การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ของ สแตติน

สแตตินเป็นยาที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาภาวะไขมันในกระแสเลือดสูงในเด็กอายุ 6 ปี[115], วัยรุ่น และผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการป้องกันปฐมภูมิหรือทุติยภูมิสำหรับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ[116] ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรม[106] จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหลายการศึกษาพบว่าการใช้ยากลุ่มสแตตินจะสามารถลดระดับไลโปรโปรตีนชนิดความเข้มข้นต่ำ (LDL) ในกระแสเลือดลงได้ประมาณ 40 mg/dL นอกจากนี้แล้วการใช้สแตตินยังมีผลดีอีกหลายประการ ดังต่อไปนี้: [117]

  • ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (total mortality) ลดลง 10%
  • ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) ลดลง 20%
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่รุนแรง (major cardiovascular events) ลดลง 23%
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ลดลง 17%

ข้อบ่งใช้ที่จดทะเบียนรับรอง

  • รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงที่อาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม (primary hypercholesterolemia) หรือภาวะไขมันในเลือดสูงหลายชนิด (mixed dyslipidaemia) โดยใช้เป็นการรักษาเสริมร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ในกรณีที่ใช้วิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล[118][119][120][121][122][123][124][125]
  • รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงที่อาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม (primary hypercholesterolemia) ในผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป รวมไปถึงการรักษาไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมแบบยีนเดียว (heterozygous familial hypercholesterolaemia; type IIa) หรือภาวะไขมันในเลือดสูงหลายชนิด (mixed dyslipidaemia; type IIb) โดยใช้เป็นการรักษาเสริมร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ในกรณีที่ใช้วิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล[115][126][127][128][129]
  • รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมแบบยีนเดียว (heterozygous familial hypercholesterolaemia) โดยเป็นการรักษาเสริมจากการควบคุมการรับประทานอาหารหรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ (เช่น การฟอกเลือดเพื่อเอา LDL ออก) เพื่อลดระดับความเข้มข้นของไขมันในกระแสเลือด หรือเมื่อไม่มีการรักษาอื่น หรือเมื่อการรักษาอื่นไม่เพียงพอ[115][118][119][120][128]
  • รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมแบบยีนเดียว (heterozygous familial hypercholesterolaemia)[121][124]
  • รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมแบบยีนเดียว (heterozygous familial hypercholesterolaemia) ในเด็กและวัยรุ่น (วัยรุ่นชายที่มี Tanner scale ตั้งแต่ระดับ II ขึ้นไป, เพศหญิงต้องเป็นวัยที่มีประจำเดือนมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี, หรือมีอายุ 10-17 ปี)[118][119][120]
  • ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) ในผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าวสูง[115][120][128][129]
  • ลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน[121][122]
  • ลดการเกิดความพิการและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งและ/หรือโรคเบาหวาน ทั้งที่มีระดับไขมันในเลือดสูงหรือเป็นปกติ โดยใช้เป็นการรักษาเสริมร่วมกับการลดปัจจัยเสี่ยงอื่นที่อาจเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้[118][119]
  • ลดการเกิดความพิการและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ไม่มั่นคง (unstable angina pectoris) ทั้งที่มีระดับไขมันในเลือดสูงหรือเป็นปกติ โดยใช้เป็นการรักษาเสริมร่วมกับการลดปัจจัยเสี่ยงอื่นที่อาจเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้[121][122]
  • ใช้เป็นการป้องกันทุติยภูมิ (secondary prevention) สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจที่รุนแรงหลังการได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention; PCI)[124]
  • ชะลอการดำเนินของโรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง (coronary atherosclerosis) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ร่วมกับการรักษาอื่นเพื่อลดความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลโดยรวม (total cholesterol) และไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL)[127]

ข้อบ่งใช้ตามแนวทางการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงของสหภาพยุโรป ESC/EAS 2011

แนวทางการรักษาโรคไขมันในเลือดสูงของสมาคมหัวใจแห่งสหภาพยุโรป (European Society of Cardiology; ESC) และสมาคมโรคหลอดเลือดแข็งแห่งสหภาพยุโรป (European Society of Atherosclerosis; EAS) ปี ค.ศ. 2011 ได้ให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาเพื่อบำบัดรักษาภาวะความผิดปกติดังกล่าวไว้ ดังแสดงต่อไปนี้:[130][131]


