การรับรู้ของภาคประชาชน ของ อาหารอินทรีย์

ภาคอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ได้มีการทำประชาสัมพันธ์จนเกิดความเชื่อกันอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนว่า อาหารอินทรีย์มีความปลอดภัยกว่า มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า และมีรสชาติมากกว่าอาหารทั่วไป ความเชื่อนี้ได้กระตุ้นให้เกิดความต้องการอาหารอินทรีย์เพิ่มขึ้นแม้จะมีราคาสูงและขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์[3][5][6][35]

ผลกระทบทางจิตวิทยา เช่น ผลราศี (halo effect) หรือกระบวนการคิดเชิงเทิดทูนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกและการบริโภคอาหารอินทรีย์ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญในการซื้ออาหารอินทรีย์[2] ตัวอย่างของกระบวนการคิดเชิงเทิดทูนถูกอธิบายด้วยการศึกษาของ Schuldt และ Schwarz[36] รายงานผลแสดงว่านักศึกษามหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการสำรวจ มักจะเหมาเอาว่าคุกกี้อินทรีย์แคลอรีต่ำและสามารถรับประทานได้บ่อยกว่าคุกกี้ธรรมดา ผลการสำรวจนี้เป็นที่สังเกตได้แม้ฉลากโภชนาการแสดงแคลอรีที่เท่ากันก็ตาม ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นกับผู้ที่เข้าร่วมสำรวจที่ชื่นชมการผลิตอินทรีย์และมีความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม สรุปคือ มีความเชื่อโดยทั่วไปว่า อาหารอินทรีย์มีแคลอรีต่ำและดีต่อสุขภาพ[2][36]

ได้เกิดความต้องการอาหารอินทรีย์ทุกประเภทขึ้นในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์นม อาหารเด็ก และเด็กอ่อนที่ถูก "กระตุ้นโดยข่าวน่ากลัวเกี่ยวกับอาหารที่มีมาเป็นระยะ ๆ ที่เลวร้ายที่สุดคือการตายของเด็กหกคนที่ได้บริโภคสูตรอาหารทารกเจือด้วยเมลามีน" ใน ค.ศ. 2009 และเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับนมสำหรับเด็กใน ค.ศ. 2008 ทำให้ตลาดนมอินทรีย์สำหรับเด็กในจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2014[37][38][39] ผลการวิจัยใน ค.ศ. 2012 ของศูนย์วิจัย Pew ชี้ให้เห็นว่า 41% ของผู้บริโภคชาวจีนคิดว่า ความปลอดภัยของอาหารเป็นปัญหาใหญ่มาก โดยเพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 12% ใน ค.ศ. 2008[40]

รสชาติ

มีการวิจารณ์สรุปใน ค.ศ. 2002 ว่า จากการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ "ถึงแม้จะมีหลายรายงานที่แสดงให้เห็นว่า ผักผลไม้อินทรีย์มีความแตกต่างกับผักผลไม้ทั่วไปโดยคุณภาพด้านการรับความรู้สึก (sensory qualities) แต่ผลของการศึกษายังไม่ชัดเจน"[4] มีหลักฐานว่า ผลไม้อินทรีย์บางชนิดจะมีความแห้งมากกว่าผลไม้ที่ปลูกทั่วไป ซึ่งการที่ผลไม้แห้งกว่าอาจทำให้มีรสชาติขึ้นจากความเข้มข้นที่มากกว่าของสารที่ให้รสชาติที่อยู่ในผลไม้[2]

อาหารบางอย่าง เช่น กล้วย จะถูกเก็บขณะที่ยังดิบอยู่ แล้วจึงถูกกระตุ้นให้สุกโดยใช้สารเคมี เช่น โพรพิลีนหรือเอทิลีน) ในระหว่างการขนส่ง จึงอยากทำให้เกิดรสชาติที่แตกต่างไป[41] มีการโต้แย้งกันเรื่องการใช้เอทิลีนในการผลิตอาหารอินทรีย์ โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยบอกว่า การใช้เอทิลีนเพียงเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทใหญ่ และจะทำให้มาตรฐานอาหารอินทรีย์อ่อนแอลง weaker organic standards.[42]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารอินทรีย์ ftp://ftp.fao.org/paia/organicag/ofs/FoodMiles-Pre... http://www.bio-austria.at/presse/presseinfo_archiv... http://typischich.at/home/gesundheit/ernaehrung/69... http://www.chinaconnections.com.au/en/magazine/bac... http://www.chinaconnections.com.au/en/magazine/cur... http://www.dynamicexport.com.au/export-market/arti... http://www.goodfood.com.au/good-food/food-news/org... http://business.nab.com.au/wp-content/uploads/2013... http://www.nasaa.com.au/steps1.html http://www.abc.net.au/news/2013-12-04/chinese-babi...