สุขภาพและความปลอดภัย ของ อาหารอินทรีย์

ผลต่อสุขภาพของโภชนาการอาหารอินทรีย์

ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องประโยชน์หรือโทษต่อสุขภาพของผู้บริโภคอาหารอินทรีย์เป็นหลัก และการที่จะจัดทำการทดลองอย่างจริงจังในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก การวิเคราะห์อนุมานในปี ค.ศ. 2012 ได้กล่าวไว้ว่า "ไม่มีการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับผลต่อสุขภาพของประชากรที่บริโภคอาหารอินทรีย์เป็นหลักเปรียบเทียบกับกับอาหารที่ผลิตทั่วไปควบคุมสำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาดังกล่าวจะมีราคาแพงในการจัดทำ"[5] การวิเคราะห์อนุมานในปี ค.ศ. 2009 ได้กล่าวไว้ว่า "บทความส่วนใหญ่ไม่ได้มีการศึกษาถึงผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ ใน 10 บทความของการศึกษาที่รวมอยู่นี้ (83%) ผลเบื้องต้นกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสารต้านอนุมูลอิสระ สภาวะสารต้านอนุมูลอิสระและสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีประโยชน์แต่ไม่สามารถมาแปลค่าโดยตรงกับผลทางสุขภาพ อีกสองบทความที่เหลือ มีบทความหนึ่งได้วัดผลความเชื่อมโยงเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ว่าเป็นผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพที่พบขั้นต้น ในขณะที่อีกบทความได้วิจัยเกี่ยวกับกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบจากน้ำนมจากมารดาและ บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ทารกที่ดื่มน้ำนมจากมารดาจะมีสุขภาพดีกว่าจากปริมาณการบริโภคกรดไลโนเลอิกจากนมมารดา"[6] นอกจากนี้ ความยากในการวัดค่าความแตกต่างทางเคมีอย่างถูกต้องและเป็นนัยยะระหว่างอาหารอินทรีย์กับอาหารทั่วไปยังทำให้เป็นการยากที่จะสรุปการแนะนำเกี่ยวกับผลทางสุขภาพบนพื้นฐานจากการวิเคราะห์ทางเคมีเท่านั้น

ในปี ค.ศ. 2012 มีความเห็นทางวิทยาศาสตร์ไปในทางเดียวกันว่า ขณะที่ "ผู้บริโภคอาจจะเลือกที่จะซื้อผักผลไม้และเนื้อสัตว์อินทรีย์ เพราะพวกเขาเชื่อว่าสินค้านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารอย่างอื่น...แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อนั้น"[52] มีบทวิเคราะห์ 12 เดือนอย่างเป็นระบบสรุปโดย FSA ในปี ค.ศ. 2009 ที่ได้จัดทำขึ้นที่London School of Hygiene & Tropical Medicineอ้างถึงการเก็บรวบรวมหลักฐานที่มีมากว่า 50 ปีได้สรุปว่า "ไม่มีการพบหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปว่า การบริโภคอาหารอินทรีย์มีประโยชน์กับสุขภาพในแง่ของปริมาณสารอาหาร "[53] ไม่มีหลักฐานสนับสนุนในบทความทางวิทยาศาสตร์ว่าระดับไนโตรเจนที่น้อยกว่าในผักอินทรีย์บางชนิดจะมีผลในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสุขภาพ[3]

ความปลอดภัยของผู้บริโภค

ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช

การกล่าวอ้างในเรื่องความปลอดภัยที่ดีกว่าของอาหารอินทรีย์มักจะมุ่งเน้นในเรื่องสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง[3] ความกังวลในเรื่องนี้เกิดขึ้นจากความจริงที่ว่า " (1) การได้รับสารกำจัดศัตรูพืชในจำนวนมากอย่างเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อสุขภาพ (2) ผลิตภัณฑ์อาหารมีโอกาสที่จะมีสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน และ (3) มักจะเจอสารกำจัดศัตรูพืชจากการเกษตรตกค้างในอาหารที่ขายอยู่ทั่วไปในเชิงพาณิชย์"[3] อย่างไรก็ตาม มักจะมีการตั้งข้อสังเกตในเอกสารายงานทางวิทยาศาสตร์ว่า "สิ่งที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ คือ การติดต่อสัมผัสกับสารกำจัดศัตรูอย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นพิษพบได้ในรายงานผลของอาหาร ในทางปฏิบัติถือว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาและแสดงผลที่วัดได้ในเชิงปริมาณ" ดังนั้น การสรุปอย่างแน่ชัดเกี่ยวดับเรื่องความปลอดภัยของอาหารอินทรีย์เป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากความยากในการออกแบบการทดสอบศึกษาและจำนวนการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างอาหารอินทรีย์กับอาหารทั่วไปโดยตรงยังถือว่ามีน้อย[2][3][4][35][54]

