATP

ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสเป็นส่วนสำคัญในระบบพลังงานของพืช เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ATP.

การขาดฟอสฟอรัสในพืช จะแสดงให้เห็นจาก การที่ใบพืชมีสีเขียวเข้มจัด ถ้าขาดรุนแรงใบจะผิดรูปร่างและแสดงอาการตายเฉพาะส่วน

โปแตสเซียม

โปแตสเซียมมีบทบาทในการควบคุมการเปิดปิดของรูใบสโตมา (Stoma) ดังนั้นโพแตสเซียมจึงช่วยลดการคายน้ำจากใบและเพิ่มความต้านทานสภาพแล้ง-สภาพร้อน-สภาพหนาวให้กับพืชได้

การขาดโปแตสเซียม อาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน หรือเกิดการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis)โพแตสเซียมสามารถละลายน้ำได้ดี จึงทำให้อาจโดยชะล้างออกไปจากดินโดยเฉพาะพื้นที่ลักษณะเป็นหินหรือทราย

ไนโตรเจน

ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโปรตีนทุกชนิด

การขาดไนโตรเจน ส่วนใหญ่แล้วจะแสดงออกมาโดยการชะงักการเติบโตของพืช การเติบโตช้า หรือว่าแสดงอาการใบเหลือง (chlorosis).ทั่วไปแล้ว ไนโตรเจนจะถูกดูดซึมเข้าทางดินในรูปของไนเตรต(NO-3)

กำมะถัน

กำมะถันเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของกรดอะมิโนและไวตามีนหลายชนิด และจำเป็นในการกระบวนการสร้างคลอโรพลาสต์.

แคลเซียม

แคลเซียมทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด

การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต

แมกนีเซียม

แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).

การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

จุลสารอาหาร

เหล็ก

เหล็กมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์อีกด้วย

การขาดเหล็ก อาจทำให้เกิดอาการเหลืองตามเส้นใบ และ การตายเฉพาะส่วน

โมลิบดีนัม

โมลิบดีนัมเป็นโคแฟกเตอร์ที่สำคัญสำหรับเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างกรดอะมิโน

โบรอน

โบรอนทำหน้าที่สำคัญช่วยในการเชื่อมต่อของเพกตินเข้ากับRGII regionของผนังเซลล์หลัก และโบรอนยังทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาล ในการแบ่งเซลล์ และในสร้างเอนไซม์หลายๆชนิด

การขาดโบรอนทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วนในใบใหม่และการชะงักการเติบโตของพืช

ทองแดง

ทองแดงมีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง

การขาดทองแดงทำให้พืชแสดงอาการเหลือง (chlorosis)

แมงกานีส

แมงกานีสมีความสำคัญในการสร้างคลอโรพลาสต์

การขาดแมกกานีส ทำให้พืชมีสีผิดเพี้ยน เช่น การมีจุดด่างบนใบ

โซเดียม

โซเดียมเกี่ยวข้องกับการสร้างphosphoenolpyruvate]ของพืชที่เป็น CAM (Crassulacean acid metabolism plant) และ C4 (C4 carbon fixation plant)

สังกะสี

สังกะสีเป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).

การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

นิกเกิล

สำหรับพืชมีท่อน้ำเลี้ยง (vascular plant) นิกเกิลมีความสำคัญในการทำงานของเอนไซม์ยูเรส (urease) ซึ่งพืชใช้ในการจัดการกับยูเรียสำหรับพืชไม่มีท่อน้ำเลี้ยง (non-vascular plant) นิกเกิลมีความสำคัญในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด[6]

คลอรีน

คลอรีนมีความสำคัญในกระบวนการออสโมซิส (osmosis) และ การรักษาสมดุลของประจุ และยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงด้วย

ตารางธาตุอาหารพืช[4]

