อาณาจักรอินโด-กรีก
อาณาจักรอินโด-กรีก

อาณาจักรอินโด-กรีก

สาคละ
อาณาจักรอินโด-กรีก (อังกฤษ: Indo-Greek Kingdom) หรือในประวัติศาสตร์เรียก อาณาจักรยวนะ (ยวนราชยะ)[3] เป็นอาณาจักรกรีกสมัยเฮลเลนิสต์ที่ครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนของประเทศอัฟกานิสถานและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดียในปัจจุบัน[4][5] อาณาจักรนี้ดำรงอยู่นาน 2 ศตวรรษ มีผู้ปกครองกว่า 30 องค์ และมีการผสานวัฒนธรรมกรีก-อินเดียทางด้านภาษา สัญลักษณ์ และแนวคิด ดังที่ปรากฏบนเหรียญและแหล่งขุดค้นโบราณคดี[6] การหลอมรวมนี้ส่งผลต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะพุทธแบบกรีก[7]อาณาจักรอินโด-กรีกก่อตั้งขึ้นเมื่อเดเมตริอุส กษัตริย์กรีก-แบกเตรียรุกรานอินเดียเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล[8] ชาวกรีกในอนุทวีปอินเดียจึงแบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มกรีก-แบกเตรียที่มีศูนย์กลางในแบกเตรีย (พรมแดนอัฟกานิสถาน–อุซเบกิสถานในปัจจุบัน) และกลุ่มอินโด-กรีกทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ผู้ปกครองอินโด-กรีกที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้ามิลินท์ ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองสาคละ (ปัจจุบันคือเมืองซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน)[9][10]ทั้งนี้คำว่า "อาณาจักรอินโด-กรีก" หมายความกว้าง ๆ ถึงกลุ่มราชวงศ์ที่หลากหลายจำนวนหนึ่งซึ่งมีเมืองหลวงประจำภูมิภาคหลายแห่ง เช่น ตักศิลา[11] สาคละ[12] และปุษกลาวตี นอกจากนี้อาจมีศูนย์กลางอื่น ๆ ดังที่ทอเลมีบันทึกใน จีออกราฟี ถึงทีโอฟิลอส กษัตริย์อินโด-กรีกที่ปกครองอยู่ทางใต้ของอาณาจักรเป็นเวลาสั้น ๆ และอาจเคยเป็นเซแทร็ปอยู่ช่วงหนึ่งหลังการสวรรคตของพระเจ้ามิลินท์ อาณาจักรของพระองค์ก็แตกแยกและอิทธิพลอินโด-กรีกลดลงอย่างสำคัญ กลุ่มอินโด-กรีกล่มสลายในฐานะหน่วยการเมืองราวค.ศ. 10 เมื่อถูกชาวอินโด-ไซเทีย ชนร่อนเร่ในเอเชียกลางกลุ่มหนึ่งรุกราน แต่ยังคงมีชาวกรีกจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในอนุทวีปอินเดียต่อมา เมื่ออาณาจักรอินโด-พาร์เธียและจักรวรรดิกุษาณะเข้ามาปกครอง[13]

อาณาจักรอินโด-กรีก

ภาษาทั่วไป ภาษากรีก (ชุดตัวอักษรกรีก)
ภาษาบาลี (อักษรขโรษฐี)
ภาษาสันสกฤต
ภาษาปรากฤต
(อักษรพราหมี)
การปกครอง ราชาธิปไตย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อัฟกานิสถาน
อินเดีย
ปากีสถาน
เติร์กเมนิสถาน
• 25 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 10 สตราโตที่ 3 (องค์สุดท้าย)
• ก่อตั้ง 200 ปีก่อนคริสตกาล
• 200 – 180 ปีก่อนคริสตกาล เดเมตริอุสที่ 1 (องค์แรก)
• สิ้นสุด ค.ศ. 10
เมืองหลวง อะเล็กซานเดรียในคอเคซัส (บากรามในปัจจุบัน) [1]

สาคละ

ตักศิลา
กษัตริย์  
150 ปีก่อนคริสตกาล[2] 1,100,000 ตารางกิโลเมตร (420,000 ตารางไมล์)
ยุคประวัติศาสตร์ สมัยโบราณ
ศาสนา ศาสนาฮินดู
พุทธนิกายมหายาน
พหุเทวนิยมกรีก
ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรฟูนาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาณาจักรอินโด-กรีก //doi.org/10.2307%2F1170959 //www.jstor.org/stable/1170959 https://www.britannica.com/biography/Menander-Indo... https://books.google.com/books?id=-HeJS3nE9cAC https://books.google.com/books?id=73YWAQAAMAAJ https://books.google.com/books?id=LamzCwAAQBAJ https://books.google.com/books?id=l_S6DQAAQBAJ&pg=... https://archive.org/details/in.ernet.dli.2015.2441... https://archive.org/details/in.ernet.dli.2015.2441... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Indo-G...