อาการ ของ อาการท้องอืด

โดยทั่วไปแล้ว มีปัญหา 4 อย่างหลัก ๆ เกี่ยวกับแก๊สในลำไส้ ซึ่งอาจจะเกิดเดี่ยว ๆ หรือร่วมกัน

ท้องอืดหรือปวดท้อง

คนไข้อาจกล่าวว่าท้องอืด/ท้องพอง เป็นความไม่สบาย/ความปวดเนื่องจากลมที่ค้างอยู่ในอดีต โรคลำไส้ที่ไม่ใช่โรคกาย (functional bowel disorder) เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) ที่ทำให้ท้องอืดก็โทษว่าเพราะผลิตแก๊สในลำไส้เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่มีหลักฐานสำคัญ 3 อย่างที่ค้านทฤษฎีนี้

  1. ในคนปกติ แม้มีแก๊สเข้าไปในลำไส้เล็กมาก (30 มล./นาที) ก็ยังรู้สึกปกติโดยไม่บ่นว่าปวดท้องหรือท้องอืด แล้วก็จะผายออกทางทวารหนักตามธรรมดาโดยไม่มีปัญหาอะไร[10]
  2. งานศึกษาต่าง ๆ ที่มุ่งกำหนดปริมาณแก๊สทั้งหมดที่คนไข้ IBS ผลิต รวมทั้งแก๊สที่เรอออกทางปาก ล้มเหลวเป็นประจำในการแสดงว่าคนไข้ผลิตแก๊สมากกว่าคนปกติ แม้สัดส่วนของไฮโดรเจนที่ผลิตจะเพิ่มขึ้นในคนไข้เป็นบางส่วน แต่นี่ไม่มีผลต่อปริมาณทั้งหมด[11]
  3. มันรู้แล้วว่า ปริมาณแก๊สกระเพาะและลำไส้ทั้งหมดที่ผลิตโดยคนไข้ IBS ผู้บอกว่าปวดท้องและท้องอืด ไม่ทำให้คนปกติบ่นว่าปวดท้อง

คนไข้ที่บ่นว่าท้องอืดบ่อย ๆ พบว่า มีท้อง (โดยวัดที่เอว) พองออกจริง ๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งวันแล้วหายไปในช่วงนอนตอนกลางคืนการมีท้องพองออกบวกกับความจริงว่า ปริมาณแก๊สในกระเพาะลำไส้ไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้งานศึกษามุ่งสร้างภาพแสดงการกระจายแก๊สของลำไส้ในคนไข้ที่ท้องอืดแล้วพบว่า แก๊สไม่ได้กระจายอย่างเป็นปกติ คือมีแก๊สที่รวมกันเป็นตอน ๆ ที่ทำให้ท้องอืดเฉพาะที่ ๆ[10]ดังนั้น ข้อสรุปก็คืออาการท้องพอง ท้องอืด ปวดท้อง เช่นนี้ เป็นผลของการเคลื่อนที่ผิดปกติของแก๊สในลำไส้ ไม่ใช่ของการผลิตแก๊สเพิ่มขึ้น

ปริมาณเกิน

พิสัยของปริมาณแก๊สกระเพาะลำไส้ที่ผลิตโดยปกติจะต่างกันมากในระหว่างบุคคล (476-1,491 มล./24 ชม.)[8]แก๊สในลำไส้ถ้าไม่ใช่อากาศที่กลืนเข้าไป ก็จะเกิดจากกระบวนการหมักอาหารและเครื่องดื่มในท้องการกลืนอากาศจำนวนน้อยเข้าไปเป็นเรื่องปกติเมื่อทานหรือดื่มซึ่งก็จะขับออกทางปากโดยการเรอซึ่งก็เป็นปกติเช่นกันการกลืนอากาศเข้าไปเกินปกติจะเรียกว่า อาการกลืนอากาศ (aerophagia) ซึ่งได้แสดงในรายงานกรณีคนไข้จำนวนหนึ่งว่าเป็นเหตุของแก๊สกระเพาะลำไส้ที่เพิ่มขึ้นแต่นี่ก็ยังพิจารณาว่าเป็นเหตุที่มีน้อย