ชื่อธาตุอาหารสัญลักษณ์ปริมาณในพืชหน้าที่ขาด/เกินอาการที่สังเกตได้
ไนโตรเจนN100ส่วนประกอบของ โปรตีนและกรดอะมิโนขาดใบเหลือง โดยเฉพาะใบแก่; การเติบโตของพืชชะงักงัน; ผลเติบโตไม่ดี
เกินใบเขียวเข้ม แต่อาจเสี่ยงกับอาการโคนต้นงอ (lodging) หรืออ่อนแอต่อภาวะแล้ง โรคพืช และแมลง; พืชอาจไม่ค่อยให้ผล
ฟอสฟอรัสP6ส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิกและATPขาดใบอาจเป็นสีม่วง; การเติบโตของพืชชะงักวันหรือช้า
เกินพืชที่ได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดจุลสารอาหาร เช่น เหล็ก หรือ สังกะสี
โปแตสเซียมK25ทำหน้าที่เป็น catalyst, ion transportขาดใบแก่จะเหลืองโดยเริ่มจากขอบใบก่อนแล้วใบจะตาย; ผลเติบโตไม่ปกติ
เกินพืชที่ได้รับโปแตสเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียม หรืออาจขาดแคลเซียมด้วย
แคลเซียมCa12.5ส่วนประกอบของผนังเซลล์ขาดพืชเติบโตช้าลง และหน่อใหม่ตาย; ผลเติบโตไม่ดี
เกินพืชที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียมหรือโปแตสเซียม
แมกนีเซียมMg8ส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ขาดจะเกิดอาการเหลืองที่ใบแก่ก่อนโดยจะเหลืองระหว่างเส้นใบ ต่อมาอาการจะลามไปที่ใบอ่อนด้วย; ผลเติบโตไม่ดีและออกน้อย
เกินปริมาณแมกนีเซียมที่ไม่สมดุลกับปริมาณโปแตสเซียมและแคลเซียมและทำให้พืชเติบโตช้า
กำมะถันS3ส่วนประกอบของกรดอะมิโนขาดจะเกิดอาการเหลืองที่ใบอ่อนก่อนแล้วจะกระจายไปทั่วทั้งต้น; อาการจะคล้ายกับการขาดไนโตรเจน แต่จะเกิดกับส่วนที่เติบโตใหม่ก่อน
เกินใบร่วงก่อนเวลา
เหล็กFe0.2ทำหน้าที่ในการสร้างคลอโรฟิลล์ขาดอาการเกิดจุดเหลืองหรือขาวตามเส้นใบของใบอ่อน
เกินใบเป็นสีน้ำตาล หรือ เป็นจุดสีน้ำตาลขึ้น
โบรอนB0.2ส่วนประกอบของผนังเซลล์ขาดยอดตาย; ใบผิดรูปร่างและมีรอยสีด่าง
เกินปลายใบจะเหลืองและอาจมีอาการตายเฉพาะส่วนตามมา; ใบไหม้และร่วง
แมงกานีสMn0.1ทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์ขาดใบแก่จะมีวงด่างสีเหลืองหรือขาวขึ้น และ อาจมีจุดสีน้ำตาลขึ้นอยู่ในวงด่างด้วย
เกินใบอ่อนจะเหลืองระหว่างเส้นใบ; ใบจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
สังกะสีZn0.03ทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์ขาดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบในใบอ่อน; ใบมีขนาดเล็กกว่าปกติ
เกินพืชที่ได้รับสังกะสีในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการเหล็กได้

หมายเหตุ ปริมาณในพืช แสดงเป็น เปอร์เซนต์เปรียบเทียบกับปริมาณไนโตรเจนในพืชที่ปรากฏในหน่อแห้ง และ ปริมาณสารอาหารในพืช อาจเปลี่ยนแปลงตามชนิดของพืช

ใกล้เคียง

สารอาหารสำหรับพืช สารอาหาร สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารนาถ สารภาพรักกับคุณคางุยะซะดี ๆ ~สงครามประสาทความรักของเหล่าอัจฉริยะ~ สารานุกรม สายอากาศ สารานุกรมบริแทนนิกา สารานุกรมหย่งเล่อ