แนวทางการรักษา
 
ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งหมด
เลือกวิธีการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
กำหนดระดับ LDL เป้าหมาย ตามระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย
ประเมินร้อยละของ LDL ที่ต้องการลด โดยเทียบกับ LDL พื้นฐานของผู้ป่วย
เลือกชนิดยาสแตติน
ประเมินประสิทธิภาพการรักษา/ติดตามปรับขนาดยาให้เหมาะสม
ประเมินประสิทธิภาพการรักษา/ผลการรักษาซ้ำ
ระดับความเสี่ยงลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ป่วยLDL เป้าหมาย
(mg/dl)
LDL เป้าหมาย
(mmol/l)
สูงมาก
  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งโดยการวินิจฉัยโดยการสอดใส่เครื่องมือ หรือไม่สอดใส่เครื่องมือ (เช่น coronary angiography, scintigraphy, stress echocardiography, ultrasound), โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary syndrome), ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีความจำเป็นต้องทำการเปิดหลอดเลือด (coronary revascularization; เช่น percutaneous coronary intervention, coronary artery bypass), และได้รับการสอดใส่อุปกรณ์ถ่างหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2) ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป หรือเกิดความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวเนื่อง (เช่น เกิดภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย ( Microalbuminuria ) : 30–300 mg/24 h)
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรุนแรง (GFR <30 ml/min/1,73 m²)
  • คะแนนความเสี่ยง ≥10%
<70<1,8
สูง
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรุนแรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพียง 1 ปัจจัยเสี่ยง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือไม่เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในที่เป็นผลมาจากเบาวหวาน (organ damaged)
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง (GFR 30–59 ml/min/1,73 m²)
  • คะแนนความเสี่ยง ≥5% – <10%
<100<2,5
ปานกลาง
  • คะแนนความเสี่ยง ≥1% – <5%
<115<3,0
น้อย
  • คะแนนความเสี่ยง <1%
ไม่สามารถระบุได้
ความเสี่ยงของผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นจะประเมินจากปัจจัยต่างๆ 5 ปัจจัย (เพศ, อายุ, การสูบบุหรี่, ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดรวม, และระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว) ซึ่งจะมีตารางการประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวโดยเฉพาะ[131] โดยประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ ได้แก่ อันดอร์รา, ออสเตรีย, เบลเยียม, ไซปรัส, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, กรีซ, สเปน, เนเธอร์แลนด์, ไอร์แลนด์, ไอซ์แลนด์, อิสราเอล, ลักเซมเบิร์ก, มอลตา, โมร็อคโค, เยอรมนี, นอร์เวย์, โปรตุเกส, ซานมารีโน, สโลวีเนีย, สวีเดน, สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศอื่นนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาดังข้างต้นถือว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตามผลการประเมินของประชากรในประเทศอาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, เบลารุส, บัลแกเรีย, จอร์เจีย, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มาซิโดเนีย, มอลโดวา, รัสเซีย, ยูเครน, และอาเซอร์ไบจานนั้นอาจเป็นค่าที่ต่ำกว่าปกติได้[132]
การแบ่งกลุ่มการรักษาจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งหมดของผู้ป่วยที่ประเมินได้ทั้งจากคะแนนตามเกณฑ์และระดับ LDL ในกระแสเลือด[133]
คะแนนความเสี่ยง
ต่อการเสียชีวิต (%)
ระดับคอเลสเตอรอล (mg/dL)
<7070–99100–154155–190>190
ระดับคอเลสเตอรอล (mmol/l)
<1.81.8–2.42.5–3.94.0–4.8>4.9
<1
1–4
5–9
≥10

      ไม่ต้องได้รับการรักษา
      รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
      รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกรณีที่ล้มเหลว อาจพิจารณาใช้การรักษาด้วยยาร่วมด้วย
      รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา

ข้อบ่งใช้ตามแนวทางการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงของสหรัฐอเมริกา ACC/AHA 2013

ตามแนวทางการรักษาภาวะไขมันในกระแสเลือดสูงของวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Cardiology; ACC) และสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association; AHA) ค.ศ. 2013 ได้แนะนำให้ใช้สแตตินชนิดที่มีความแรงมาก (high potency statin) ได้แก่ อะโทวาสแตติน 80 มิลลิกรัม หรือโรสุวาสแตติน 20-40 มิลลิกรัม ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งการใช้ยาสแตตินกลุ่มดังกล่าวนั้นจะสามารถลดระดับความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดของผู้ป่วยลงได้มากกว่า 50% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าก่อนการได้รับการรักษา ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถใช้สแตตินชนิดที่มีความแรงมากได้ อาจพิจารณาใช้สแตตินที่มีความแรงปานกลาง (moderate potency statin) ทดแทนได้ ได้แก่ อะโทวาสแตติน 10-20 มิลลิกรัม, โรสุวาสแตติน 5-10 มิลลิกรัม, ซิมวาสแตติน 20-40 มิลลิกรัม, ปราวาสแตติน 40-80 มิลลิกรัม, โลวาสแตติน 40 มิลลิกรัม, ฟลูวาสแตติน เอ็กซ์แอล 80 มิลลิกรัม, ฟลูวาสแตติน 80 มิลลิกรัม, หรือพิทาวาสแตติน 2-4 มิลลิกรัม ซึ่งการใช้ยาสแตตินกลุ่มดังกล่าวนั้นจะสามารถลดระดับความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดของผู้ป่วยลงได้ประมาณ 30-49% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าก่อนการได้รับการรักษา[134]