แก๊สที่อยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม (เช่น น้ำอัดลม) โดยมากก็ขับออกโดยการเรอเช่นกันส่วนแก๊สที่ผลิตในลำไส้เองจะเป็นส่วน 74% ของแก๊สกระเพาะและลำไส้ในคนปกติปริมาณของแก๊สที่ผลิตจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งปกติจะไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ก็ยังต่าง ๆ กันในระหว่างบุคคลคนไข้บางคนโน้มเอียงในการผลิตแก๊สมากขึ้นเนื่องจากองค์ประกอบจุลินทรีย์ในท้องของตน[10]

แบคทีเรียในท้องมีมากที่สุดในลำไส้ใหญ่ ในขณะที่ลำไส้เล็กเกือบจะปลอดเชื้อการหมักดองจะเกิดขึ้นเมื่อมีอาหารที่ไม่ได้ดูดซึมเหลือเข้าไปในลำไส้ใหญ่ดังนั้น ยิ่งกว่าองค์ประกอบจุลินทรีย์ อาหารที่ทานจะเป็นปัจจัยหลักในการผลิตแก๊สในกระเพาะลำไส้[10]และโปรแกรมอาหารที่มุ่งลดอาหารซึ่งหมักดองได้และเหลือไปถึงลำไส้ใหญ่ก็พบว่า ลดปริมาณแก๊สอย่างสำคัญอย่างไรก็ดี ก็ยังต้องเน้นว่า ปริมาณแก๊สลำไส้ที่เพิ่มจะไม่ทำให้รู้สึกท้องอืดปวดท้องในบุคคลปกติเพราะการเคลื่อนที่ของแก๊สที่ผิดปกติจะทำให้รู้สึกปวดท้อง ท้องพอง ท้องอืด ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อย

กลิ่น

แม้ลมในกระเพาะลำไส้จะมีกลิ่นตามสรีรภาพของมนุษย์ แต่เพราะเหม็นขึ้นในคนไข้บางคนก็จะทำให้เป็นทุกข์เมื่อเข้าสังคมกลิ่นเหม็นเพิ่มขึ้นเป็นประเด็นการรักษาต่างกับปัญหาอื่น ๆ ในเรื่องแก๊สในลำไส้[12]แต่คนไข้บางคนอาจจะไวกลิ่นเหม็นตดมากเกินไป และในกรณีที่รุนแรง อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชคือ olfactory reference syndrome (ORS)ซึ่งเป็นสภาวะที่คนไข้มีความเชื่อผิด ๆ และความหมกมุ่นอย่างคงยืนว่า มีกลิ่นตัวเหม็นทำให้ผู้อื่นรังเกียจ[13][14]

การกลั้นตดไม่ได้

การกลั้นตดไม่ได้ (gas incontinence) อาจนิยามได้ว่า เป็นการควบคุมการผายลมไม่ได้โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยของอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence) และปกติเกี่ยวกับการทำงานบกพร่องของกลไกการกลั้นอุจจาระนักวิชาการบางท่านพิจารณาการกลั้นตดไม่ได้ว่าเป็นอาการแรก และบางครั้งเป็นอาการเดียว ของอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการท้องอืด http://www.abc.net.au/southqld/stories/s1560903.ht... http://gut.bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=7... http://www.etymonline.com/index.php?term=flatulent http://www.flat-d.com/american-inventor.html http://www.gastrotraining.com/product-information/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=787.... http://www.improb.com/ig/ig-pastwinners.html#ig200... http://maravipost.com/index.php?option=com_content... http://www.merck.com/mmpe/sec02/ch008/ch008d.html http://www.merriam-webster.com/dictionary/flatulen...