นอกจากนี้ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดมะเร็ง[55] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายฐานข้อมูลการแพร่กระจายความเป็นพิษที่มีโครงสร้างที่ค้นหาได้ (DSSTox) ของEPAในประเทศสหรัฐอเมริกา,[56] ได้มีการทำการทดสอบอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งทั้งในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้น และยังได้สร้างฐานข้อมูลผลการทะสอบเปิดเผยกับสาธารณชนมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว[57] รายงานมีความพยายามที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาตร์เรื่อง สารเคมีทั้งหมดที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินโครงการที่อธิบายไว้ในวารสาร วิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ. 1992:

การตรวจสอบพิษวิทยาของสารเคมีสังเคราะห์โดยไม่ได้มีการตรวจสอบเช่นเดียวกันกับสารเคมีในธรรมชาติไม่ได้ให้ผลที่เท่าเทียมกันในเชิงข้อมูลและการรับรู้เรื่องสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ในสามประเด็นที่ได้มีการพิจารณาชี้ให้เห็นว่า การเปรียบเทียบน่าจะมีการทดสอบกับสารเคมีในธรรมชาติเช่นเดียวกัน

1) สารเคมีจำนวนมากที่คนเราสัมผัสมีอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปมักจะคิดถึงสารเคมีในกรณีเป็นสารสังเคราะห์ และคิดว่าสารเคมีสังเคราะห์เป็นพิษ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงสารเคมีในธรรมชาติก็เป็นพิษถ้าบริโภคในปริมาณที่ทำให้เกิดผล ค่าเฉลี่ยในการสัมผัสของคนอเมริกาที่จะเผาผลาญสสารในอาหารเท่ากับ ~2000 mg ต่อวัน และการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติ (สารเคมีที่พืชผลิตเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรู) เท่ากับ ~1500 mg ต่อวัน เปรียบเทียบกับ ค่ารวมเฉลี่ยต่อวันในการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชสงเคราะห์ตกค้างรวมกันเท่ากับ ~0.09 mg. ดังนั้น เราประมาณว่า 99.99% ของสารกำจัดศัตรูพืชที่เรารับประทานมาจากธรรมชาติ แม้ว่ามีการสัมผัสกับสารเคมีธรรมชาติมีจำนวนมากกว่าสารเคมีสังเคราะห์อย่างเห็นได้ชัด แต่ในการทดสอบสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนู ได้มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ (ที่ไม่ได้เป็นสารเคมีธรรมชาติ) ถึง 79% (378 จาก 479 ชนิด)
2) มักจะมีการสันนิษฐานอย่างผิด ๆ ว่า คนเรามีการพัฒนาการป้องกันพิษจากสารเคมีธรรมชาติในอาหาร แต่ไม่สามารถป้องกันสารเคมีสังเคราะห์ อย่างไรก็ตามการป้องกันตัวเองในสัตว์ที่ได้พัฒนาขึ้นส่วนใหญ่กับสารเคมีโดยทั่วไป ไม่ใช่สารเฉพาะเจาะจง ยิ่งไปกว่านั้น การป้องกันสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปและมีผลดีกับสารเคมีทั้งสังเคราะห์และธรรมชาติที่มีปริมาณน้อย

3) สำหรับด้านพิษวิทยาแล้ว สารเคมีทั้งโดยธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นออกฤทธิ์เหมือนกัน มีการคาดการณ์ (และพบว่า) อัตราบวกของสารก่อมะเร็งในสารเคมีจากธรรมชาติและจากสารสังเคราะห์มีค่าไล่เลี่ยกัน อัตราบวกในสารเคมีที่ทดสอบในหนูมีค่าประมาณ 50% ดังนั้น จากการที่คนเราได้สัมผัสกับสารเคมีทางธรรมชาติมากมายกว่าสารเคมีสังเคราะห์ (ทั้งโดยน้ำหนักและจำนวน) สรุปได้ว่า คนได้สัมผัสสารก่อมะเร็งที่หนูมากมายมหาศาลเป็นพื้นเดิมจากที่พบได้จากการทดสอบบนหนูโดยใช้ปริมาณที่สูงในการทดสอบ ผลแสดงว่า ถึงแม้จะพบสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติในจำนวนน้อยแค่ไหนก็ตาม มี 29 ที่เป็นสารก่อมะเร็งที่หนูในจำนวน 57 ที่ถูกตรวจสอบเกิดขึ้นในอาหารที่ปลูกแบบปกติมากกว่า 50 ชนิด สรุปว่า มีความเป็นไปได้ว่า ผักและผลไม้เกือบทุกชนิดในตลาดมีสารกำจัดศัตรูพืชธรรมชาติที่เป็นสารก่อมะเร็งที่หนู[58]