ลักษณะทางประชากรของผู้ป่วยชนิดของสแตติน
ที่แนะนำ
เป้าหมาย LDL
ที่ลดลง (%)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดแข็งชนิดความแรงมาก<50%
ผู้ป่วยที่มีระดับ LDL >190 mg/dl (4,9 mmol/l)ชนิดความแรงมาก<50%
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อายุ 40–75 ปี ที่มีระดับ LDL-C 70–189 mg/dl (1,8–4,9 mmol/l) แต่ยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจชนิดความแรงปานกลาง30-49%
ผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและไม่เป็นเบาหวาน, อายุ 40–79 ปี, ระดับ LDL-C 70–189 mg/dl (1,8–4,9 mmol/l) ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจใน 10 ปีข้างหน้า (10 years risk scores for cardiovascular diseases) ≥7,5%.ชนิดความแรงปานกลาง
หรือ
ชนิดความแรงมาก
30-49%
หรือ
<50%

ข้อบ่งใช้อื่นที่เป็นผลจากการศึกษาทางคลินิก

โรคกระดูกพรุน

ภาพจำลองการยืนของคนปกติกับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนตำแหน่งกระดูกที่มักพบการเกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (อังกฤษ: Osteoporosis) ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) หมายถึง ภาวะที่มีลดลงของมวลกระดูกและมีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกชิ้นเล็กๆ บางๆ (trabeculae) เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหภายในกระดูก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่ความผิดปกติของโครงสร้างจุลภาคภายในกระดูก (defective bone microstructure) ทำให้กระดูกมีความแข็งแรงลดน้อยลงและเสี่ยงต่อการเกิดการแตกหักได้ง่าย โดยความชุกของการเกิดโรคกระดูกพรุนในประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปคือ 14% โดยมักพบความชุกในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ 24% และ 6% ตามลำดับ[135][136] โดยพยาธิกำเนิดของโรคกระดูกพรุนนั้นเกิดจากความผิดปกติของสมดุลระหว่างกระบวนการสร้างและสลายกระดูก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกับมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดกระบวนการสลายกระดูกในอัตราที่มากกว่าการสร้าง ซึ่งปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งมาจากการมีระดับฮอร์โมนเพศที่ลดลง (เช่น เอสโทรเจน, เทสโทสเทอโรน) หรือความผิดปกติของการสร้างตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (insulin-like growth factor-I; IGF-1) หรือความผิดปกติของสมดุลแคลเซียม-ฟอสเฟตของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดได้จากทั้งการรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านี้ไม่เพียงพอ, ร่างกายดูดวึมแร่ธาตุดังกล่าวได้น้อยลง, โปรตีนที่ใช้ขนส่งแร่ธาตุดังกล่าวมีปริมาณลดลง, ความเป็นกรดของกระเพาะอาหารลดลง, การสร้างวิตามินดีในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ที่ตับและไตผิดปกติ, การได้รับแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ, หรือแม้กระทั่งการมีระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่มากเกินไป[137]

ในปัจจุบัน มียาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนหลายชนิด โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาเหล่านี้อาจจะออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการสลายกระดูกและการดูดซึมแคลเซียมกลับของร่างกาย เช่น กลุ่มยากลุ่มยาบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates), ดีโนซูแมบ (denosumab), การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy), ยากระตุ้นตัวรับเอสโทรเจนอย่างจำเพาะ (selective estrogen receptor modulators; SERMs); หรือออกฤทธิ์เร่งการสร้างกระดูก เช่น เทอริพาราไทด์ (teriparatide); หรือออกฤทธิ์แบบหลายกลไกผสมกัน เช่น สทรอนเทียม ราเนเลต (strontium ranelate)[138] ส่วนกลไกของสแตตินต่อกระบวนการสร้างและสลายกระดูกนั้นยังไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัด[139] และข้อมูลที่ได้จากการศึกษาล่าสุดคาดว่าน่าจะเกิดจากทั้งการส่งเสริมการสร้างมวลกระดูกและยับยั้งการสลายมวลกระดูกร่วมกัน[140] โดยกลไกต่อไปนี้:

ผลการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนของสแตตินนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วพบในสแตตินที่ละลายในไขมัน (เช่น ซิมวาสแตติน, โลวาสแตติน, อะโทวาสแตติน) และสแตตินสังเคราะห์เป็นหลัก (เช่น ฟลูวาสแตติน, โรสุวาสแตติน, อะโทวาสแตติน)[143][144] อย่างไรก็ตาม ผลต่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนนี้ยังสรุปได้ไม่แน่ชัดนัด เนื่องจากการศึกษาในห้องทดลองกับการศึกษาในมนุษย์นั้นให้ผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน[140]

โรคติดเชื้อ

โรคติดเชื้อ (อังกฤษ: Infectious diseases) เป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อจุลชีพหรือสารพิษที่ถูกหลั่งออกมาจากเชื้อจุลชีพที่เจริญเติบโตในร่างกายมนุษย์ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ไม่สามารถกำจัดเชื้อหรือสารพิษเหล่านั้นออกไปได้ทันท่วงที จนทำให้เกิดอาการของโรคติดเชื้อในที่สุด ซึ่งแหล่งที่มาของโรคนี้อาจได้รับเชื้อมาจากสัตว์, พืช, สิงปฏิกูล, สิ่งแวดล้อม, หรือแม้แต่จากมนุษย์ด้วยกันเอง[145]

โดยพยาธิกำเนิดของโรคติดเชื้อนั้นเกิดจากกระบวนการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีการหลั่งสารสื่อการอักเสบ (cytokines) ชนิดต่างๆ ออกมา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนั้น สามารถถูกควบคุมได้โดยยากลุ่มสแตติน โดยสแตตินจะไปมีผลลดสารกลุ่มไอโซพรีนอยด์ (isoprenoids) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารตั้งต้นที่ใช้ในการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล และมีความจำเป็นในกระบวนการปฏิกิริยาพรีนิลเลชั่น (prenylation) ของโปรตีนที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเซลล์เพื่อตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกาย[146][147] นอกจากนี้แล้ว สแตตินยังส่งผลต่อการตอบสนองต่อการอักเสบโดยการลดการแสดงออกของยีนที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนเกี่ยวเนื่องกับการอักเสบที่มีชื่อว่า MHC (major histocompatibility complex) class II[147] อย่างไรก็ตาม ผลที่แน่ชัดของสแตตินต่อการเกิดโรคติดเชื้อนั้นยังไม่เป็นที่ทราบเด่นชัดนัก[147] ถึงแม้จะมีการศึกษาบางการศึกษาที่พบว่าการใช้สแตตินจะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อได้บ้างก็ตาม[146] และโดยทั่วไปแล้ว การรักษาโรคติดเชื้อมักจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการรักษาตามอาการมากกว่า จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงขาดข้อมูลที่สามารถยืนยันได้แน่ชัดเกี่ยวกับผลสแตตินต่อโรคติดเชื้อต่างๆ[148][149]

โรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ (อังกฤษ: Pneumonia) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของปอดอันเนื่องมาจากการมีเชื้อจุลชีพในถุงลมของปอด มีการคั่งของน้ำหรือหนองในปอด ทำให้เกิดอาการไอ อาจไอมีเสมหะหรือมีมูกหนอง, ไข้,หนาวสั่น, และหายใจลำบาก[150] โดยในการศึกษาทางคลินิกที่ผ่านมาพบว่า สแตตินมีผลลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวติในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวลงได้[151][152] โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease; COPD)[152] แต่ไม่มีผลลดอุบัติการณ์การเกิดโรคปอดอักเสบทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน[153]

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (อังกฤษ: influenza หรือ flu) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคเพียงเล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง, คัดจมูก, เจ็บคอ, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะ, ไอและรู้สึกเหนื่อย ซึ่งจะเริ่มมีอาการเหล่านี้ประมาณสองวันหลังได้รับเชื้อและส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการนานไม่เกินสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในผู้ป่วยเด็กอาจมีคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ใช่อาการปกติในผู้ใหญ่ อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัส ปอดบวมจากแบคทีเรียตาม โพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว[149]

การศึกษาทางคลินิกที่ผ่านมาพบว่าการใช้สแตตินจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้[154] โดยสแตตินจะไปมีผลลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ เช่น ปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, หลอดเลือดสมองอุดกั้น, และภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น[147]