ในขณะที่การศึกษาวิเคราะห์ทางเคมีได้แสดงผลที่กล่าวข้างบนว่า ผักและผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์มีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่น้อยกว่า ความสำคัญของการค้นพบเรื่อง ความเสี่ยงทางสุขภาพที่น้อยกว่าในอาหารอินทรีย์ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เพราะ ทั้งอาหารทั่ว ๆ ไปและอาหารอินทรีย์โดยทั่วไปก็มีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางภาครัฐกำหนดไว้ว่าเป็นระดับที่ปลอดภัย[2][3][5] มุมมองนี้ได้รับเสียงสะท้อนมาจากกรมวิชาการเกษตรสหรัฐอเมริกา[46] และสำนักงานมาตรฐานอาหารของสหราชอาณาจักร[7]

การศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์โดยสภาการวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1993 สรุปว่า แหล่งที่มาของการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของทารกและเด็กส่วนใหญ่ผ่านทางอาหาร[59] จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006 โดยลูและคณะ มีการวัดระดับของการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช organophosphorus ในเด็กนักเรียนจำนวน 23 คน ก่อนและหลังการเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารอินทรีย์ ในการทดลองนี้พบว่าระดับของการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช organophosphorus ลดลงจากระดับเล็กน้อยเป็นระดับที่ไม่สามารถวัดค่าได้เมื่อได้เปลี่ยนให้เด็กมาทานอาหารอินทรีย์แทน ผู้เขียนได้กล่าวว่าการลดนี้เป็นการลดความเสี่ยงอย่างมีนัยยะ[60] ข้อสรุปในข้อเขียนของลูและคณะถูกวิจารณ์ว่าเป็นกรณีศึกษาสำหรับการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่แย่[61][62]

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างถึงสารกำจัดศัตรูตกค้างว่าเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในภาวะมีบุตรยากหรือจำนวนสเปิร์มที่น้อยลงไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานเอกสารทางการแพทย์ใด ๆ[3] เช่นเดียวกันสมาคมมะเร็งอเมริกัน (ACS) ได้กล่าวว่า จุดยืนอย่างเป็นทางการของสมาคม คือ "ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า อาหารอินทรีย์มีความเสี่ยงน้อยกว่าที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง สืบเนื่องมาจากอาหารเองมีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกปนเปื้อนโดยสารที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง"[63] การประเมินได้กล่าวว่า ความเสี่ยงจากแหล่งที่มาทางจุลชีววิทยาหรือพิษโดยธรรมชาติมีความสำคัญมากกว่าความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในระยะสั้นหรือเฉียบพลัน[2][3]

การปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา

จากการมองหาความเป็นไปได้ในการเพิ่มความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคอาหารอินทรีย์พบว่า ถึงแม้จะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการปนเปื้อนทางจุลชีววิทยาจากการใช้ปุ๋ยคอกที่เป็นปุ๋ยจากสิ่งมีชีวิต เช่น จากเชื้อ E. coli O157:H7ในช่วงการผลิตแบบอินทรีย์ มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเรื่องการแพร่ระบาดของโรคที่สามารถกล่าวโทษว่า มาจากกระบวนการผลิตอาหารอินทรีย์[2][3][4] มีการโทษว่า การระบาดครั้งหนึ่งของอี.โคไลในเยอรมันมาจากการทำเกษตรอินทรีย์ของถั่วงอก[64][65]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารอินทรีย์ ftp://ftp.fao.org/paia/organicag/ofs/FoodMiles-Pre... http://www.bio-austria.at/presse/presseinfo_archiv... http://typischich.at/home/gesundheit/ernaehrung/69... http://www.chinaconnections.com.au/en/magazine/bac... http://www.chinaconnections.com.au/en/magazine/cur... http://www.dynamicexport.com.au/export-market/arti... http://www.goodfood.com.au/good-food/food-news/org... http://business.nab.com.au/wp-content/uploads/2013... http://www.nasaa.com.au/steps1.html http://www.abc.net.au/news/2013-12-04/chinese-babi...